ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​​เปิดตัว Q เสียงสั่งการแบบ 'ไร้เพศ' - Short Clip
World Trend - คำสั่งเสียง AI ทำให้เกิดอคติทางเพศสภาพ - Short Clip
World Trend - นีลเส็นเผยข้อมูลผู้ชม LGBT เป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - ESA ร่วมผลิตบาร์บี้นักบินอวกาศหญิง - Short Clip
World Trend - 'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐเร่งวิจัยเอไอ - Short Clip
World Trend - Arkki ให้เด็กไทยเรียนรู้แบบฟินแลนด์ - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - มนุษย์ยังคงพิเศษกว่า เพราะเอไอ 'ขำไม่เป็น' - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - 'เนื้อทางเลือก' หรือเนื้อสัตว์ในอนาคตจะมาจากแล็บ? - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ‘มิลเลนเนียล’ โพสต์รูปเที่ยวได้ ‘หลอกลวง’ ที่สุด - Short Clip
World Trend - 'ลูกโลกทองคำ' รางวัลที่ยังก้าวอยู่กับที่ - Short Clip
World Trend - 'เจดีดอทคอม' เปิดฟาร์มเลี้ยงหมูอัจฉริยะในจีน - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เล็งปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 - Short Clip
World Trend - 'สิริ-อเล็กซา' ตอกย้ำอคติทางเพศต่อผู้หญิง - Short Clip
May 27, 2019 04:36

ยูเนสโกเผยแพร่ผลวิจัยว่า ผู้ช่วยดิจิทัลที่ใช้มักเสียงผู้หญิง เช่น สิริและอเล็กซา ตอกย้ำอคติทางเพศต่อผู้หญิง และสะท้อนแนวคิดที่ว่าเพศหญิงเป็นเพศที่คอยรับคำสั่ง รวมถึงยังสะท้อนปัญหาการเหยียดเพศในวงการเทคโนโลยีด้วย

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เผยแพร่ผลการวิจัย I'd blush if I could: closing gender divides in digital skills through education ซึ่งระบุว่า การใช้เสียงผู้หญิงพูดในโปรแกรมผู้ช่วยดิจิทัล เช่น สิริของแอปเปิล และอเล็กซาของแอมะซอน ตอกย้ำอคติทางเพศที่อันตราย

การใช้ชื่อและเสียงผู้หญิงในการเป็นผู้ช่วยดิจิทัลเป็นการสร้างอคติทางเพศให้กับคนในสังคม โดยเฉพาะเด็ก ๆ เนื่องจากผู้ช่วยดิจิทัลหญิงมีหน้าที่รับใช้ผู้ใช้งานอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการที่พวกเธอจะยินยอมเป็นเบี้ยล่างและยอมรับคำตอบเชิงชู้สาวอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งยิ่งสนับสนุนแนวคิดว่าผู้หญิงเป็นเบี้ยล่างของผู้ชาย และต้องมีความอดทนต่อการถูกปฏิบัติที่ไม่ดีด้วย

รายงานดังกล่าวระบุว่า การที่บริษัทเทคโนโลยีตั้งชื่อผู้ช่วยเสียงเป็นชื่อผู้หญิงอย่างอเล็กซาและสิริ และเสียงของผู้ช่วยดิจิทัลในค่าเริ่มต้นส่วนใหญ่เป็นเสียงผู้หญิง ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้หญิงเป็นผู้ช่วยที่เชื่อฟัง เชื่อง และต้องการเอาใจ พร้อมช่วยเหลือเสมอเพียงแค่กดปุ่มหรือออกคำสั่งด้วยน้ำเสียงแข็งกร้าวอย่าง 'เฮ้' หรือ 'โอเค' ซึ่งผู้ช่วยดิจิทัลเหล่านี้ไม่มีอำนาจใด ๆ นอกเหนือไปจากสิ่งที่ถูกสั่ง และมักจะต้องตอบโต้ด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนแบบไม่มีการแสดงอารมณ์ ไม่ว่าผู้ออกคำสั่งจะใช้น้ำเสียงและคำพูดหยาบคายอย่างไรก็ตาม และทั้งหมดนี้ เป็นเพราะทีมผู้พัฒนาส่วนใหญ่เป็นวิศวกรชาย

ยูเนสโกระบุในรายงานว่า การรับใช้อย่างอ่อนน้อมของผู้ช่วยดิจิทัลเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ตอบโต้การคุกคามทางเพศด้วยวาจาอย่างไม่สะทกสะท้าน เช่น กรณีที่เมื่อผู้ใช้งานลองพูดว่า You’re a slut. หรือ 'เธอมันสำส่อน' ระบบสิริของแอปเปิลจะตอบผู้ใช้ที่พูดส่อไปในเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้งว่า I’d blush if I could หรือ 'ฉันคงจะหน้าแดงถ้าฉันทำได้' ส่วนระบบอเล็กซาของแอมะซอนก็จะตอบกลับไปว่า Well, thanks for the feedback. หรือ 'เอ่อ ขอบใจสำหรับคำติชม'

นักวิจัยระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้มีทีมวิศวกรที่เต็มไปด้วยผู้ชาย และสร้างระบบเอไอให้ผู้ช่วยดิจิทัลเป็นผู้หญิงที่ยินดีรับการคุกคามทางเพศด้วยวาจา ตอบโต้ด้วยคำตอบเชิงหว่านเสน่ห์ หรือด้วยท่าทางเชิงขอโทษ ซึ่งผลน่าจะไม่เป็นเช่นนี้หากว่าในบริษัทเทคโนโลยีมีจำนวนพนักงานผู้หญิงเท่ากันหรือมีจำนวนมากกว่าผู้ชาย

เว็บไซต์ Business Insider รายงานไว้เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วว่า เหตุผลที่บริษัทแอมะซอนเลือกใช้เสียงผู้หญิงในการให้บริการผู้ช่วยอัจฉริยะด้วยคำสั่งเสียงก็เพราะผลการวิจัยทางการตลาดได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เสียงผู้หญิงนั้นมีคุณสมบัติในการมอบความรู้สึก 'เห็นอกเห็นใจ' มากกว่าเสียงผู้ชาย ซึ่งส่งผลให้การสั่งงานด้วยเสียงนั้นราบรื่นขึ้น 

ขณะที่ บริษัทไมโครซอฟท์ก็เลือกที่จะใช้คำว่า Cortana เป็นชื่อของโปรแกรมผู้ช่วยอัจฉริยะสั่งการด้วยเสียง เนื่องจากชื่อนี้เป็นชื่อแบบสแกนดิเนเวียนของผู้หญิง แปลว่า 'ชัยชนะที่งดงาม' หรือ Beautiful Victory ซึ่งถูกใช้ในวิดีโอเกมที่ชื่อว่า Halo โดยทางไมโครซอฟท์ยังไม่ได้ระบุว่ามีแผนจะเพิ่มตัวเลือกให้มีเสียงผู้ชายด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การคุกคามนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ โดยผู้เขียนโปรแกรม Cortana ผู้ช่วยดิจิทัลของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการตรวจสอบเกี่ยวกับการถามตอบเรื่องเซ็กซ์ของผู้ช่วยดิจิทัลจำนวนมาก โดยพบว่ามีการพูดคุยหรือถามตอบถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง แต่ไมโครซอฟท์เชื่อว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านี้ เพราะระบบน่าจะไม่สามารถตรวจจับข้อความที่ส่อเรื่องเพศได้ทั้งหมด

ด้าน ซานิเย กูลเซอร์ โครัต ผู้อำนวยการด้านความเท่าเทียมทางเพศของยูเนสโก กล่าวว่า โลกจำเป็นต้องหันมาใส่ใจมากขึ้นว่าเทคโนโลยีเอไอถูกกำหนดในเรื่องเพศหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น เอไอถูกถูกกำหนดเพศอย่างไร กำหนดเมื่อไร และใครกันที่เป็นผู้กำหนด

การระแวดระวังเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในเทคโนโลยีใหม่ทำให้มีโอกาสในการพัฒนาบรรทัดฐานทางเพศที่ไม่สร้างความเสียหายกับสังคมมากนัก และบริษัทเทคโนโลยีไม่ควรกำหนดให้ผู้ช่วยดิจิทัลเป็นเสียงผู้หญิงเป็นหลัก รวมถึงควรสำรวจความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาผู้ช่วยดิจิทัลที่ไม่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ทั้งยังควรเขียนโปรแกรมให้เอไอแสดงอาการคัดค้านการใช้คำหยาบคายหรือคำที่แสดงถึงอคติทางเพศ และให้นิยามผู้ช่วยดิจิทัลเป็น 'อมนุษย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ที่เป็นมนุษย์' ด้วย

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เอเจนซีด้านงานครีเอทีฟภายใต้บริษัท Vice Media พัฒนาเสียงสังเคราะห์ที่มีลักษณะ 'ไร้เพศ' เสียงแรกของโลกขึ้น เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตลำโพงอัจฉริยะหรือระบบสั่งงานต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ และแก้ปัญหาอคติทางเพศที่มีต่อเพศชายหรือหญิงได้อย่างตรงจุด โดยเริ่มจากการบันทึกเสียงของผู้ที่ไม่สามารถระบุเพศเป็นชาย-หญิงหลายเสียง ก่อนจะปรับแต่งให้เป็นเสียง 'กลาง' ยิ่งขึ้น

เสียงสังเคราะห์นี้ใช้ชื่อโปรเจกต์ว่า 'คิว' (Q) โดยแรกเริ่มคิดค้นขึ้นเพื่อใช้สำหรับงานพาเหรดสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางการเพศ 'โคเปนเฮเกน ไพรด์' (Copenhagen Pride) ที่จัดเป็นประจำทุกปี ในประเทศเดนมาร์ก แต่จากแนวโน้มตลาดที่ผู้ช่วยเสียงหรืออุปกรณ์คำสั่งเสียงที่กำลังเติบโตได้ดี และมีประมาณการว่าจะเติบโตถึง 35 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย การผลักดันให้บริษัทอื่นหันมาสนใจแนวคิดนี้จึงดูเป็นไอเดียที่น่าสนใจ

เอมิล อัสมุสเซน ผู้อำนวยการของ Virtue ระบุว่า เขาหวังจะให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่พัฒนาเสียงไร้เพศในระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ของตนเองต่อไป ขณะที่ จีนา เนฟฟ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ก็ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า เธอมองไม่เห็นเหตุผลในการผลิตเสียงในรูปแบบเดิมขึ้นซ้ำ ๆ เพื่อนำไปใช้กับเทคโนโลยีใหม่


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog