ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
World Trend - เกาหลีเล็งสร้างโรงงาน AI 2,000 แห่ง ภายใน 2030 - Short Clip
World Trend - ​เข้ายิมอย่างเดียวไม่ช่วยให้แข็งแรง หากไม่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - กูเกิลยุติโครงการตั้งสภาจริยธรรมเอไอ - Short Clip
World Trend - Techsauce จัดงานเทคโนโลยีใหญ่สุดในอาเซียน - Short Clip
World Trend - 'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐเร่งวิจัยเอไอ - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - 'นักวิชาการผิวสี' ยังขาดโอกาสในวิชาชีพ - Short Clip
World Trend - 'เนื้อทางเลือก' หรือเนื้อสัตว์ในอนาคตจะมาจากแล็บ? - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - Google Chrome ยกระดับความเป็นส่วนตัวยูสเซอร์ - Short Clip
World Trend - 'สิริ-อเล็กซา' ตอกย้ำอคติทางเพศต่อผู้หญิง - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - 'โซเชียล เครดิต' ระบบที่ทำให้สังคมกลายเป็นคุก? - Short Clip
World Trend - แบรนด์ดังเตรียมผลิตบรรจุภัณฑ์ 'ใช้ซ้ำ' - Short Clip
World Trend - การดื่มน้ำหวานอาจเร่งให้เนื้อร้ายโตเร็ว - Short Clip
World Trend - 'Netflix ของคนผิวสี ' KweliTV ได้รับความนิยม - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - มนุษย์ยังคงพิเศษกว่า เพราะเอไอ 'ขำไม่เป็น' - Short Clip
Apr 8, 2019 06:15

นักวิจัยระบุ 'อารมณ์ขัน' ทำให้มนุษย์พิเศษกว่าปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เพราะเอไอเหล่านี้ยังไม่เข้าใจบริบทของเรื่องตลก และไม่สามารถเล่าเรื่องตลกได้อย่างถูกจังหวะหรือสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ฟังได้

บริษัทและสถาบันด้านเทคโนโลยีทั่วโลกมุ่งพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานด้านต่าง ๆ และนำหุ่นยนต์ไปใช้แทนทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะกับสังคมสูงวัย ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนประชากรวัยทำงาน แต่ล่าสุดกลับพบว่านักวิจัยจำนวนมากออกมาประเมินว่า สิ่งหนึ่งที่เอไอยังไม่สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ได้ คือ การสร้างเสียงหัวเราะ เพราะเอไอไม่มีอารมณ์ขัน ไม่เข้าใจบริบทของเรื่อง และจับจังหวะในการเล่าเรื่องตลกไม่ได้

เฮเธอร์ ไนต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอน ในสหรัฐฯ เปิดเผยกับเอพีว่า อารมณ์ขันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน และต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์และค่านิยมทางสังคมต่าง ๆ ระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเข้าใจมุกตลกได้ เห็นได้จากคนที่เดินทางไปต่างประเทศก็อาจจะไม่เข้าใจวัฒนธรรมหรือความรู้สึกนึกคิดของคนในท้องถิ่นจนสามารถเข้าถึงมุกตลกต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายนัก 

ขณะที่ จูลี เรส์ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ในสหรัฐฯ ที่ศึกษาวิจัยเรื่องอารมณ์ขันกับเอไอมานานกว่า 15 ปี กล่าวเพิ่มเติมว่า เอไอมีระบบการจดจำและประมวลผลอัจฉริยะ จึงสามารถเล่าเรื่องตลกได้โดยยึดตามข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งยังสามารถจำแนกการเล่นคำกำกวมหรือเรื่องเล่าที่มีความหมายสองแง่สองงามได้ แต่เอไอยังไม่พัฒนาจนถึงจุดที่จะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดเรื่องดังกล่าวจึงตลก เนื่องจากเอไอไม่สามารถสร้างอารมณ์ขันขึ้นมาได้เอง

เมื่อเอไอไม่มีอารมณ์ขัน จึงไม่สามารถจับจังหวะในการบอกเล่าเรื่องขำขันต่าง ๆ เพื่อให้คนฟังรู้สึกขำได้ เรื่องตลกที่เอไอเล่าจึง 'ไม่ตลก' หมายความว่า นักแสดงตลกหรือผู้เขียนบทละครตลก จะยังไม่ถูกแทนที่ด้วยเอไอในเวลาอันใกล้ และอารมณ์ขันเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์พิเศษกว่าเอไอ แม้ว่าที่ผ่านมา เอไอจะสามารถประมวลผลและเอาชนะมนุษย์ได้ในหลายด้านแล้วก็ตาม เช่น การเล่นหมากรุกหรือหมากล้อม หรือการตรวจจับ 'ข่าวปลอม' ในเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

เรส์ ระบุว่า การสื่อสารหรือบอกเล่าเรื่องตลกของมนุษย์ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เอไอจึงไม่สามารถประมวลแบบแผนที่จะใช้เปรียบเทียบหรือเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจอารมณ์ขันของมนุษย์ได้ และการพัฒนาเอไอให้เข้าใจอารมณ์ขันอาจต้องอาศัยข้อมูลเชื่อมโยงกับบริบทแวดล้อมเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้านประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักมานุษยวิทยา และนักสังคมศาสตร์

อย่างไรก็ตาม กิกิ เฮมเพิลมานน์ นักวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม เตือนว่า เอไอไม่จำเป็นจะต้องมีอารมณ์ขัน และการสอนให้เอไอเรียนรู้เรื่องอารมณ์ขันอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เพราะเอไออาจเข้าใจผิดว่าการกระทำหรือชุดคำสั่งบางอย่างเป็นเรื่องตลก ทั้งที่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมหรือเรื่องไม่ควรทำ เช่น เอไอที่ประมวลผลบกพร่อง อาจเริ่มสังหารมนุษย์เพราะคิดว่าเป็นเรื่องตลก โดยเรียนรู้จากมุกตลกร้ายหรือตลกเสียดสีประชดประชัน เป็นต้น

ทั้งนี้ พัฒนาการของเอไอในปัจจุบันครอบคลุมไปในหลากหลายอุตสาหกรรมมาก ไม่เพียงแต่ภาคธุรกิจเท่านั้น ที่ให้ความสำคัญและทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาลเพื่อพัฒนาเอไอแข่งกับคู่แข่งทางการค้า เพราะขณะนี้ ภาครัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกก็เริ่มเอาจริงเอาจังกับการซุ่มพัฒนาเอไอเพื่อยกระดับศักยภาพด้านเทคโนโลยีของประเทศเช่นกัน โดยดาวเด่นของรัฐบาลผู้ผลักดันการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ ก็คือ หนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนอย่าง สิงคโปร์

วิเวียน บาลาคริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการสมาร์ตเนชัน กล่าวเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า สิงคโปร์จะพยายามมากขึ้นเป็น 2 เท่า ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเอไอ รวมถึงเตรียมความพร้อมให้แรงงานสามารถใช้เครื่องมือและเอไอ เพื่อให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับระบบเศรษฐกิจในอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีได้ "อย่างมีความหมาย" แม้ทุกคนจะไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอก็ตาม

บาลาคริชนัน ยังกล่าวอีกด้วยว่า เอไอได้เปลี่ยนแปลงโลกไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเทคโนโลยีเรียนรู้เชิงลึก และมนุษย์ก็ได้ประโยชน์จากบริการอย่าง การสั่งงานผ่านเสียง การแปลภาษา ระบบนำทางจีพีเอส และการเตือนการโกงบัตรเครดิต ขณะที่ รัฐบาลสิงคโปร์เองก็ได้ใช้เอไอสอดส่องกิจกรรมทางการเงินที่ผิดปกติ รวมถึงนำเอไอมาใช้ถอดคำพูดในการอภิปรายด้วย และหนึ่งในตัวชี้วัดความตั้งใจพัฒนาระบบเอไอที่ระบุไว้ใน "พิมพ์เขียวรัฐบาลดิจิทัล" ว่า ทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีโครงการเกี่ยวกับเอไออย่างน้อย 1 โครงการภายในปี 2023

ทั้งนี้ สิงคโปร์มีพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาเอไออยู่แล้ว โดยมูลนิธิวิจัยแห่งชาติได้เริ่มโครงการ "เอไอสิงคโปร์" เพื่อให้สถาบันวิจัยต่าง ๆ ได้มาเจอกับธุรกิจสตาร์ตอัป และเปิดโครงการ "เอไอสำหรับทุกคน" เพื่อสอนความรู้เบื้องต้นด้านเทคโนโลนยีให้กับชาวสิงคโปร์ 10,000 คน ตั้งแต่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาไปถึงคนวัยทำงาน อีกทั้งยังมีโครงการ "เอไอสำหรับอุตสาหกรรม" เพื่อสอนความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับคนวัยทำงานประมาณ 2,000 คน

บาลาคริชนัน ระบุว่า การส่งเสริมความรู้ด้านเอไอให้กับคนในท้องถิ่นจะช่วยให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากเอไอ ดังนั้น โรงเรียนจะต้องสอนแนวคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) และการรู้เท่าทันข้อมูล และต้องฝึกฝนให้คนวัยทำงานมีความรู้เรื่องวิทยาการข้อมูล (data science) และทักษะเอไอ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเอไอของสิงคโปร์ในปัจจุบันก็ยังไม่เพียงพอ จะต้องทุ่มเทให้กับเอไอมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า โดยปีนี้ หน่วยงานต่าง ๆ จะร่วมกันศึกษาวิธีการที่สิงคโปร์จะพัฒนาเอไอ และขึ้นมาเป็นแหล่งทดสอบและใช้เอไอที่น่าเชื่อถือในระดับโลก 

นอกจากนี้ ประชาชนสิงคโปร์ก็จะได้รับบริการใหม่ ๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิม จากรัฐบาลและเอกชน บาลาคริชนันอ้างอิงข้อมูลจากบริษัทแมคคินซีว่า ประเทศสามารถนำเอไอมาจัดการระบบไฟจราจร ดูแลจัดการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ หรือคอยสอดส่องว่านักเรียนกำลังเครียดเกินไปหรือไม่ ขณะเดียวกัน สิงคโปร์ได้ใช้เอไอในภาคการเงิน โลจิสติกส์ และความมั่นคงไซเบอร์ รัฐบาลสิงคโปร์ตั้งใจจะเปิดให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเอไอเพื่อไปลองใช้เอไอ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก

สำหรับประเทศไทยเอง กรมสุขภาพจิต ก็เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เห็นความสำคัญของเอไอ และเริ่มนำมาผนวกรวมกับการใช้บริการ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพิ่มบริการปรึกษาอัตโนมัติด้วยเอไอ ผ่านแชตบอต ที่จะตอบปัญหายอดฮิต 6 เรื่อง คือ ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า การพนัน การกินยาทางจิตเวช และเรื่องทั่วไปได้

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog