ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'สิริ-อเล็กซา' ตอกย้ำอคติทางเพศต่อผู้หญิง - Short Clip
World Trend - AI อาจเพิ่มช่องว่างทางเพศ - ทำลายอาชีพผู้หญิง - Short Clip
World Trend - ทำไม Siri ไม่เก่งเท่าผู้ช่วยส่วนตัวอื่น - Short Clip
World Trend - Echo Dot ละเมิดกฎหมายคุ้มครองเด็ก - Short Clip
World Trend - 'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐเร่งวิจัยเอไอ - Short Clip
World Trend - นักผดุงครรภ์ใช้ AR ฝึกทำคลอด - Short Clip
World Trend - ยุโรปทดสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยบนท้องถนนแบบใหม่ - Short Clip
World Trend - ฟาสต์ฟู้ดในจีนหันจับ 'เมนู AI - หุ่นยนต์ทุ่นแรง' - Short Clip
World Trend - 'แอร์นิวซีแลนด์' เลิกแบนพนักงานมีรอยสัก - Short Clip
World Trend - เกาหลีเล็งสร้างโรงงาน AI 2,000 แห่ง ภายใน 2030 - Short Clip
World Trend - ​'ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ' ช่วยสัตว์ป่าด้วย AI - Short Clip
World Trend - เกาหลีเตรียมตั้งสถาบันปั้นบุคลากรซอฟต์แวร์ - Short Clip
World Trend - ​วิจัยชี้ แมลงสาบเริ่มมีภูมิคุ้มกันยาฆ่าแมลง - Short Clip
World Trend - ​'ชุดตรวจดีเอ็นเอสุนัข' ขึ้นแท่นสินค้าฮิตแอมะซอน - Short Clip
World Trend - บริษัทญี่ปุ่นใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยหางาน - Short Clip
World Trend - 'อินสตาแกรม' เอาจริงแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ - Short Clip
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - อาลีบาบาเตรียมเปิดฮับแห่งแรกในยุโรป - Short Clip
World Trend - 995-996 วัฒนธรรมใหม่ในบริษัทจีน​ - Short Clip
World Trend - กูเกิลพัฒนารถไร้คนขับให้ลุยหิมะได้ - Short Clip
World Trend - คำสั่งเสียง AI ทำให้เกิดอคติทางเพศสภาพ - Short Clip
May 23, 2019 05:27

การศึกษาของยูเนสโกระบุว่า ผู้ช่วยคำสั่งเสียงที่ถูกตั้งค่าให้เป็นผู้หญิงเป็นหลัก เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงอคติทางเพศสภาพ ซึ่งเป็นมุมมองที่บั่นทอนสังคมอย่างยิ่ง

การศึกษาล่าสุดโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ชี้ว่า ผู้ช่วยคำสั่งเสียงที่มีระบบประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มักมีการตั้งค่าเริ่มต้นเป็นเสียงผู้หญิง และการที่เอไอเป็นผู้หญิงมาโดยตลอดนั้น ทำให้เกิดอคติทางเพศที่ล้าสมัยต่อความเป็นเพศหญิงได้ โดยยกตัวอย่างกรณีที่ 'สิริ' (Siri) ได้รับคำสั่งที่หวือหวาหรือเป็นไปในเรื่องทางเพศ ซึ่งโปรแกรมก็ต้องให้คำตอบตามที่ถูกถาม

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า I’d blush if I could หรือ 'ถ้าเป็นไปได้ ฉันคงหน้าแดง' ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาด้านผลกระทบของอคติในการวิจัยเอไอ , การพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงผลพลอยได้เชิงลบที่สังคมจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก ว่าในที่สุดแล้ว ผู้ใช้งานจะปฏิบัติต่อผู้ช่วยเสียงเหล่านี้เหมือนเป็นคนรับใช้ที่ต้องทำตามความต้องการอย่างไม่มีเงื่อนไขหรือไม่

การศึกษาระบุว่า การที่บริษัทเทคโนโลยีตั้งชื่อผู้ช่วยเสียงเป็นชื่อผู้หญิง เช่น อเล็กซา (Alexa) และสิริ (Siri) ทั้งยังตั้งค่าเริ่มต้นให้เป็นเสียงผู้หญิง แสดงให้เห็นว่าผู้พัฒนาระบบได้ส่งต่อมุมมองต่อผู้หญิงที่ล้าสมัยและเป็นอันตรายให้กับผู้บริโภคแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ช่วยเสียงเหล่านี้ยังถูกตั้งโปรแกรมให้พูดจาสองแง่สองง่ามได้อีกด้วย 

ซึ่งรายงานนี้ได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพราะทีมผู้พัฒนาส่วนใหญ่เป็นวิศวกรชาย ที่ต้องการสร้างระบบรองรับอารมณ์ที่ยอมทำตามในทุกกรณีโดยไม่แสดงอารมณ์ แม้ผู้ออกคำสั่งจะเกรี้ยวกราดเท่าใดก็ตาม


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog