ไม่พบผลการค้นหา
“ครก. 112 VS สยามประชาภิวัฒน์” ว่าด้วยการแก้ - ไม่แก้ ม. 112
เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ของนิติราษฎร์
“สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด...” 359 นักเขียน ร้องแก้ไข ม.112
นิธิวิพากษ์
ทำไมต้อง 'ปฏิรูปศาล'
'คิดใหม่ประชานิยม' จากรัฐบาลทักษิณถึงยิ่งลักษณ์ เราเรียนรู้อะไรบ้าง
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
วิเคราะห์ปรากฎการณ์ "นิติราษฏร์" ผ่านมุมมองนักสิทธิมนุษยชน - สื่อ
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
ครก.112 ยื่นรายชื่อ 30,000 แก้ ม.112 ต่อสภา
“สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด...” 359 นักเขียน ร้องแก้ไข ม.112
คิดใหม่ประชานิยม
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา”
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
โปรดฟังอีกครั้ง ! “ไม่ยอมรับรัฐประหาร”
ก้าวต่อไปของ ครก.112
วิเคราะห์การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก
ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด
ม. 112 ภาพสะท้อนวิกฤติอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย"
Jan 29, 2012 10:37

 

 

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 29 ม.ค. 2555 

 

ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์   กล่าวนำในการปาฐกถา หัวข้อ ทำไมต้องแก้ไขมาตรา 112  ในวันเปิดตัวคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  หรือ  ครก. 112  โดยให้เหตุผลว่า สถิติของคดีที่เกิดจากการฟ้องร้องคดีสูงขึ้นมากส่งผลกระทบต่อ บุคคล และสถาบัน , การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาดมาดร้ายไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน  , ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อ

สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ควรทำให้สถาบันเป็นปรปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย , ระบอบกษัตริย์ดำรงอยู่ใน 30 ประเทศ มีการอนุวัฒน์ตามระบอบประชาธิปไตย  และที่สำคัญ มาตรา 112 เปิดช่องให้ฉ้อฉลเจตจำนงได้ง่าย 

         

 ศ. นิธิ สะท้อนมุมมองในฐานะนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ว่า ความขัดแย้งทางอุดมกาณ์ทางการเมืองของสังคมไทยทุกวันนี้  คือ ความขัดแย้งเรื่องอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย" ซึ่งมีลักษณะไม่คงที่ แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา   โดยยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า ในปี พ.ศ. 2475 อัตลักษณ์ของความเป็นไทย คือ ชาติ  ศาสน์  กษัตริย์  และรัฐธรรมนูญ   แต่ช่วงปี พ.ศ. 2500  เป็นต้นมาอัตลักษณ์

ความเป็นไทย ถูกขับเน้นอยู่ที่ ชาติ  ศาสน์ กษัตริย์   โดย "รัฐธรรมนูญ" ถูดลดทอนความสำคัญลงไป   แต่ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา กระแสเรียกร้อง "ประชาธิปไตย" พุ่งสูงขึ้น  โดยเฉพาะเหตุการณ์ เม.ย. - พค. 53 ที่มีกระแสเรียกร้อง ประชาธิปไตย  สิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียม  

         

ปัญหาของบทบัญญัติมาตรา 112  คือ การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต   ศ.นิธิ มองว่า สถาบันกษัตริย์ที่ดำรงอยู่ทั่วโลก ต้องมีการปรับตัวไปตามบริบทที่เปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการจัดวางพื้นที่ที่เหมาะสมให้ สถาบันกษัตริย์ ดำรงอยู่คู่กับระบอบประชาธิปไตย 

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog