ไม่พบผลการค้นหา
ม. 112 ภาพสะท้อนวิกฤติอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย"
ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด
ทำไมต้อง 'ปฏิรูปศาล'
วิจัยชนบทกับ "ครก. 112"
แม่ทัพภาค 4 เปิดเบื้องหลังการเข้ารายงานตัว 93 แนวร่วม
นักโทษ112เหยื่อการเมือง
“ครก. 112 VS สยามประชาภิวัฒน์” ว่าด้วยการแก้ - ไม่แก้ ม. 112
'พระวิหาร' หนังผีเรื่องเก่า
โปรดฟังอีกครั้ง ! “ไม่ยอมรับรัฐประหาร”
“เอ็นจีโอ” วิพากษ์แผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ มีแต่การสร้าง “เขื่อน”
“สื่อ” กระบอกเสียงเพื่อประชาชน
“คดีสมิติเวช”...ภาพสะท้อนวิกฤติวงการสาธารณสุขไทย!
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
“โซเชียลเน็ตเวิร์ค” สงครามน้ำลายในวิกฤติน้ำท่วม
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
วิเคราะห์การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
หนุน-ต้านเยียวยาเหยื่อชุมนุม คำตอบอยู่ที่"เจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาล"
เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ของนิติราษฎร์
การ์ตูนเพื่อผู้ถูกกระทำ ?
วิเคราะห์ปรากฎการณ์ "นิติราษฏร์" ผ่านมุมมองนักสิทธิมนุษยชน - สื่อ
Feb 5, 2012 10:42

รายการ Intelligence ประจำวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ.2555

 

วิวาทะว่าด้วยการแก้ไข - ไม่แก้ไข ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฏร์เริ่มบานปลาย  เมื่อมีการส่งจดหมายข่มขู่คุกคาม  มีการเผาหุ่นอาจารย์ในกลุ่มนิติราษฏร์ รวมทั้งการออกมาขับไล่ของศิษย์เก่านิติศาสตร์ รุ่น 2501  จนในที่สุดคณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติห้ามใช้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่เคลื่อนไหว   กรณีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  โดยให้เหตุผลว่า อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เป็นการดำเนินการของมหาวิทยาลัยและอาจนำมาซึ่งความรุนแรงภายในมหาวิทยาลัย   ในขณะที่โลกออนไลน์ มีวิวาทะเรื่องประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างร้อนแรง

 

รายการ Intelligence พูดคุยปรากฎการณ์ด้านบวก และด้านลบที่เกิดขึ้นหลังมีการรณรงค์รวบรวมรายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112   ผ่านมุมมอง คุณสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์การด้านสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์ วอทช์ และคุณสุภลักษณ์  กาญจนขุนดี ผู้สื่อข่าวอาวุโส จากเดอะเนชั่น   คุณสุนัย  ผาสุก มองปรากฎการณ์ที่เกิดกับกลุ่มนิติราษฏร์เป็นตัวอย่างของปัญหาการใช้ความรุนแรงในสังคมไทย สะท้อนการขาดวุฒิสภาวะของสังคมในการอยู่ร่วมกันบนความเห็นที่แตกต่าง แม้ว่าจะเคยมีบทเรียนจากเหตุการณ์เดือนตุลา  เดือนพฤษภา หรือเหตุการณ์  เม.ย.พค. 53 มาแล้ว  แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือขณะนี้องค์ประกอบของความรุนแรงค่อนข้างครบ คือ  ความเกลียดชังปะทุรุนแรง  ขันติธรรมลดลง และมีการขยายผลทางการเมือง    ในฐานะนักสิทธิมนุษยชน คุณสุนัย ประเมินว่า ไม่ว่าการแก้ไขมาตรา 112 จะประสบความสำเร็จหรือไม่  สังคมก็จะได้เรียนรู้การอยู่กับการเปลี่ยนแปลงบนความแตกต่างได้อย่างไร  โดย กลุ่มฮิวแมนไรท์ วอทช์ จะจับตาดูปฏิกิริยาที่เกิดกับนิติราษฏร์ว่าถูกคุกคามหรือไม่ รัฐ มีท่าทีอย่างไร ปกป้องคุ้มครองมากน้อยแค่ไหน

 

คุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี   อธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความขัดแย้งในช่วงที่สังคมกำลังเปลี่ยนผ่าน เป็นภาวะที่สังคมมีการถกเถียงตั้งคำถาม ซึ่งคนไทยยังไม่เคยชิน ขณะที่การแสดงออกผ่านโลกออนไลน์แม้จะเป็นช่องทางระบาย แต่ต้องไม่เกิดการทำร้ายทางกายภาพ  ในฐานะสื่อสารมวลชน  คุณสุภลักษณ์ มองว่า เส้นแบ่งระหว่าง "สื่อ" กับ ส่วนตัว" ค่อนข้างเบลอ  ทำให้เกิดการแสดงออกแบบ

 

เลือกข้าง   ในขณะที่ข้อเสนอแก้ไขมาตรา 112  ของนิติราษฏร์  เป็นการประนีประนอมระหว่าง 2 ขั้วที่มีความเห็นต่อสถาบันที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว     สิ่งที่น่าจับตาต่อไป คือ ทำไมปฏิกิริยาต้านนิติราษฏร์จึงรุนแรงมาก ๆ ทั้งที่การเสนอแก้ไขกฎหมายไม่ผ่านสภาแน่นอน  คุณสุภลักษณ์  ประเมินว่า กำลังมีการใช้ประเด็นนี้เพื่อขยายความขัดแย้งทางสังคม  และกำลังมีความพยายามควบคุมสังคมให้ได้ในลักษณะ "เขียนเสือ ให้วัวกลัว"

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog