ไม่พบผลการค้นหา
“สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด...” 359 นักเขียน ร้องแก้ไข ม.112
“ครก. 112 VS สยามประชาภิวัฒน์” ว่าด้วยการแก้ - ไม่แก้ ม. 112
ม. 112 ภาพสะท้อนวิกฤติอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย"
เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ของนิติราษฎร์
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
“รัฐธรรมนูญ-ม.112” ดีอยู่แล้ว...แก้ทำไม?
แตกประเด็นคดีปล้นบ้านปลัดคมนาคม...เผยข้อมูลสู้ทุจริต !
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
“จ่ายครบ จบแน่” ธุรกิจผลิตปัญญาชน ?
หนุน - ค้าน เสรีภาพ ม.112 ในธรรมศาสตร์
2 ศิลปินคนเดือนตุลา...จาก 14 ตุลา-สงครามสีเสื้อ
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
'เสรีภาพสื่อมวลชน' เสรีภาพ บนความรับผิดชอบ ?
สถานะของภาษาอังกฤษในสังคมไทย ตอนที่ 1
ผลวิจัยชี้ “ทุจริตคอรัปชั่นระดับชาติถึงท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น”
บริหารธุรกิจรับการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ไทย
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
"พลังงานเพื่อความยั่งยืนของประเทศ"
“สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด...” 359 นักเขียน ร้องแก้ไข ม.112
Dec 28, 2011 11:50

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 27 ธ.ค. 54

 

คำประกาศ 359 นักเขียน  “สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจักต้องไม่ถูกขู่เข็ญ ด้วยข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดี”เป็นการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มนักเขียน  อาทิ  บินหลา สันกาลาคีรี,  ปราบดา หยุ่น,  ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง,  ซะการีย์ยา อมตยา, กิตติพล สรัคคานนท์, วรพจน์ พันธุ์พงศ์ และ วาด รวี   ซึ่งมองว่าควรแก้ไข กฎหมายอาญา มาตรา 112  ที่บัญญัติไว้ว่า  “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

 

นักเขียนทั้ง 359 คน มีความคิดเห็นร่วมกันว่า  สิทธิ เสรีภาพตามหลักการภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย กำลังตกอยู่ในภาวการณ์สุ่มเสี่ยง และกำลังดำเนินไปสู่สภาวะบอบบาง และอ่อนแอ มีบุคคลและกลุ่มบุคคลหลายฝ่าย นำกฎหมายอาญามาตรา 112 มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการข่มขู่ คุกคาม หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายผู้อื่นโดยย่ามใจ และคึกคะนอง 


ตลอดจนมีการใช้กฎหมายดังกล่าวยกอ้างสร้างความชอบธรรมในการฟ้องร้อง ดำเนินคดี คุมขังและริดรอนอิสรภาพของประชาชนจำนวนมากอย่างอยุติธรรม ทั้งนี้ โดยมีสาเหตุมาจากเรื่องทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ 

 

สิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นการคุกคามและสั่นคลอนเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังละเมิดหลักการว่าด้วย สิทธิมนุษยชน ความเป็นนิติรัฐ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งรังแต่จะนำพาสังคมถดถอยสู่ความป่าเถื่อน ล้าหลัง 

 

กลุ่มนักเขียน เห็นว่าสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าด้วยการพูด การเขียน และการแสดงออก ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ  ย่อมทำได้ เพราะสิทธิเสรีภาพคือห่วงโซ่ที่สัมพันธ์กับความเจริญงอกงามทางปัญญา

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog