ไม่พบผลการค้นหา
วิทยาศาสตร์ไทยอีก 10 ปี ข้างหน้า ?
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ"
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา”
โปรดฟังอีกครั้ง ! “ไม่ยอมรับรัฐประหาร”
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา ตอนที่ 2
อำนาจศาลเป็นโมฆะ
เปิดวิสัยทัศน์ 'ดับไฟใต้' ของเลขาธิการอาเซียน
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา
ม. 112 ภาพสะท้อนวิกฤติอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย"
คิดใหม่ประชานิยม
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "เงื่อนไขปฏิวัติสุกงอม"
'นโยบายต่างประเทศ' การถูกจับเป็นตัวประกันของการเมืองภายใน
11 ปีไฟใต้ในบริบททับซ้อน
เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ของนิติราษฎร์
ชำแหละ กสทช.
ภาพด้านบวก - ด้านลบจากวิกฤติมหาอุทกภัย
'คิดใหม่ประชานิยม' จากรัฐบาลทักษิณถึงยิ่งลักษณ์ เราเรียนรู้อะไรบ้าง
ตุลาการผิดเลน !
เปิดแผนบริหารจัดการน้ำ กยน. - รัฐบาล "เอาอยู่"?
ทำไมต้อง 'ปฏิรูปศาล'
Oct 14, 2012 10:28

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2555 

 

รายการ Intelligence ตลอดเดือนกันยายนและตุลาคม นำเสนอตอนพิเศษ "อนาคตประเทศไทย" หรือ "Thailland 's Future หลังจากเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม  กีฬา บันเทิง เทคโนโลยี มาแล้ว วันนี้จะเจาะลึก"กระบวนการยุติธรรม" ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "ศาล" โดยตั้งโจทย์ไว้ว่า ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นหนึ่งในคณะนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์  ชี้แจงว่า การปฏิรูปศาลเป็นสิ่งจำเป็น เพราะตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475  สถาบันศาลเป็นสถาบันที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ยึดโยงกับประชาชน  เหมือนกับฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร  ที่มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการยึดโยงกับประชาชน
             

รศ.ดร.วรเจตน์ มองว่า การปฏิรูปศาล จำเป็นต้องปฏิรูปพร้อมกับ 4 ส่วน คือ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์  ปฏิรูปสถาบันการเมืองและปฏิรูปองค์กรอิสระ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา  มีศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ  แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระบบศาลคู่ หรือศาลเดี่ยว ปัญหาอยู่ที่การยึดโยงกับประชาชน โดยยังคงความอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาคดีได้
 
           
ในประเด็นความเป็นอิสระนั้น รศ.ดร.วรเจตน์ อธิบายไว้เป็น 3 ส่วน คือ

1. อิสระในทางเนื้อหา หมายความว่าพิพากษาคดีไปตามวิชาชีพ ไม่รับใบสั่งจากใคร 

2.อิสระต่ออำนาจนิติบัญญัติ  บริหาร และตุลาการ  คือศาลไม่จำเป็นต้องผูกพันกับศาลสูงที่เคยตัดสินแล้ว หากมีเหตุผลที่ดีกว่าก็สามารถกลับคำตัดสินได้

3.ศาลต้องเป็นอิสระต่ออิทธิพลทางสังคม หลักการนี้ใช้เฉพาะการกระทำการในทางตุลาการเท่านั้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog