ไม่พบผลการค้นหา
แฮปปี้ จับมือ เฟซบุ๊ก เพิ่มยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย
แสนสิริ เปิดตัวเดอะไลน์ สุขุมวิท 71
คาด ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เผยโฉมใหม่ ส.ค.นี้
พราว เรียลเอสเตท เปิดขาย 'พาร์ค 24' เฟส 2
แท็กซี่อูเบอร์ รุกตลาดไทย หั่นราคา-เพิ่มคนขับ
'ชัชชาติ สิทธิพันธุ์'เตรียมรับตำแหน่ง CEO ควอลิตี้ เฮ้าส์
คนชอบโพสต์ IG ตอนเที่ยงคืนมากที่สุด
หมอวุฒิศักดิ์ จับมือศรีชวาลา รุกธุรกิจร้านอาหาร
พบหวยชุดใบละ 100 บาท-ผู้ค้าคอกวัวกระอักแผนกองสลากฯ
สิงห์ เตรียมขยายเฟสโรงงานผลิตน้ำและเบียร์
7-11ดันยอดขายสินค้าเอสเอ็มอีโตเพิ่ม 25%
ยอดขาย ซูบารุ โตสวนกระแส
'โออิชิ อีทเทอเรียม' ร้านอาหารญี่ปุ่นยุค4.0
LPN โชว์ 7 เดือน รายได้ทะลุหมื่นล้าน
ลอตเตอรี่ไม่ถูกรางวัล ลดราคาเครื่องดื่มจับใจได้ 1 บ.
LPN คาด H1/58 ยอดขายทะลุ 9 พันล้านบาท
KFC บุกเมียนมาร์ เปิดสาขาแรกปีหน้า
นิวยอร์กไทม์ส ขาดทุนลดลงเพราะรุกดิจิทัล
World Trend - ยูเอ็นจัดแสดง 'บ้านรักษ์โลก' โชว์แนวคิดยั่งยืน - Short Clip
อาฟเตอร์ยู หุ้นร้อนแรงส่งท้ายปี 59
สาโทกัมพูชา พร้อมขยายสู่ตลาดต่างประเทศ
Dec 1, 2014 06:59

แต่เดิมการผลิตสาโทในกัมพูชา จะทำกันแบบในครัวเรือน  แต่ปัจจุบัน ได้พัฒนาทั้งสูตรและรสชาติให้มีความหลากหลาย เพื่อรองรับผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่มีความแปลกใหม่ และเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวเสียมเรียบ พร้อมที่จะขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศ เราไปทำความรู้จักสาโทสูตรเฉพาะตัวของกัมพูชา จากรายงานพิเศษ


สำหรับชาวกัมพูชาในพื้นที่ห่างไกล สาโทถือเป็นเครื่องดื่มที่ใช้เป็นยารักษาโรคกันมาตั้งแต่ยุคโบราณ บ้างก็ดื่มแต่ตัวสาโท บ้างก็นำไปผสมกับสมุนไพรต่างๆ เพื่อรักษาให้เหมาะสมกับอาการที่เป็น  
การหมักสาโทเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะมีพ่อค้า นำกรรมวิธีไปเผยแพร่ในอินเดียและประเทศอื่นๆ ในเอเชียใต้ จนกระทั่งมาถึงยุคปัจจุบัน ที่ชาวบ้านในกัมพูชาล้วนแต่มีโรงหมักสาโทในหมู่บ้าน ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ก็ถูกแทนที่ด้วยโรงงานสาโทขนาดใหญ่ และทำให้โรงหมักพื้นบ้านต้องปิดกิจการลง 

กระบวนการทำสาโท เริ่มจากการนำข้าวที่สุกมาผึ่งให้เย็นตัวบนโต๊ะ จากนั้นนำวัตถุดิบที่คล้ายกับยีสต์ ซึ่งทำมาจากสมุนไพรหลากหลายชนิด มาคลุกเคล้ากับข้าว แล้วจึงใส่น้ำเปล่าลงไปผสม    
ส่วนผสมที่ได้จากขั้นตอนดังกล่าวจะถูกนำมาบรรจุใส่ในถังเก็บ  ปิดฝาให้แน่น แล้วบ่มพักไว้อีกประมาณ 4 วัน เพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่ต้องการ ซึ่งกระบวนการนี้ จะทำให้แป้งในข้าวกลายเป็นน้ำตาล คล้ายกับการหมักเบียร์ทั่วไป 

ขณะที่ การหั่นชิ้นผลไม้ลงไปในภาชนะหมักบ่มนี้ นอกจากจะช่วยให้รสของเครื่องดื่มนุ่มนวลขึ้น ไม่บาดคอมากแล้ว ยังมีรสชาติของผลไม้ชนิดนั้นปนอยู่ ทำให้น่าดื่มมากขึ้นอีกด้วย โดยรสชาติที่ได้รับความนิยมก็เช่น กล้วย-ซินนามอน ขิง-พริกแดง และชาเขียว-ส้ม ซึ่งทั้งหมดถูกบรรจุลงในขวดลวดลายสวยงาม

และเมื่อครบกำหนด 4 วัน ก็นำของเหลวที่ได้มาต้ม จากนั้นทำให้เย็น ได้เป็นเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 18-25% ซึ่งมากกว่าไวน์องุ่นทั่วไป ที่มีแอลกอฮอล์ 9-16% สาโท ที่ได้จะมีราคาจำหน่าย อยู่ที่ 1 หมื่นเรียล หรือราว 80 บาทต่อลิตร  

ธุรกิจหมักสาโทขนาดเล็กในประเทศหลายแห่ง มักเป็นกิจการภายในครัวเรือน ซึ่งส่งต่อสูตรการผลิตจากรุ่นสู่รุ่น เป็นมรดกตกทอดที่ลูกหลานรุ่นใหม่ต้องการที่จะเก็บรักษาไว้ และสานต่อธุรกิจต่อไปให้ดีที่สุด 

หนึ่งในเจ้าของโรงหมักสาโท เปิดเผยว่า เขาเรียนรู้ที่จะผลิตสาโทจากพ่อแม่ และก็เป็นเรื่องบังเอิญที่ครอบครัวของภรรยาเขาเลี้ยงสุกร ทำให้กากที่เหลือจากการผลิต สามารถนำไปเป็นอาหารของพวกมันได้  นับเป็นการประกอบกิจการร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งแม้รายได้จากอาชีพทั้งสองนี้จะไม่มากนัก แต่ก็เป็นแนวทางที่ดี ที่ควรดำเนินต่อไปเรื่อยๆ   

ในอนาคต บริษัทต้องการเพิ่มรสชาติให้หลากหลายกว่าที่มีอยู่ ทั้งมิ้นต์ พริกไทย หรือแม้แต่ทุเรียน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่นิยมเครื่องดื่มแปลกใหม่รสชาติดี สาโทจากเสียมเรียบนี้ วางจำหน่ายในร้านค้ากว่า 40 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงในโรงแรมชื่อดังอย่าง พาร์ค ไฮแอท ด้วย  บริษัทจึงหวังว่าหลังจากนี้ จะสามารถทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเวียดนามและไทย ได้ด้วยเช่นกัน 

ปัจจุบัน บริษัทแห่งหนึ่งในเสียมเรียบกำลังพยายามพัฒนาลูกเล่นใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสาโท ที่อยู่คู่กับสังคมกัมพูชามานาน โดยการนำผลไม้ท้องถิ่นและเครื่องเทศมาเป็นส่วนผสม ซึ่งเริ่มทำมาได้ตั้งแต่ปี 2555 

 

 


 

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog