ไม่พบผลการค้นหา
'วอยซ์ออนไลน์' สรุปตัวเลขเม็ดเงินงบประมาณฯ ตลอด 6 ปีของการครองอำนาจบนเก้าอี้นายกฯของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอดีตหัวหน้า คสช. ได้จัดทำงบประมาณแผ่นดิน พร้อมทั้งกู้เงินไปแล้วกว่า 3.39 ล้านล้านบาท

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินด้วยการยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 สวมหัวโขนหัวหน้าคณะรักษความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนได้รับเสียงโหวตจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ คสช.แต่งตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไร้คู่แข่ง

ครองประมุขฝ่ายบริหาร กินเวลาต่อเนื่องมาจากการยึดอำนาจจนถึงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 พล.อ.ประยุทธ์ ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ในนามพรรคพลังประชารัฐ แม้พรรคจะได้ ส.ส.เป็นอันดับสองของประเทศ แต่ก็ยังสามารถเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อย่างง่ายดาย เพราะมี ส.ว. 250 คนช่วยขานคะแนนให้อย่างท้วมท้นโหวต 500 เสียงกลางรัฐสภา

ด้วยตัวเลขนายกรัฐมนตรี 2 สมัย อยู่ในตำแหน่งนายกฯ สมัยแรกตั้งแต่ปี 2557 - 2562 (เกือบ 5 ปี) และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 สมัยที่ 2 ในปี 2562 จนถึงปัจจุบัน 

พล.อ.ประยุทธ์ จึงเป็นนายกฯที่ครองอำนาจมา 6 ปี

ในแต่ละปี รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินไว้ตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 - 2563 หรือ 6 ปี โดยล่าสุดอยู่ระหว่างจัดทำร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ประยุทธ์ นายกฯ_200427_0003.jpg

หากย้อนไป 6 ปีที่ผ่านมา ลงไปดูตัวเลขสถิติการกู้เงินในแต่ละปีงบประมาณของ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะพบว่ามีตัวเลขที่เกิดหนี้รวมแล้วสูงเกิน 3 ล้านล้านบาท

ยิ่งนับรวม รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ยังเป็นรัฐบาลคณะรัฐประหารจนถึงรัฐบาลเลือกตั้ง 6 ปี จัดทำเม็ดเงินงบประมาณแผ่นดินแล้วเบ็ดเสร็จกว่า 17 ล้านล้านบาท เมื่อนับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ด้วย ก็จะสูงถึง 20 กว่าล้านล้านบาท

'วอยซ์ออนไลน์' สำรวจไล่เรียงเม็ดเงินการจัดทำงบประมาณในช่วง 6 ปีหลังที่ผ่านมาของ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ พบยอดเงินกู้แต่ละปีที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีการตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายไว้สูงขึ้นในทุกๆ ปี 

  • ปีงบประมาณ 2563 รายรับ วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท

เป็นการประมาณการเพิ่มขึ้น 200,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 เมื่อเปรียบเยบกับประมาณการรายรับปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ซึ่งประมาณการไว้จำนวน 3 ล้านล้านบาท

เงินกู้ ด้วยการประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการายได้สุทธิ จำนวน 469,000 ล้านบาท จึงกำหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14.7 ของประมาณการรายรับ

สำนักงบประมาณ เงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน แท็กซี่ ประชาชน โควิด เศรษฐกิจ รัฐบาล

ในปี 2563 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ต้องเผชิญกับกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ทำให้รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 โดยอนุมัติให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินหรือเงินตราต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย มีมูลค่าเป็นวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยต้องลงนามในสัญญากู้เงินหรืออกตราสารหนี้ภายในวันที่ 30 ก.ย. พ.ศ.2564 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2563

ซึ่ง พ.ร.ก.ดังกล่าวจะใช้ในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ รวมถึงใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 

  • ปีงบประมาณ 2562 รายรับ วงเงิน 3 ล้านล้านบาท

ได้ประมาณการไว้ จำนวน 3,000,000 ล้านบาท ลดลง จำนวน 50,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.6 เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการรายรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งประมาณการไว้ จำนวน 3,050,000 ล้านบาท (เป็นการปรับปรุงประมาณการรายได้เพิ่มเติม จำนวน 49,641.9 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 100,358.1 ล้านบาท ตามมติ ครม.เมื่อวันที 16 ม.ค. 2561 )

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 450,000 ล้านบาท จึงกำาหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15.0 ของประมาณการรายรับ

  • ปีงบประมาณ 2561 รายรับ วงเงิน 2.9 ล้านล้านบาท

รายรับประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้ประมาณการไว้ จำนวน 2,900,000 ล้านบาทลดลง จำนวน 23,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.8 เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการตามเอกสารปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่งประมาณการไว้ จำนวน 2,923,000 ล้านบาท (เป็นประมาณการปรับปรุงซึ่งรวมประมาณการรายได้เพิ่มเติม จำนวน 27,078.3 ล้านบา และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 162,921.7 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2559)

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 450,000 ล้านบาทจึงกำหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15.5 ของประมาณการรายรับ

  • ปีงบประมาณ 2560 รายรับวงเงิน 2.733 ล้านล้านบาท

ประมาณการไว้ จำนวน 2,733,000 ล้านบาท ลดลงจำนวน 43,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการตามเอกสารปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึ่งประมาณการไว้ จำนวน 2,776,000 ล้านบาท (เป็นการปรับปรุงซึ่งได้รวมประมาณรายได้เพิ่มเติม จำนวน 56,000 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2559)

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 390,000 ล้านบาท จึงกำาหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14.3 ของประมาณการรายรับ

ประยุทธ์ สภา นิติบัญญัติ 000_Hkg10090282.jpg
  • ปีงบประมาณ 2559 รายรับ วงเงิน 2.72 ล้านล้านบาท

ได้ประมาณการไว้ จำนวน 2,720,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้น จำนวน 145,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6  เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการตามเอกสาร ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ซึ่งประมาณการไว้ จำนวน 2,575,000 ล้านบาท

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 390,000 ล้านบาท จึงกำหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14.3 ของประมาณการรายรับ

  • ปีงบประมาณ 2558 รายรับวงเงิน 2.575 ล้านล้านบาท

ประมาณการไว้จำนวน 2,575,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจำนวน 50,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการตามเอกสารปีงบประมาณพ.ศ.2557 ซึ่งประมาณการไว้จำนวน2,525,000ล้านบาท

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 250,000 ล้านบาทจึงกำหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9.7 ของประมาณการรายรับ

สำหรับปีงบประมาณ 2564 ยังอยู่ระหว่างการจัดทำงบประมาณหลังมีการปรับปรุเม็ดเงินงบฯของกระทรวงและหน่วยงานเพื่อมาใช้แก้ปัญหาโควิด-19 โดยสำนักงบประมาณได้ตั้งวงเงินงบประมาณไว้จำนวน 3.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ที่กำหนดไว้ 3,200,000 ล้านบาท จำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2564 มีคิวเข้าสภาฯ ปลายเดือน พ.ค. นี้

ประยุทธ์เหงา
  • ยิ่งลักษณ์ กู้เงิน 3 ปีรวม 1.3 ล้านล้านบาท

เมื่อย้อนไปช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินเมื่อเดือน ส.ค. ปี 2554 จนถึงปี 2557 ได้จัดทำงบประมาณไว้ 3 ครั้งรวมกว่า 7.3 ล้านล้านบาท หรือน้อยกว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ 3 เท่า ด้วยอายุการบริหารประเทศ 2 ปีกว่าเท่านั้น

ขณะที่การจัดงบประมาณในแต่ละปี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ตั้งเงินกู้ตามการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน และมีการออก พ.ร.ก.กู้เงินมาฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วมครั้งใหญ่ รวมแล้วกู้เงินกว่า 1.3 ล้านล้านบาท

  • ปีงบประมาณ 2557 รายรับ วงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท

เพิ่มขึ้นจำนวน 125,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการตามเอกสาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ซึ่งประมาณการไว้จำนวน 2,400,000 ล้านบาท

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 250,000 ล้านบาท จึงกำหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9.9 ของประมาณการรายรับ

ยิ่งลักษณ์ กปปส kg9235688.jpg
  • ปีงบประมาณ 2556 รายรับ วงงิน 2.4 ล้านล้านบาท

เพิ่มขึ้นจำนวน 20,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.8 เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการตามเอกสาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ซึ่งประมาณการไว้ จำนวน 2,380,000 ล้านบาท

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 300,000 ล้านบาท จึงกำหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.5 ของประมาณการรายรับ

  • ปีงบประมาณ 2555 รายรับวงเงิน 2.38 ล้านล้านบาท

ประมาณการไว้ จำนวน 2,380,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 310,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.0 เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการตามเอกสารปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ซึ่งประมาณการไว้ จำนวน 2,170,000 ล้านบาท

เป็นปีเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากความเสียหายอย่างรุนแรงจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทำให้มีการปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและการผลิตการเร่งรัดบริหารจัดการน้ำพร้อมทังเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยอย่างเร่งด่วนทั้งภาครัฐและเอกชนช่วยฟื้นตัวการลงทุนการจ้างงานที่เผชิญกับวิกฤต

เงินกู้ ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 400,000ล้านบาท จึงกำาหนดจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.8 ของประมาณการรายรับ

ยิ่งลักษณ์ ประยุทธ์ _10600453.jpg

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ วงเงินไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท โดยให้กระทำได้ภายในเวลาไม่เกิน วันที่ 30 มิ.ย. 2555

โดยการกู้เงินครั้งนี้ เป็นไปเพื่อนำไปใช้จ่ายในการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตให้กับประเทศ หลังประเทศต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554

ยิ่งเทียบตัวเลขเงินกู้ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กับ รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว จะพบว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาบริหารประเทศ 6 ปี มีหนี้สูงถึง 3,399,000 ล้านบาท หรือมากกว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 3 เท่า!

ประยุทธ์ ยิ่งลักษณ์ เงินกู้ กู้เงิน 878020732662747_3794196365806927872_n.jpg
  • รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กู้เงินจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ปี 2558 จำนวน 250,000 ล้านบาท

ปี 2559 จำนวน 390,000 ล้านบาท

ปี 2560 จำนวน 390,000 ล้านบาท

ปี 2561 จำนวน 450,000 ล้านบาท

ปี 2562 จำนวน 450,000 ล้านบาท

ปี 2563 จำนวน 469,000 ล้านบาท + พ.ร.ก.กู้เงินแก้ปัญหาโรคโควิด-19 จำนวน 1 ล้านล้านบาท

รวม 6 ปี มีการกู้เงิน จำนวน 3,399,000 ล้านบาท

  • รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กู้เงินจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ปี 2557 จำนวน 250,000 ล้านบาท

ปี 2556 จำนวน 300,000 ล้านบาท

ปี 2555 จำนวน 400,000 ล้านบาท + พ.ร.ก.กู้เงินบริหารจัดการน้ำ จำนวน 350,000 ล้านบาท

รวม 3 ปีมีการกู้เงิน จำนวน 1,300,000 ล้านบาท

ข้อมูล - สำนักงบประมาณ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง