ไม่พบผลการค้นหา
มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าประเทศไทย เปิดเผยภาพถ่ายเปรียบเทียบกระดูกสันหลังของช้างที่ผิดรูป หลังถูกบังคับให้แบกนักท่องเที่ยวจำนวน ในอุตสาหกรรมความบันเทิงด้านสัตว์ป่ามาร่วม 25 ปี

มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าประเทศไทย เปิดเผยภาพถ่ายเปรียบเทียบกระดูกสันหลังของช้างที่ผิดรูป หลังถูกบังคับให้แบกนักท่องเที่ยวจำนวน ในอุตสาหกรรมความบันเทิงด้านสัตว์ป่ามาร่วม 25 ปี

ช้างตัวนี้ชื่อ ‘ไพลิน’ อยู่ในวงการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในไทยมามากว่า 25 ปี เธอถูกบังคับใช้งานให้นักท่องเที่ยวนั่งอยู่บนหลัง และบางครั้งอาจมากถึง 6 คนต่อครั้ง

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กระดูกสันหลังของไพลินซึ่งควรโค้งมนและยกขึ้นตามธรรมชาติ กลับยุบลงและจมลงไจากงานหนักที่ผ่านมา ความผิดปกติทางร่างกายเหล่านี้พบได้ทั่วไปในช้างที่ใช้ขี่ท่องเที่ยว และช้างที่ถูกใช้งานอย่างการแบกหาม ซึ่งพวกมันต้องใช้เวลาทั้งวันในการแบกควาญช้าง นักท่องเที่ยว และที่นั่งอันหนักอึ้ง แรงกดบนร่างกายอย่างต่อเนื่องนี้ส่งผลให้เนื้อเยื่อและกระดูกบนหลังเสื่อมลง ทำให้กระดูกสันหลังเสียหายอย่างถาวร

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเปิดเผยรายงาน ระบุว่า ช้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยกว่า 70 เปอร์เซ็ต์ มีสภาพความเป็นอยู่ในเกณฑ์ย่ำแย่ ถูกใช้งานในการโชว์ช้างและขี่ช้าง ขาดอิสรภาพ ไม่ได้รับอาหารเพียงพอ และอยู่ในสภาพแวดล้อมตึงเครียด ขณะที่ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของเอเชีย ข้อมูลเดือนมกราคม 2563 ระบุว่า ประเทศไทยมีช้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2,798 เชือก เพิ่มขึ้นถึง 70% จาก10 ปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนถึง 73% ของช้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วเอเชีย


ที่มา: https://www.wfft.org/elephants/how-elephants-bodies-are-damaged-by-tourist-rides/