ไม่พบผลการค้นหา
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ มีผลทำให้อัตราหนี้เสียเพิ่มขึ้นในระบบ คำแนะนำคือให้มีความพร้อมก่อนสร้างหนี้

อัตราการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนไทยตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ไตรมาส 3/2561 อยู่ที่ร้อยละ 77.8 ต่อจีดีพี หรือร้อยละ 114.6 ต่อรายได้ประชาชาติ ซึ่งแม้จะเป็นตัวเลขที่ทรงตัวมาในระดับเดิมแต่ก็ถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค

นอกจากนี้ความเปราะบางของภาคครัวเรือนยังสะท้อนจากสัดส่วนของคนที่ติดอยู่ในวงจรหนี้เสียซึ่งมีจำนวนกว่าร้อยละ 16 หรือประมาณ 3 ล้านคน ที่มีสถานะค้างชำระเกินกว่า 90 วัน ปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนสถานการณ์หนี้ครัวเรือนและหนี้เสีย มาจากการขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวิธีการคิดดอกเบี้ยของผู้ให้เงินกู้ในสินค้าต่างๆ

ล่าสุด 'ทีมข่าววอยซ์ออนไลน์' ได้รวบรวมข้อมูลการคำนวณอัตราดอกเบี้ยและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในสินค้าหลัก 3 ประเภท คือ บ้าน บัตรเครดิต และรถยนต์ไว้เป็นแหล่งอ้างอิงในการคำนวณยอดดอกเบี้ยของประชาชน

จะโปะหนี้ให้โปะบ้าน

ดอกเบี้ยถูกจัดอยู่ในประเภทดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate) ซึ่งหมายความว่าดอกเบี้ยที่จ่ายจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อเงินต้นลดลง อาทิ สมมติว่ามีการกู้บ้าน 1,000,000 บาท ด้วยดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 7 เป็นระยะเวลา 30 ปี อัตราดอกเบี้ยจะคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือคูณด้วยอัตราดอกเบี้ยคุณด้วยจำนวนวันและนำตัวเลขที่ได้มาหารด้วยจำนวนวันทั้งหมดของปีนั้น

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้โดยปกติอยู่ในสัดส่วนที่มากกว่าดอกเบี้ยปกติ และถ้าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ยทั้ง 2 ทาง คือดอกเบี้ยปกติ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยบ้านที่อยู่ในรูปแบบลดต้นลดดอกเอื้อให้ลูกนี้สามารถโปะเงินลงไปในช่วงปีแรกๆ ที่ดอกเบี้ยยังถูกอยู่ เพื่อไปลดยอดเงินต้น และจะมีผลมาสู่ดอกกเบี้ยรายเดือนที่ต้องจ่ายลดลงเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้เนื่องจากปกติดอกเบี้ยบ้านในช่วง 3 ปีแรกจะต่ำและหลังจากครบ 3 ปี ลูกหนี้ก็สามารถไปรีไฟแนนซ์ หรือการชำระเงินกู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดด้วยเงินกู้ใหม่ และใช้สินทรัพย์ตัวเดิมเป็นหลักประกัน โดยขอกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่


อย่าจ่ายขั้นต่ำ 10%

สำหรับดอกเบี้ยบัตรเครดิต ธนาคารหรือบริาทผู้ออกบัตรตจะเริ่มคิดดอกเบี้ยเมื่อผู้ใช้บัตรจ่ายเงินไม่ครบตามการใช้งาน และจะคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 18 ต่อปี โดยเมื่อผู้ใช้บัตรจ่ายแค่ขั้นต่ำ ธนาคารและผู้ออกบัตรดอกจะคิดดอกเบี้ยจาก ‘ยอดค่าใช้จ่าย’ และ ‘ยอดคงค้าง’

สำหรับดอกเบี้ยจากยอดค่าใช้จ่าย คือ เงินที่รูดไปคูณด้วยดอกเบี้ยคูณด้วยจำนวนวันเริ่มจากวันที่รูดถึงวันที่คิดยอดแล้วนำยอดทั้งหมดมาหารด้วย 365 วัน ขณะที่ดอกเบี้ยคงค้าง คือ ยอดที่ค้างคูณด้วยดอกเบี้ยคูณด้วยจำนวนวันตั้งแต่วันที่จ่ายเงินครั้งที่แล้วไปจนถึงวันที่สรุปยอดเดือนใหม่แล้วนำยอดทั้งหมดมาหารด้วย 365 วัน

ด้วยเหตุนี้ การชำระหนี้แค่ยอดขั้นต่ำร้อยละ 10 ไปเรื่อยๆ จะทำให้อัตราดอกเบี้ยทบกันไปมา และก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นหนี้เสียได้ ซึ่งตามข้อมูลบัตรเครดิตในปัจจุบันจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวเลขหนี้เสีย (NPL)ของบัตรเครดิต หรือหนี้ที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน ของประเทศไทยตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2 ของสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งระบบ

จะมีรถก็ต้องรู้จักดอกเบี้ยลดต้นลดดอก

ตามปกติแล้วดอกเบี้ยกู้ซื้อรถยนต์จะคำนวณง่ายที่สุด คือเป็นอัตราคงที่ หรือ Flat rate ที่คำนวรตั้งแต่ลูกหนี้ไปยื่นขอสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระ จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่มาแปลงเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ซึ่งสามารถคำนวณได้จากการนำอัตราดอกเบี้ยคงที่ไปคูณกับ 1.8 จากนั้นก็นำตัวเลขที่ได้มาไปบวกเพิ่มอีก 3 แต่ผลรวมต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เกินร้อย 15 ต่อปี ตามกฎหมาย

โดยดอกเบี้ยผิดนัดชำระของรถยนต์คิดจาก จำนวนผ่อนต่อเดือน บวกด้วย วันที่ค้างหารด้วย 365 และนำไปคูณดับเบี้ยปรับที่คิดจากอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก อย่างไรก็ตาม

คำแนะนำสุดท้ายคือให้ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ก่อนที่จะตัดสินใจกู้หนีตั้งแต่แรก หรือถ้าหากกลายเป็นหนี้เสียไปแล้ว ก็แนะนำให้ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อประนีประนอมหนี้ หรือติดต่อโครงการคลินิกแก้หนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :