ไม่พบผลการค้นหา
ประวัติศาสตร์ว่าด้วย..ของต้องห้าม!! ในสังคมไทย ตอน 2
แคมเปญ รณรงค์เลิกเหล้า ตอน 2
แคมเปญ รณรงค์เลิกเหล้า
ทาสคือใคร ใครคือทาส? ตอนที่ 2
อนุสรณ์สถานที่ถูกลืม
คำผกา "คันหู"
การบ้านของเด็กควรลด หรือ ยกเลิก
วิชาสร้างพลเมืองแบบไทยๆ 'สร้าง' หรือ 'ทำลาย' พลเมือง
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
ทาสคือใคร ใครคือทาส?
เมื่อผู้หญิงถูกข่มขืน ทำไมจึงเป็นความผิด...ของผู้หญิง
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
ความเป็นไทย...ใน Lonely Planet
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตอน 2
อาการแพ้นม ของสังคมไทย (ตอน 1)
ตำนาน 'ดาวยั่ว' ในสื่อบันเทิงไทย
การลาออก ของพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์ ตอนที่ 2
เกาหลีเหนือกับลัทธิบูชาผู้นำ
'สุรางค์' คว้าทองแรกให้ไทยในเอเชียนพาราเกมส์
ประวัติศาสตร์ว่าด้วย..ของต้องห้าม!! ในสังคมไทย
Jan 19, 2013 11:01

รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 19 มกราคม 2556 ตอน 1

การเซ็นเซอร์สื่อ เป็นที่ข่าวดังในช่วงที่ผ่านมา การที่สถานีโทรทัศน์ช่อง  3 เลือกที่จะแบนตัวเอง  ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของคนดูหรือไม่ ทั้งนี้ทุกคนต้องเซ็นเซอร์ตนเอง เช่นการเลือกไม่เอ่ยหนังสือบางเล่ม แม้จะรู้ว่าพูดไปกฎหมายก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ก็เกรงว่าจะถูกล่าแม่มด

การห้ามหนังสือจะเกิดขึ้นในสยาม ต้องรอจนกว่าถึงปีสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือรัชกาลที่ 3 เมื่อนายโหมด อมาตยกุล ต้องคดีในคดีมรดก ได้แอบจ้างคัดลอกกฎหมายที่ดรงอาลักษณ์เป็นเงิน 100 บาท เอาต้นฉบับนำไปพิมพ์เผยแพร่หวังจะช่วยคนที่ไม่รู้กฎหมายและนำเงินมาหักลบต้นทุนที่ลงไป แล้วไปว่าจ้างหมอบรัดเลย์ พิมพ์เป็นหนังสือกฎหมายไทยจำนวน 200 ชุดๆ ละ 2 เล่มเป็นเงิน 500 บาท เรื่องนี้เกิดขึ้นในป  2390-2393 ขณะนั้น ร.3 รับสั่งว่า "เอากฎหมายบ้านเมืองไปพิมพ์โฆษณาเช่นนี้ จะทำให้พวกมดต่อ หมอความทำให้ยุ่งยากแก่บ้านเมือง"

ต่อมาหนังสือถูกริบและได้นำหนังสือนั้นมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้งหมดต่อมาหมอบรัดเลย์ได้นำมาพิมพ์ซ้ำจนรู้จักกันในชื่อ กฎหมายฉบับหมอบรัดเลย์ ปี พ.ศ. 2411

นอกจากนี้ยังมีหนังสือนิราศหนองคาย ที่ถูกเซ็นเซอร์ และ คงเหลือแต่ฉบับที่ถูกตัดทอนแก้ไขโดยกรมศิลปากรในปี 2498  แม้จะมีการพิมพ์ นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ในนามปากกา สิทธิ ศรีสยาม หนังสือเล่มนี้ก็ถูกห้ามอีกครั้งหลัง 6 ตุลาคม 2519

และใน ร.4 มีสามัญชน 2 ท่าน คือก.ศ.ร. กุหลาบ (กุหลาบ ตฤษณานนท์) และ เทียนวรรณ (เทียน วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำลายการผูกขาดความรู้ของชนชั้นนำในยุคนั้น โดยเริ่มจากการออกอุบายขอยืมหนังสือจากหอหลวงมาอ่าน แล้วจ้างอาลักษณ์คัดลอกหลายเล่ม เช่นคำให้การของขุนหลวงหาวัด และที่นำลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ สยามประเภท โดยกล่าวว่าที่จัดทำขึ้นเพื่อ "บำรุงปัญญาประชาชน" แต่เพราะเกรงว่าจะมีความผิดจึงนำดัดแปลงและเมื่อมีการเขียนชีวประวัติของสมเด็จพรสังฆราช(สา)พระอุปัชฌาย์ ของ ร.4 จึงคลาดเคลื่อน และถูกตั้งกรรมการสอบ  จนเป็นที่มาของคำว่า  "กุ"และ ก.ศ.ร.กุหลาบจึงถูกทำให้กลายเป็นคนที่เชื่อถือไม่ได้

และในสมัยของ ร.6 มีการห้ามหนังสือ ทรัพย์ศาสตร์ ของพระยาสุริยานุวัตร ที่ออกมาวิจารณ์นโยบายของรัฐที่ไม่ส่งเสริมการสะสมทุน  จนเป็นหลักให้ประเทศล้าหลัง และยังมีการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจของชาวนาไปให้พ่อค้าคนกลาง และพ่อค้าส่งออกไปรูปแบบของการปล่อยกู้ดอกเบี้ยและกดราคาข้าวเปลือก
 นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ถูกเซ็นเซอร์ตั้งแต่การสร้าง "เขาชื่อกานต์" ของท่ายมุ้ย หรือแม้แต่เพลง "เมียพี่มีชู้" " ขับร้องโดย "ชาย เมืองสิงห์" และเพลง "บาปนักหรือถ้าเราจะรักกัน" ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง ก็ถูกกระทรวงวัฒนธรรมสั่งแบนเช่นกัน
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog