ไม่พบผลการค้นหา
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
บทเรียนของเทย์เลอร์รีพอร์ตเปรียบกับรายงานคอป.
บัญญัติ 10 ประการที่จะนำพรรคประชาธิปัตย์กลับมาสู่ความรุ่งโรจน์
'ความสัมพันธ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยกับรัฐประหาร'
ความเป็นไปได้ของการเคหะมวลชนในสังคมไทย
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกับความเป็นไปได้
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย ''ประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้ลืม''
การขุดค้นหาตัณหาของผู้หญิง
ไปรู้จักกลุ่ม FEMEN
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมีมาแต่โบราณการจริงหรือ?
พื้นที่ของเพศทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แนวความคิดอนุรักษ์ มาจากไหน?
ม่านรูด ทำไมจึงต้องรูดม่าน?
พิษตกค้างหลังการเลือกตั้ง
นิยายติดเรท บทอัศจรรย์ของยุคสมัยใหม่
วิวาทะ แฟนเพจ
รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง?
COSPLAY คืออะไร
อนุสรณ์สถานที่ถูกลืม
Jun 24, 2012 11:37

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา  24 มิถุนายน 2555

 
รายการคิดเล่นเห็นต่างวันนี้ สืบเนื่องจากที่ได้นำเสนอหัวข้อ "กำเนิดวันชาติ"ไปแล้วเมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา คือ ในสมัยที่มีการปฏิวัติการปกครองปี2475 ได้มีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมขึ้น ซึ่งหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่เรารู้จักกันดีก็คืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 
 
ส่วนอนุสรณ์สถานที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์หลักสี่จัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองการปราบกบฎบวรเดช โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ อนุสาวรีย์หลักสี่ หรืออนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงครามอนุสาวรีย์ได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยออกแบบลักษณะเป็นเสา และสื่อถึงหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ เสาของอนุสาวรีย์มีลักษณะคล้ายลูกปืน สื่อความหมายถึงกองทัพ ประดับกลีบบัว 8 ซ้อนขึ้นไป 2 ชั้น บนฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งหมายถึงทิศทั้งแปดตามคติพราหมณ์ ฐานของอนุสาวรีย์มี 4 ทิศ มีบันไดวนรอบฐาน ส่วนบนสุดของเสาอนุสาวรีย์เป็นพานรัฐธรรมนูญซึ่งหมายถึง รัฐธรรมนูญผนังของเสาแต่ละด้านของอนุสาวรีย์มีการจารึกและประดับในเรื่องราวที่ต่างกันไป โดยผนังด้านทิศตะวันตกหรือผนังที่อยู่ด้านหน้าของถนนพหลโยธินมีการจารึกรายนามของทหารและตำรวจ 17 นายที่เสียชีวิต ด้านทิศใต้เป็นรูปแกะสลักของครอบครัวชาวนาคือ พ่อ แม่ และลูก โดย ผู้ชายถือเคียวเกี่ยวข้าว ผู้หญิงถือรวงข้าว และเด็กถือเชือก ซึ่งสื่อถึงชาติและประชาชนในชาติ ด้านทิศเหนือเป็นรูปธรรมจักรซึ่งหมายถึงศาสนา และด้านทิศใต้เป็นแผ่นทองเหลืองจารึกโคลงสยามานุสติ ซึ่งเป็นโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสื่อถึงพระมหากษัตริย์
 
 
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารสร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประสงค์จะให้แล้วเสร็จทันงานวันชาติ คือ 24 มิถุนายน 2484 สถานที่สร้างนั้นควรอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่ โดยท่านมีเหตุผลว่าชาติกับศาสนานั้นเป็นของคู่กัน จะแยกจากกันมิได้ และหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้นสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรสร้างวัดขึ้นใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งอนุสาวรีย์แห่งนี้ได้จารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปราบกบฎบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. 2476 และประสงค์จะให้ชื่อว่า "วัดประชาธิปไตย"
 
 
สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี2475นั้น ได้สอดแทรกแนวคิด หลัก 6 ประการของคณะราษฎรเอาไว้อย่างชัดเจนอีกด้วยเช่นที่พบในรูปแบบของเสา 6 ต้นในอาคารหรือซุ้มต่าง ๆ บัวกลุ่ม 6 ชั้นที่เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน (ต่างจากการทำบัวกลุ่มของเจดีย์ตามประเพณี ที่ต้องเป็นเลขคี่เพื่อให้เป็นมงคล) หรือการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม  ในทางศิลปกรรมนั้น เช่นที่พบในงานประติมากรรมชื่อ เลี้ยงช้างน้อยด้วยอ้อยหก ของ ผิว ทิมสา ที่เป็นรูปแม่ช้างเอางวงรัดอ้อย 6 ท่อนอยู่ โดยมีลูกช้างหลายตัวอยู่รอบ ๆ สื่อถึงประเทศไทยที่จะเติบโตขึ้นด้วยหลัก 6 ประการหรือรูปปั้น หลักหกยกสยาม โดย อินตา ศิริงาม ซึ่งทั้งสองชิ้นนี้ ได้รับรางวัลใน "การประกวดประณีตศิลปกรรม" พ.ศ. 2480 ซึ่งจัดขึ้นในงานฉลองรัฐธรรมนูญดูเพิ่มที่ ศิลปะคณะราษฎร  ส่วนในรัฐพิธีสมัยนั้น ก็นิยมการประดับธง 6 ผืนพร้อมกับประดับพานรัฐธรรมนูญ หรือสิ่งอื่นใดที่จะสื่อถึงรัฐธรรมนูญและหลัก 6 ประการ
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog