รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555
วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 และพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่มีความสำคัญกับปวงชนชาวไทยเด่นๆเลยคงหนีไม่พ้นเรื่องการเลิกทาส
แต่สงสัยกันหรือไม่ว่า ทาส คือใคร เป็นใคร มีหน้าตาเป็นอย่างไร มีชีวิตและความเป็นอยู่อย่างไร เราแทบไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับทาสในยุคก่อนการเลิกทาสอยู่เลย มีเพียงแต่ทาสที่ถูกจินตนาการขึ้นเองในรูปแบบของละครหลังข่าว
ดังนั้นเมื่อมีรัฐไทยกำเนิดขึ้นมา จึงได้มีการสร้างประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาเช่นกันเพื่อให้ได้รู้ว่าประเทศไทยนั้นมาจากไหนและเรามีรากเหง้ามาอย่างไร การกำเนิดของประเทศไทยในประวัติศาสตร์ชุดนี้มีจุดเริ่มต้นที่อาณาจักรสุโขทัย การพยายามที่จะสร้างสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งได้ไปสัมพันธ์กับคำว่าไทย ซึ่งกันข้ามกับคำว่าทาสแปลว่าความไม่มีอิสระเสรี ตรงข้ามกับสมมุติฐานที่บอกว่าสังคมไทยแต่เก่าก่อนเป็นสังคมที่ไม่มีทาส ประวัติศาสตร์ของไทยชุดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยจอร์ช เซเดย์ นักบูรพคดีศึกษาซึ่งในยุคนั้น นักบูรพคดีศึกษาจะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากต่อการศึกษาประวัติศาสต์และโบราณคดียุคอาณานิคม นอกจากนั้นยังมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพ(บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ถัดมาคือหลวงวิจิตรวาทการและพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดนี้คือผู้ที่ร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นไทยมาจนถึงทุกวันนี้ และประวัติศาสตร์ชุดนี้ยังบอกอีกว่าทาสเริ่มมีขึ้นในสมัยอยุธยาโดยได้รับอิทธิพลจากขอมเหมือนเทวราชา
นอกจากนี้ยังมีประวัติศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่เขียนขึ้นมาขัดค้านกับประวัติศาสตร์กระแสหลักเพื่ออธิบายเรื่องทาสและระบบศักดินาของไทยโดย จิตร ภูมิศักดิ์ แต่ประวัติศาสตร์ฉบับนี้ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในวงกว้าง นอกจากจะได้รับการศึกษาจากนักวิชาการกลุ่มเล็กๆเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการมีประวัติศาสตร์ชาติไทยหลายๆแขนงไม่ได้แปลว่าอันไหนจะดีกว่ากันอาจจะมีทั้งอันที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องพอๆกันก็ได้
ส่วนประวัติศาสตร์ของการเลิกทาสนั้น ได้มีบทความของอาจารย์อภิชาต สถิตนิรามัยชิ้นหนึ่งซึ่งได้เขียนตีพิมพ์ลงเว็ปไซต์ Thaipublicaว่าด้วยประวัติศาสตร์ฉบับย่อของการเลิกทาสและไพร่สยาม ซึ่งได้อธิบายว่าการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่5นั้นเกิดขึ้นท่ามกลางเงื่อนไขของ 1.การขยายตัวของการค้าและระบบตลาด 2. ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์และขุนนางในการควบคุมแรงงาน 3. การปฏิรูปอำนาจรัฐเข้าสู่กรุงเทพฯ
การค้าและระบบตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเลิกทาสเมื่อภายหลังการเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี พ.ศ. 2398 แล้ว การค้าระหว่างประเทศของสยามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่เส้นทางเดินเรือกลไฟระหว่างจีนตอนใต้กับสยามทำให้มีแรงงานจีนอพยพเข้าสู่กรุงเทพมหาศาล เนื่องจากมีค่าแรงสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเพิ่มขึ้นของกรรมกรจีนซึ่งเป็นแรงงานรับจ้าง ไม่ใช่แรงงานไพร่ที่ถูกเกณฑ์และบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน (ซ้ำยังต้องเตรียมเสบียงกรังมาเองสำหรับใช้ในช่วงที่ถูกเกณฑ์ด้วย) ย่อมมีแรงจูงใจที่จะทำงานมากกว่าไพร่ การปฏิรูประบบไพร่นี้จึงเป็นการลดทอนอำนาจของขุนนางโดยตรงเป็นหนึ่งในการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่5