ไม่พบผลการค้นหา
กำเนิดวันชาติ
ชำแหละแฟชั่น เลดี้กาก้า
คุณค่าของอุดมการณ์เสรีนิยมในประเทศอังกฤษกับกรณีภาพเปลือยของเจ้าชาย "แฮรี"
ความหมายและหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ (ตอนจบ)
นิตยสารเกย์ ในเมืองไทย
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย ตอน 2
สถาปนิกแห่งความเป็นไทย
คนไทยกับ service mind
อาหารเกียวโต... วัฒนธรรมไร้รูป มรดกโลก
การพักผ่อนหย่อนใจ และ ลำดับชั้นทางสังคม
ความขาว การเมือง เชื้อโรค
ม่านรูด ทำไมจึงต้องรูดม่าน?
วิวาทะ แฟนเพจ
ขันติธรรมกับสังคมไทย
โรงอาบน้ำสาธารณะคืออะไร...และอย่างไร?
คำถาม?... หลังจากน้ำลด
วัฒนธรรมไทย กับดีไซน์ คัลเจอร์
ยุทธศาสตร์เปลี่ยน 'วัฒนธรรม' เป็น 'สินค้า' บทเรียนจากญี่ปุ่น
ดคีฆาตกรรม อันเนื่องมาจากเสียง
วรรณกรรมต้องห้ามในร้านหนังสือ
Dec 16, 2012 09:55

รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2555

 

 

หนังสือเวียนของ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ส่งไปยังร้านจัดจำหน่ายทั่วประเทศที่กำหนดมาตรฐานการรับจัดจำหน่ายหนังสือวรรณกรรมโรแมนติก อิโรติก จนกลายเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่แวดวงวรรณกรรม 
 
เสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดคือการให้ตรวจสอบวรรณกรรมที่มีลักษณะของชายรักชาย หญิงรักหญิง เป็นลักษณะการรักร่วมเพศ ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งไปไกลแล้วไม่จำเป็นต้องแบนหนังสือของเกย์ การทำประชาสัมพันธ์ขอสำนักพิมพ์ถือว่าเป็นการทำการตลาดที่ทำผิดที่ผิดทางอย่างมาก
 
จากบทความของ "ยุกติ มุกดาวิจิตร" "ซีเอ็ดลดทอนความเป็นมนุษย์" ได้ชี้ให้เห็นว่า ซีเอ็ดจะกีดกันการเรียนรู้เรื่องเพศ ในโลกปัจจุบัน เรื่องความเป็นครอบครัว ความหลากหลายทางเพศ เพศวิถีและความรัก และซีเอ็ดกำลังจะกีดกันความรู้เกี่ยวกับความรักในเชิงความรู้สึก ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศไม่ได้มาจากความรู้ทางการแพทย์ที่ตายด้าน หรือความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์ ที่อ่านยากเย็นเท่านั้นแต่ความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นมิติของการแสวงหาความรู้ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน วรรณกรรมที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ ให้ความเข้าใจเรื่องเพศได้ดีและสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้อเขียนทางการแพทย์และข้อเขียนทางวิชาการ และที่สำคัญซีเอ็ดกำลังสร้างความรังเกียจต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เพศวิถีบางลักษณะถูกรังเกียจ ถ้าหากเป็นเช่นนั้นให้ คำผกาบอกว่า  "ขุดหลุม ฝังกระทืบลงนรกไปเลยดีกว่า"
 
นอกจากนี้วรรณกรรมของไทยหลายเล่ม ที่มีบรรยายถึงการร่วมเพศแบบผิดธรรมชาติ เช่น ลิงกับปลา  คนกับครุฑ  หรือแม้แต่ขุนแผนก็พานางพิมไปเสพสมในป่า เป็นต้น
 
นอกจากนี้ซีเอ็ดกำลังดูถูกคนอ่าน ว่าไม่สามารถตัดสิน คัดเลือก กลั่นกรองสิ่งต่างๆ ได้เอง ซึ่งเซ็นเซอร์สิ่งที่ตนเองเห็นว่าชั่วร้ายออกไป และซีเอ็ดยังเห็นว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่เจริญ ส่วนคนอ่านยังโง่อยู่  และยังเป็นการบ่งบอกรสนิยมของสังคม ของสำนักพิมพ์ด้วย
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog