ไม่พบผลการค้นหา
Biz Insight : ท่องเที่ยวไทยจะช่วยเศรษฐกิจได้ถึงเมื่อไหร่? 
Biz Insight : UN ชี้ นโยบายรัดเข็มขัดทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ 
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
Biz Insight : ธุรกิจขาดจริยธรรม อาจพบจุดจบในไม่ช้า
 Biz Insight : หัวหน้ามักทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกผิดที่ลาพักร้อน 
Biz Insight : ธุรกิจขายของแบบรายเดือนกำลังเติบโต
 วางแผนการตลาดอย่างไรเมื่อพื้นที่โฆษณาบนเฟซบุ๊กจำกัด?
Biz Insight : จีนจำกัดลงทุนอสังหาฯ ในต่างประเทศ 
 Biz Insight :ไทยได้อะไรในทริปประยุทธ์พบทรัมป์?
Biz Insight : แท็กซี่ญี่ปุ่นคิดช่วยผู้โดยสารประหยัดค่าเดินทาง
 Biz Insight : หุ่นยนต์จะทำให้ชนชั้นกลางหายไป 
Biz Insight : ตลาดกล้องมิลเลอร์เลสโตต่อเนื่อง
Biz Feed - แคนาดาเป็นจุดหมายของบริษัทขุดบิทคอยน์จีน - Short Clip
Biz Insight :  แอมะซอนไม่ยอมแพ้ตลาดจีน แม้ยอดขายไม่เพิ่ม 
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
CLIP Biz Feed : 'เฟอร์รารี'มุ่งรักษาจุดยืนซูเปอร์คาร์สุดหรู
Biz Insight : ต้องใช้เงินแค่ไหนเพื่อช่วยผู้ลี้ภัยโรฮิงญา
รถยนต์ไฟฟ้าวอลโวรุ่งหรือร่วง?
 Biz Insight : ไอโฟน 10 สะท้อนแอปเปิลเลิกเจาะตลาดแมส
CLIP Biz Feed : ห้างใกล้ตาย แต่อี-คอมเมิร์ซเปิดร้านขายปลีก
Biz Insight : อีคอมเมิร์ซทำให้ของก็อปเฟื่องฟู 
Nov 2, 2017 03:20

อีคอมเมิร์ซทำให้สินค้าก็อปขยายตลาดจากการขายตามท้องถนนไปสู่การขายสินค้าไปต่างประเทศ โดยที่ผู้ซื้ออาจไม่รู้เลยว่า สินค้าที่ซื้อไป ไม่ใช่สินค้าที่โฆษณาไว้บนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

ปัจจุบันมีบริษัทที่คิดสินค้าใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า หรือแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับคนจำนวนมาก แต่อุปสรรคสำคัญของบริษัทเหล่านี้ก็คือ การต้องเห็นรายได้หลุดลอยไปพร้อมกับชื่อเสียงของสินค้าโดยที่ไม่สามารถป้องกันอะไรได้ เนื่องจากมีคนนำรูปภาพสินค้าและเว็บไซต์ของพวกเขาไปโฆษณาขายสินค้าในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอย่างแอมะซอนและอีเบย์ และขายของก็อปที่คุณภาพไม่ดีไปให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเข้าใจว่า สินค้าของพวกเขาไม่ดี

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ระบุว่า สินค้าก็อปกว่าร้อยละ 60 มาจากจีนและฮ่องกง โดยนายเวด เชพเพิร์ด ผู้เชี่ยวชาญเรื่องธุรกิจจีนจากนิตยสาร Forbes อธิบายว่า การผลิตสินค้าก็อปจึงไม่ใช่เรื่องของมิจฉาชีพที่จ้องจะทำลายธุรกิจหรือขโมยสิ่งประดิษฐ์ของบริษัทอื่นๆ แต่เป็นเรื่องของระบบนิเวศอุตสาหกรรมการผลิตของจีนที่แตกต่างจากตะวันตกมาก โดยสิ่งที่เรียกว่า ซานจ้าย คือระบบนิเวศอุตสาหกรรมระดับล่างนับแสนบริษัททั่วประเทศ ที่กลายมาเป็นคำเรียกสินค้าก็อปทั่วไป เนื่องจากบริษัทเหล่านี้จะไม่สนใจลิขสิทธิ์ทางปัญญาใดๆ

นายเดวิด หลี่ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ซินเชอเจียน เว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่ให้คนที่มีความสนใจคล้ายๆกันมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ โดยไม่หวังผลกำไรกล่าวว่า ซานจ้ายจะร่วมมือกันเป็นระบบเหมือนกงสี ที่เมื่อมีคนเริ่มทำสินค้าอย่างหนึ่ง คนที่ำงานในซานจ้ายจะร่วมกันคิดว่าจะลอกเลียนแบบออกมายังไงด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าและรวดเร็วกว่า ต้นแบบสินค้าอาจหาได้ตามนิตยสารทั่วไปด้วยซ้ำ และไม่จำเป็นต้องคิดค้นนวัตกรรมอะไรใหม่ๆเพื่อต่อยอดสินค้า ทำให้การผลิตสินค้าลอกเลียนแบบเปลี่ยนประเภทการผลิตไปเรื่อยๆ ไม่จำกัดอยู่แค่สินค้าเดิมๆ

ที่ผ่านมา ของก็อปเหล่านี้จะขายอยู่ตามท้องถนนในจีน ฮ่องกงและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ผู้ซื้อได้เห็นสินค้าก่อนซื้อ และรู้ว่าของเหล่านั้นเป็นของก็อป แต่อีคอมเมิร์ซอย่างอีเบย์และแอมะซอน ได้ทำให้ซานจ้ายแข่งขันกับบริษัทนวัตกรรมต่างๆไปโดยตรง เพราะสินค้าก็อปเหล่านี้ก็ส่งขายไปทั่วโลกได้ โดยที่ลูกค้าไม่ได้เห็นสินค้าจริงก่อนซื้อ จึงไม่รู้ว่ากำลังถูกหลอกขายของก็อป

การแข่งขันกันโดยตรงทำให้ซานจ้ายเอาชนะบริษัทต้นแบบได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากบริษัทต้นแบบจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าวิจัย คิดค้น ออกแบบสินค้า ต้องจ่ายเงินพัฒนาสินค้า จดลิขสิทธิ์ ขอรับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ต้องทดสอบความปลอดภัย และอีกมากมาย นายเชพเพิร์ดจึงมองว่า บริษัทอีคอมเมิร์ซอย่างอีเบน์และแอมะซอนได้เปิดกล่องแพนดอราให้กับซานจ้าย แต่ก็ยังหาทางแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog