ข้อมูลทุกอย่างของรัฐบาลคือข้อมูลของประชาชน เพราะฉะนั้นมันต้องถูกเปิดเผยสู่ประชาชน - เหตุผลที่นักการเมืองในสหรัฐอเมริกา สนับสนุน พ.ร.บ. Freedom of Information Act ในปี 1990s
ทำความรู้จัก Open data
ย้อนกลับไปเมื่อทศวรรษปี 1990 ที่การจัดเก็บข้อมูล ด้วยฟร้อปปี้ ดิสก์ ได้เข้ามาแทนที่การถ่ายเอกสาร ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนผ่านจากยุคอนาล็อกไปสู่ยุคดิจิทัล ที่ข้อมูลต่างๆ ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ซึ่งนำมาสู่ Big Data ในยุคปัจจุบัน และการที่เราอยู่ในยุคของข้อมูลมีอย่างมหาศาลจึงมีการเรียกร้องให้ เปิดข้อมูล สำหรับทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้
หัวใจสำคัญของ Open Data มี 3 ประการ ที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน (interoperability) อย่างเป็นรูปธรรม คือ
1. Availability and Access คือ ข้อมูลที่เปิดเผยต้องสามารถใช้งานได้ทั้งหมด
2. Re-use and Redistribution คือ ข้อมูลที่เผยแพร่ต้องถูกจัดเตรียมภายใต้เงื่อนไข การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่และเผยแพร่ได้ รวมถึงการใช้ชุดข้อมูลร่วมกับชุดข้อมูลอื่น ๆ
3. Universal Participation คือ ทุกคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ การใช้ซ้ำ การเผยแพร่ โดยไม่ติดเรื่องข้อจำกัดใดๆ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าข้อมูลนั้น
Open Data คือ น้ำมันเชื่อเพลิงสำหรับ สิทธิพลเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาสังคมที่สำคัญยิ่ง แต่การทำ Open Data ไม่ใช่ของราคาถูก แต่ในระยาวมันจะคุ้มกว่า เพราะสิ่งที่จะได้ในภายหลังคือ ความโปร่งใสของรัฐบาลและความรับผิดชอบขอบรัฐบาล (accountability) แปลว่า การคอร์รัปชันจะยากขึ้น และเกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ส่วนต่อยอดของ Open Data คืออะไร?
ส่วนต่อยอดที่สำคัญกว่าความโปร่งใสของรัฐบาล คือ สิ่งที่เรียกว่า Open Knowledge มันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ข้อมูลนั้น มีประโยชน์ ถูกนำไปใช้ได้ และถูกใช้ แต่แน่นอนว่าข้อถกเถียงเรื่องการเปิดเผยเพื่อความโปร่งใสของข้อมูล ที่ต้องชั่งน้ำหนักกับสิ่งที่เรียกว่าความลับหรือความมั่นคงของชาติ ก็ยังคงมีอยู่
Source:
http://thaipublica.org/2015/06/open-data-2/
https://data.go.th/Faq.aspx?AspxAutoDetectCookieSupport=1