วันที่ 1 ก.ย. 2566 ที่ท่าเทียบเรือ โรงน้ำแข็งสิริไพโรจน์ ต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม นายเศรษฐา ระบุถึงพูดต่อตัวแทนผู้ประกอบการชาวประมงโดยจะให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ว่าที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็น หัวหน้าทีมแก้ไขปัญหาประมงว่า โดยยืนยันว่า ร.อ.ธรรมนัส พร้อมช่วยเหลือเต็มที่และคณะทำงานของพรรคเพื่อไทยนำโดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ก็พร้อมจัดตั้งคณะทำงานมาร่วมแก้ปัญหาโดยเร็ว
โดยปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ทันทีก็จะทำก่อนทันที อาจจะยังไม่หมดเพราะทุกอย่างใช้เวลา โดยเรื่องที่ทำได้ก่อนจะนำไปพิจารณาก่อนทั้งกฎกระทรวง และมีอีกหลายอย่างต้องร่วมเจรจาการค้าต่างประเทศ และการติดวิทยุสื่อสารในทะเล (วิทยุมดขาว) ซึ่งถ้าอยู่ในอำนาจคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ก็จะให้ยกเลิกวิทยุตัวนี้ก็ได้ เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับพี่น้องชาวประมง จากการประสบปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงกฎหมายบริหารจัดการแรงงานต่าวด้าว มาตรา 14 ถ้าจะแก้ไขได้หรือไม่ นายเศรษฐา ระบุว่า ถือเป็นวาระที่เราจะต้องพูดคุยกัน เช่นเดียวกับปัญหาน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย จะต้องขอดูรายละเอียดก่อน เพราะเป็นประเทศที่อยู่ในอาเซียนเหมือนกันและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทย และไม่ได้แยกการทำงาน ดังนั้นถ้ามาร่วมกันได้ก็จะแบ่งสรรผลประโยชน์น่าจะลงตัวและจะทำให้เดินหน้ากันได้ง่ายขึ้น
เมื่อถามถึง8-9 ปีชะงักเรื่องปัญหาประมง นายเศรษฐา ระบุว่า ตนว่าเดินหน้าแก้ไขปัญหาดีกว่า อย่าไปมองปัญหาเก่า อย่าไปว่าใครเลย แก้ไขปัญหาดีกว่า
เมื่อถามถึงการแก้ไขกฎหมายลูก 13 ฉบับที่ผู้ประกอบการชาวประมงได้ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา นายเศรษฐา ระบุว่า มั่นใจจะมีการแก้ไขกฎหมายใดบ้างโดยจะฝากให้ ร.อ.ธรรมนัส รับผิดชอบเรื่องนี้
ส่วนเรื่องนโยบายขึ้นค่าแรงนั้น นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า เป็นนโยบายหลักของทุกพรรคการเมืองเช่นกันการขึ้นค่าแรง โดยนายกสมาคมประมงสมุทรสงคราม ได้บอกแล้วว่าการขึ้นค่าแรงต้องระมัดระวัง เพราะการขึ้นค่าแรงเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทุกภาคส่วน
แต่ก็มีความจำเป็นเพราะค่าครองชีพสูงขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการเพิ่มรายได้ ถ้าเราเพิ่มรายได้ให้กับเอสเอ็มอีได้ เราก็จะนำมาเพิ่มค่าแรงให้พี่น้องประชาชนที่มารับจ้างได้ แต่ต้องขอดูรายละเอียดตรงไหนเหมาะสมก่อน ซึ่งยืนยันว่าต้องทำทันทีอาจจะปีใหม่ แต่ต้องพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลและต้องให้เกียรติ เพราะเราทำงานเป็นพรรคร่วม
เมื่อถามว่าการทำงานหลังจากนี้ของนายกรัฐมนตรีจะร่วมลงพื้นที่กับรัฐมนตรีเพื่อไปแก้ปัญหาใช่หรือไม่ เศรษฐา ระบุว่า เป็นเวลาที่จะต้องร่วมการทำงานกับรัฐมนตรี ซึ่งตนยากให้มองเป็นองค์รวม ไม่ใช่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย แต่เป็นรัฐบาลของประชาชนประกอบกันเป็นหลายพรรคการเมือง โดยตนเชื่อว่าทุกรัฐมนตรีที่ได้รับการพูดถึงทุกท่าน มีความเป็นห่วง ปัญหาปากท้องเศรษฐกิจของพี่น้องประชาชนทุกคนและรัฐมนตรีทุกคนก็มีความปรารถนาดีขอแค่โอกาสเท่านั้น