ฟางเป็นที่ต้องการของเกษตรกรในทุกฤดูกาล เพราะมันจะถูกใช้เป็นทั้งเสบียงเลี้ยงวัว ควาย เพราะเห็ดฟาง คลุมหน้าดินในสวนผลไม้ และใช้ในงานเกษตรอินทรีย์อื่นๆ
ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ ลงพื้นที่สำรวจศูนย์กลางการผลิตพันธุ์ข้าวเกษตรนาแปลงใหญ่ ต. ตาอ็อง อ.มือง จ.สุรินทร์ พบชาวบ้านส่วนใหญ่ ต่างพากันออกมาไถ่นา หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลินาปี หลังจากเพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวหอมมะลิ นาปรัง ที่เพิ่งพากันเกี่ยวข้าวเสร็จเมื่อ 3-4 วันผ่านมา และได้พบกับนายสุนันท์ เกตุแก้ว อายุ 38 ปี และนาง จินนาลักษณ์ เกตุแก้ว อายุ 39ปี สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 246 บ้านตาอ็อง หมู่ 1 ต.ตาอ็อง อ.เมือง จ.สุรินทร์ นำรถไถนานั่งขับ คันใหญ่ ดัดแปลงติดตั้งเครื่องอัดฟาง ออกบริการรับจ้างอัดฟางก้อน และช่วงนี้จะถือว่า เป็นช่วงที่มีความต้องการฟางอัดมาก เพราะเข้าสู่ฤดูแล้งฟางจะหายาก และมีความต้องการของตลาดสูงมาก
หลังจากการทำการอัดฟางก้อน และเก็บฟาง เข้าบ้านเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะทิ้งช่วงอีก 4-5 วันก็จะเริ่มไถ่กลบต่อซังข้าว เพื่อที่จะได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ตามธรรมชาติ ช่วยลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ย ทั้งนี้ หลังจากทางรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีการรณรงค์ และส่งเสริม งบประมาณ ผลักดันให้หมู่บ้านตาอ็องแห่งนี้ ทำโครงการนาข้าวแปลงใหญ่เกษตรอินทรีย์ได้สำเร็จ ทำให้ชาวบ้านอยู่ดี มีสุข สุขภาพแข็งแรง เพราะไม่ได้ใช้สารเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ ในการปลูกข้าว ทำเกษตรกรร ที่สำคัญทำให้ได้ฟางอัดก้อนอินทรีย์ ปลอดสารเคมีและสารพิษ นำไปเลี้ยง วัว ควาย และนำไปขายต่อได้กำไรงาม ขายดีแทบไม่ทันขายอีกด้วย
นายสุนันท์ เกตุแก้ว อายุ 38 ปี ชาวบ้านตาอ็อง ผู้หันมาทำอาชีพรับจ้างอัดฟาง เปิดเผยว่าชาวบ้านต้องการการอัดฟางเก็บตักตุนเอาไว้เป็นเสบียงอาหาร สำหรับการเลี้ยง วัว ควาย ตลอดหน้าแล้ง และขายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยง วัว ควาย ทั่วประเทศ ตนและภรรยา มารับจ้างอัดฟางก้อนในราคาก้อนละ 12 บาท หากที่ท้องทุ่งนาไหนข้าวได้ผลผลิตข้าวดีๆ โดยเฉพาะนาข้าวแปลงใหญ่เกษตรอินทรีย์ อัดฟางก้อนง่ายมาก วันหนึ่งสามารถอัดฟางก้อนได้ประมาณ 1,000 ก้อน ทำให้มีรายได้วันละประมาณ 7.500-10,000 บาท ส่วน เครื่องอัดฟางซื้อมือสอง ราคา 300,000 บาท และ หากเจ้าของฟางจ้างให้ขนฟางอีก ก็จะได้เพิ่มอีกก้อนละ 8-10 บาท ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก