โยชิฮิเดะ ซุกะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้แต่งตั้งให้ เทตสึชิ ซากาโมโตะ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภูมิภาค ให้ดำรงอีกตำแหน่งคือรัฐมนตรีกระทรวงความเหงาคนแรก หลังพบปัญหาความเหงาและความโดดเดี่ยวกำลังทวีความรุนแรงขึ้นจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ความคืบหน้านี้มีขึ้นหลังจากที่ญี่ปุ่นมีการเปิดเผยตัวเลขที่พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เนื่องจากการระบาดของโควิดที่ทำให้ผู้คนต้องอยู่ห่างจากกัน สวนทางตัวเลขอัตราฆ่าตัวตายที่เคยลดลงช่วงหลายสิบปีก่อนหน้านั้น
จากข้อมูลพบว่า ปีที่ผ่านมาอัตราการฆ่าตัวตายของผู้หญิงเพิ่มขึ้นที่ 14.5% โดยมีจำนวนทั้งหมดถึง 6,976 คน เป็นตัวเลขสูงที่สุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ตัวเลขการฆ่าตัวตายของผู้ชายลดลงราว 1% อยู่ที่ 13,943 ราย ในปีที่ 11 ติดต่อกัน
ผลการศึกษาพบว่า ความเหงาเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังหลายประเภท อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เนื่องจากความโดดเดี่ยวทำให้ผู้คนต้องแยกตัวจากสังคมจนเกิดพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ ทั้งการไม่ออกกำลังกาย ไม่ไปพบแพทย์ส่งผลให้เกิดความเครียดและความดันโลหิตสูง ประกอบปัจจัยด้านการระบาดที่ผู้คนต้องห่างเหินทางสังคม
ผลการศึกษาหลายชิ้นพบว่าความเหงาเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังหลายโรค อาทิ โรคเบาหวานและโรคหัวใจ เพราะความโดดเดี่ยวทำให้ผู้คนแยกตัวออกจากสังคมเกิดพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพไม่ว่าจะเป็น ไม่ออกกำลังกาย ไม่ชอบไปหาหมอ ส่งผลต่อความเครียดและความดันโลหิต
จากข้อมูลใหม่อัตราการฆ่าตัวตายของผู้หญิงเพิ่มขึ้น 14.5 เปอร์เซ็นต์โดยมีจำนวนทั้งหมดถึง 6,976 คนซึ่งสูงที่สุดในรอบ 5 ปีในขณะที่การฆ่าตัวตายของผู้ชายลดลง 1 เปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ 13,943
"ผู้หญิงกำลังทนทุกข์ทรมาณจากการโดดเดี่ยวมากกว่าผู้ชาย และจำนวนการฆ่าตัวตายก็มีแนวโน้มสูงขึ้น ผมหวังว่าเราจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ และส่งเสริมมาตรการเชิงนโยบายอย่างครอบคลุม" นายกซุกะ กล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ตามแผนนายกซุกะเตรียมจัดการหารือถึงประเด็นปัญหานี้ช่วงปลายเดือนก.พ. เพื่อรับฟังปัญหาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการหามาตรการเพื่อป้องกันความเหงาและความโดดเดี่ยวทางสังคม และเพื่อปกป้องความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน รวมถึงขยายบริการให้ปรึกษาและแนะนำองค์กรเพื่อช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว
ทั้งนี้ อัตราการฆ่าตัวตายช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ตั้งแต่เดือน ก.ค.เป็นต้นไป ตัวเลขเริ่มสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาด โดยเฉพาะเดือน ต.ค. นับเป็นเดือนเลวร้ายที่สุดเนื่องจากมีตัวเลขการฆ่าตัวตายสูงถึง 2,153 คน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 5 ปี จำนวนนี้เป็นการฆ่าตัวตายของผู้หญิงที่ 851 คนเพิ่มขึ้น 82.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2562
ที่มา: Nikkei