ไม่พบผลการค้นหา
‘ภูมิธรรม-ประเสริฐ’ เผยรัฐบาลเริ่มระงับเบอร์ปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทันทีหากมีประวัติโทรมากกว่า 100 สายต่อวัน-ครอบครองซิมมากกว่า 50 หมายเลข หลังพบประชาชนถูกหลอกลวง-ดูดเงินจำนวนมาก

วันที่ 12 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย ประเสริฐ จันทร์ทรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช. ) ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) และ ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ ทรู-ดีแทค และเอไอเอส 

โดย ภูมิธรรม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพราะหลายชาติประสบปัญหาอย่างเดียวกันรูปแบบเดียวกันโดยผู้ก่ออาชญากรรม ซ่อนอยู่ในที่ต่างๆ จึงต้องบูรณาการเจ้าหน้าที่ ทั้งภาครัฐและเอกชนช่วยกันหาทางออก 

ด้าน ประเสริฐ กล่าวว่า จากข้อมูลของศูนย์เอโอซี 1441 มีการร้องทุกข์ประมาณ 80,000 สาย ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก เป็นต้องมีมาตรการที่เข้มข้นในการจัดการกับผู้ที่ต้องสงสัยเข้ามาหลอกลวง โดยพุ่งเป้าไปที่หมายเลขโทรศัพท์ที่โทรออกจำนวนมากผิดปกติใน 1 วัน เช่น 100 ครั้ง ถือว่าน่าสงสัย โดยข้อมูลล่าสุด 9-11 ธันวาคม พบว่า มีการโทร 100 สายขึ้นไป ในเครือข่ายเอไอเอส 3,927 สาย  ทรูเฮช 4,339 สาย ทรูดีทีเอ็น 4,051 สาย 

จึงได้กำหนดการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์เอโอซี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน กสทช. และ ผู้ให้บริการเครือข่ายฯ ออกมา 3 กรณี คือ 

1.เมื่อตรวจสอบพบว่ามีหมายเลขโทรศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ทางเอโอซีจะแจ้ง ให้บริการโทรศัพท์ หรือโอเดี๋ยวโอเปอร์เรเตอร์ ยกเลิกหมายเลขบริการดังกล่าวโดยทันที อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นฐานอำนาจให้ผู้บริการโทรศัพท์พร้อมดำเนินการ 

2.ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตรวจสอบหมายเลขอื่น ของผู้ใช้บริการ ที่เป็นหมายเลขที่ใช้กระทำความผิด และให้แจ้งผู้ให้บริการรายอื่นที่เป็นเจ้าของหมายเลข ขยายผล ตรวจสอบ หากพบผิดปกติให้ระงับบริการ แต่ถ้าจะพิสูจน์ตน ต้องมารายงานตัว 

อีกกรณี คือ หากมีการใช้งานเกิน 100 สายต่อวัน ให้มีหนังสือไปถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระงับเลขหมายต้องสงสัย หากพบการโทรออกมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นให้ติดต่อเจ้าของเบอร์เพื่อมาแสดงตนใน 7 วัน  หรือหากแสดงตนแต่ไม่สามารถชี้แจงการใช้งานได้ ก็ให้แจ้งเอโอซี เพื่อสืบสวนการใช้งานต่อไป 

และ 3. ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องรายงานข้อมูลต่อรัฐทุกเดือน หรือตามความเหมาะสม รวมถึงการจัดทำข้อมูลผู้ให้บริการคอลเซ็นเตอร์อย่างแท้จริงด้วย  ซึ่งต้องมาแสดงตนและเอกสารมายืนยันภายใน 15 วัน ก่อนใช้มาตรการโทรมากผิดปกติ ทั้งนี้มาตรการจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ ( 12 ธ.ค.)

ด้าน นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีหมายเลขทั้งหมด 12,500 หมายเลข ที่ใช้การโทรออกและมีการรับสายมากกว่า 100 ครั้ง ก็จะถูกระงับ การใช้จนกว่าจะรายงานตัว เพื่อพิสูจน์ทราบให้ได้ว่าเป็นการใช้บริการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งทาง กสทช.ได้ตังหน่วยเฉพาะกิจ เพื่อติดตามและตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการ เพื่อเป็นไปตามนโยบายที่เคร่งครัด พร้อมทั้งการดำเนินการตามแผนขั้นที่ 2 ที่จะตัดวงจรและตามไล่อุปกรณ์ และเสา สัญญาณเถื่อน 

รวมถึงการปรับปรุงด้านความปลอดภัยทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของโครงสร้างพื้นฐาน ของโทรคมนาคมตามชายขอบ มีบุคคลกว่า 14,500 คน ที่มีอยู่ซิมมากกว่า 50 ซิม ภายใต้ชื่อเดียวกัน รวมๆแล้วอาจมีถึง 6 ล้านเลขหมาย ดังนั้นอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทาง กสทช.ก็จะดำเนินการสื่อสารให้เจ้าของ หมายเลขดังกล่าวมาขึ้นทะเบียนยืนยันตัวตน ตามที่ระยะเวลากำหนดไว้ และอาจจะต้องมีการระงับบางส่วน หากพบว่าใช้ซิมอย่างผิดกฎหมาย ส่วนผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ คือประชาชนทั่วไป ขอให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะมีพฤติกรรมเช่นนี้จำนวนมาก ซึ่งพบว่ามีการใช้ซิมและโทนจำนวนมาก รัฐบาลไม่อยากเห็นประชาชนตกเป็นเหยื่อได้ ซึ่ง กทสช. ก็จะดูแลให้ผู้ประกอบการ ให้ควาวมร่วมมือ 

ด้าน ประเสริฐ ยังกล่าวถึงการที่เจ้าหน้าที่นำข้อมูลประชาชนออกไปขายว่า มีคณะกรรมการคุ้มครองรักษาความปลอดภัย ทางด้านข้อมูลที่ได้ทำการตรวจสอบตลอดเวลา ส่วนหน่วยงานใดที่อาจถูกแฮกข้อมูล ทาง กระทรวงดีอีเอส ก็พร้อมด้วยตรวจ ซึ่งกระทรวงมีความพยายามแก้ไขตลอดเวลา โดยกระทรวงฯ ทำงานร่วมกับ ตำรวจ และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในการตรวจสอบ และมีการยืนยันตัวตน 

จากการตรวจสอบหน่วยงาน 9,000 กว่าแห่ง ดำเนินการเรียบร้อยไปกว่า 5,000 แห่งแล้ว หากหน่วยงานไหนพบสิ่งปกติ ก็พร้อมตรวจสอบ  ทั้งนี้กระทรวงมีการเรียกประชุมหน่วยงานภาครัฐ 85 หน่วยงานแล้ว และเชิญภาคเอกชนที่มีฐานข้อมูลในมือจำนวนมาก มาทำความเข้าใจ และขยายผลการจับกุม ทั้งนี้หน่วยงานรัฐก็ต้องรักษาฐานข้อมูลส่วนบุคคลด้วย โดยมาตรการในวันนี้พร้อมเริ่มดำเนินการทันที 

ส่วน มนัส มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์เปอร์เรชั่น ยินดีที่ขณะช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของ ประชาชน โดยจะให้ความร่วมมือทุกเรื่องอย่างเต็มที่ ในการที่จะตรวจสอบและจัดทำแผนตามที่ กสทช.ประสานความร่วมมือ และให้ความสำคัญกับไซเบอร์ไซเคอริตี้ พยายามมีมาตรการที่ชัดเจน ส่วนเรื่องการลงทะเบียนก็จะมีการกลั่นกรอง ตามระเบียบของภาครัฐที่กำกับ ทั้งพฤติกรรมการโทรที่แปลก พร้อมช่วยแกะรอยกลุ่มบุคคลที่ทำผิดกฎหมาย