ข้อมูลจากบันทึกการออกเสียงลงคะแนนการประชุมวุฒิสภา ปีที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 ระบุผลการทำหน้าที่ดังนี้
หมายเหตุ: *พล.อ.อ.นภาเดช และ พล.ร.อ.สมประสงค์ เข้ารับตำแหน่งวันที่ 2 พ.ย. 64 จึงมียอดรวมการลงมติน้อยกว่าผู้นำเหล่าทัพคนอื่น และ **ในการประชุมหนึ่งครั้งอาจมีการลงมติมากกว่าหนึ่งครั้ง
อย่างไรก็ดี ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้การเข้าประชุมและการลงมติในที่ประชุมถือเป็นหน้าที่หลักของ ส.ว. โดยรัฐธรรมนูญกำหนดเรื่องนี้เป็นเงื่อนไขการพ้นตำแหน่งของ ส.ว. ซึ่งอยู่ในมาตรา 115 (5) ที่ระบุว่า ให้สมาชิกภาพของ ส.ว สิ้นสุดลง เมื่อขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของจํานวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกําหนดเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา หรือ หมายความว่าภายใน 120 วันนั้น ส.ว. ต้องเข้าประชุมมากถึง 75% เว้นแต่ประธานวุฒิสภาอนุญาตให้ขาดประชุม
โดยในมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้ ส.ส. หรือ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา 111 (5) และให้ประธานแห่งสภา ที่ได้รับคําร้องส่งคําร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อดูจากจำนวนครั้งการเข้าร่วมการประชุมของ ส.ว. ที่มาจากผู้นำเหล่าทัพ จะพบว่า ทั้ง 6 คน มีข้อมูลการเข้าประชุมไม่ถึง 3 ใน 4 ของสมัยประชุมของเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2565 โดยผู้ที่เข้าประชุมมากที่สุด คือ พล.อ.วรเกียรติ รัตนานนท์ ซึ่งเข้าประชุมอย่างน้อย 5 ครั้ง จาก 27 ครั้ง แต่จำนวนนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า ส.ว.ขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของสมัยประชุม ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ความเป็นสมาชิกภาพของ ส.ว. ทั้ง 6 คนจะสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
อ่านรายละเอียดต่อได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6187