ไม่พบผลการค้นหา
'พิชัย' รมว.พาณิชย์ประกาศส่งออกไทย เดือนมีนาคม โตทะลุ 17.8% คิดเป็นมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดในประวัติศาสตร์ ดันไตรมาสแรกปี 68 โต 15.2%

วันที่ 24 เมษายน 2568 ณ กระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2568 โดยระบุว่า การส่งออกของไทยขยายตัวสูงถึง 17.8% คิดเป็นมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของไทย

สำหรับ ไตรมาสแรกของปี 2568 (มกราคม–มีนาคม) การส่งออกขยายตัว 15.2% รวมมูลค่า 81,532.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในแต่ละเดือนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ มกราคม 13.6%, กุมภาพันธ์ 14% และมีนาคม 17.8% ส่งผลให้ไทยมี ดุลการค้าเกินดุล 1,081 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี

นายพิชัย กล่าวว่า นับตั้งแต่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว การส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องทุกเดือน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.9% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ 10 ปี สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน

“การเติบโตไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในตลาดสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมตลาดอื่น ๆ ด้วย แม้ในเดือนถัดไปอาจมีผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ แต่เชื่อมั่นว่ายังสามารถขยายตัวเป็นบวกได้ ด้วยความร่วมมือของรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน” นายพิชัยกล่าว

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เชิญชวนสื่อมวลชนและภาคเอกชนร่วมรับฟัง สัมมนา “ถอดรหัสนโยบายภาษีทรัมป์ โอกาสสู่การค้ายุคใหม่” ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันพรุ่งนี้ ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ณ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่(NEA) ถนนรัชดาภิเษก เพื่อวิเคราะห์โอกาสของไทยท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในนโยบายการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกรณีความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจเป็นโอกาสให้สินค้าของไทยเข้าไปแทนที่สินค้าในตลาดโลก

“อย่าคิดว่าเป็นวิกฤตอย่างเดียว ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง และเรายังเดินหน้าต่อไปได้” นายพิชัยกล่าว

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (988,362 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ร้อยละ 17.8 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 15.0 การส่งออกของไทยได้รับแรงหนุนหลักจากสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีการเร่งตัวด้านการผลิต สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความพยายามในการรับมือกับความเสี่ยงจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อรักษาเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิต และบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การส่งออกของไทย 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวเพิ่มเติม รายละเอียดดังนี้

มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมีนาคม 2568 การส่งออก มีมูลค่า 29,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 28,575.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า เกินดุล 973.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 81,532.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 80,451.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.4 ดุลการค้า เกินดุล 1,081.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมีนาคม 2568 การส่งออก มีมูลค่า 988,362 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 967,608 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.2 ดุลการค้า เกินดุล 20,755 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 2,757,249 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 2,754,544 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.1 ดุลการค้า เกินดุล 2,705 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.1 (YoY) กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือน โดยสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 0.5 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 5.7 กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 19.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น บราซิล อินเดีย และเยอรมนี) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และไอร์แลนด์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 12.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี ฟิลิปปินส์ และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน เมียนมา กัมพูชา ลาว และออสเตรเลีย) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ขยายตัวร้อยละ 12.5 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และเวียดนาม) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 16.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และแคนาดา)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 23.4 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และปาปัวนิวกินี แต่ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ ฮ่องกง และแคเมอรูน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 15.1 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาด มาเลเซีย ลาว อินเดีย เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 4.7 กลับมาหดตัวในรอบ 9 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ เกาหลีใต้ และ กัมพูชา) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 27.7 กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว จีน และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ แทนซาเนีย ปาปัวนิวกินี ฮ่องกง และญี่ปุ่น) และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 38.2 กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เมียนมา จีน กัมพูชา และญี่ปุ่น) ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.2

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 23.5 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 80.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี มาเลเซีย และไต้หวัน) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 5.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอฟริกาใต้) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 17.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 69.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย ฮ่องกง สหรัฐฯ สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 41.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 17.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 19.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย และไต้หวัน) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ไต้หวัน และสาธารณรัฐเช็ก)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 31.2 หดตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเม็กซิโก) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 27.0 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดอาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และกัมพูชา) ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 19.4

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว จากการเร่งนำเข้าของประเทศต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการประกาศภาษีของสหรัฐฯ ที่จะมีผลเดือน เม.ย. โดยการส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้นจากความต้องการนำเข้า เพื่อลดต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาษีนำเข้า ขณะที่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน เร่งนำเข้าสินค้าวัตถุดิบหรือสินค้า ขั้นกลางที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้

(1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 17.3 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 34.3 จีน ร้อยละ 22.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.5 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 4.0 อาเซียน (5) ร้อยละ 13.2 และ CLMV ร้อยละ 10.1

(2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 9.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 25.1 แอฟริกา ร้อยละ 3.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 11.5 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 59.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 7.7 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 11.4

(3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 232.6

- ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 34.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 25.4 ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 22.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และยางพารา สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 19.5

- ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.5 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 0.1

- ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 4.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 13.2 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำตาลทราย เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 5.7

- ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 10.1 (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป น้ำตาลทราย และผ้าผืน ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 4.7

- ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 9.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และทองแดงและของทำด้วยทองแดง ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 78.3

- ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 11.4 (หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 หดตัวร้อยละ 15.4

- ตลาดตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวร้อยละ 25.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และยางพารา ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 10.5

- ตลาดทวีปแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 3.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ข้าว เม็ดพลาสติก และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 7.6

- ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 11.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ และเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 16.7

- ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวร้อยละ 59.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 27.4 

- ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 7.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น 

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ 3 เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัวร้อยละ 7.1

แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป

แนวโน้มการส่งออกในปี 2568 ในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกของไทยเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากการใช้มาตรการปรับขึ้นภาษีอย่างถ้วนหน้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ของนานาประเทศ สร้างความวิตกกังวลต่อภาพรวมการค้าโลก อันอาจนำไปสู่การชะลอตัวทั้งในด้านการค้าและการลงทุน อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อรับมือกับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงนี้ โดยเตรียมความพร้อมด้านการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ เพื่อลดทอนผลกระทบทางภาษี แสวงหาโอกาสจากวิกฤต โดยการผลักดันสินค้าศักยภาพเข้าไปทดแทนในตลาดสหรัฐฯ และสร้างความร่วมมือทางการค้าเพื่อกระจายตลาดให้มากขึ้น พร้อมประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนและผู้ส่งออกไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเข้าใจ พัฒนามาตรการเยียวยา