ไม่พบผลการค้นหา
อำนาจ ม.44 ของหัวหน้าคสช.ให้ขยายการดำเนินกิจการพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองใหญ่เกรงว่าจะเปิดช่องให้เซ็ตซีโร่สมาชิกพรรค กลายเป็นประเด็นร้อนสำคัญที่ถูกจับตาไม่น้อย

หวาดผวากันไม่น้อยสำหรับ 2 พรรคการเมืองใหญ่ อย่าง "พรรคเพื่อไทย" และ "พรรคประชาธิปัตย์"

หลังมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญ ประกอบมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557

เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นการขยายกรอบเวลาการดำเนินการทางธุรการของพรรคการเมืองที่มีอยู่ก่อนที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2560

โดยยกเลิก มาตรา 140 มาตรา 141 และมาตรา 142 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาใช้ถ้อยคำของกฎหมายใหม่ตาม คำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 แทน

ทำไม 2 พรรคใหญ่ถึงหวาดผวา เพราะ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560

ได้แก้ไข มาตรา 140 โดยกำหนดให้พรรคการเมืองที่มีอยู่ก่อนกฎหมายพรรคการเมือง ฉบับปัจจุบัน จะต้องให้สมาชิกพรรคการเมืองยืนยันการเป็น "สมาชิกพรรคการเมือง" ต่อหัวหน้าพรรคการเมืองนั้น พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายพรรคการเมือง ขณะเดียวกันการยืนยันความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ยังต้องชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561

แต่ถ้าไม่ยืนยันภายในเวลาที่กำหนด สมาชิกพรรคการเมืองนั้นจะต้องพ้นจากสมาชิกพรรคทันที

หากตรวจสอบข้อมูลสถานะพรรคการเมืองที่มีอยู่ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 มีจำนวน 69 พรรคการเมือง

พรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกพรรคมากที่สุด 2,895,933 คน

พรรคเพื่อไทย มีสมาชิกพรรคการเมือง 134,822 คน

ขั้นตอนการยืนยันสมาชิกพรรคของทั้ง 2 พรรคย่อมมีความยุ่งยากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ เพราะมีสมาชิกพรรคจำนวนมาก



700_500_aW1hZ2UvMjAxNy0xMi85YTA4MWY0MGU5ZTg2MWViY2MzMDE5M2E3NDgyMjc3OS5qcGc=.jpg

นั่นจึงทำให้ "ราเมศ รัตนะเชวง" รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ท้วงติงถึงคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 ว่าเป็นการรีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมืองทั้งหมด ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จึงต้องปกป้องสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์กว่า 2.8 ล้านคน โดยยืนยันจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ขาดถึงการใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ซึ่ง คสช.มีอำนาจเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ กระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่


ชูศักดิ์  ศิรินิล.jpg

เช่นเดียวกับ "ชูศักดิ์ ศิรินิล" ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ชี้ว่าคำสั่งดังกล่าวมุ่งช่วยให้พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่เป็นพรรคที่จะสืบทอดอำนาจให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังทำให้พรรคการเมืองเก่าต้องยุ่งอยู่กับการแก้ปัญหาสมาชิกพรรคที่มีอยู่แล้ว จนส่งผลให้เป็นการรีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมืองทางอ้อม

-เข้มกิจกรรม "พรรคการเมืองเก่า"

คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 ยังขยายเวลาให้กับพรรคการเมืองเก่าที่ต้องดำเนินทางด้านธุรการภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ซึ่งจะครบกำหนดในปลายปี 2561 โดยมีสิ่งที่พรรคการเมืองเก่าต้องดำเนินการ ดังนี้

1.จัดให้มีทุนประเดิม 1 ล้านบาท

2.ให้สมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 500 คน ต้องชำระค่าบำรุงพรรคการเมือง ปี 2561 ใน 180 วัน

3.ให้สมาชิกพรรคไม่น้อยก่วา 5,000 คนต้องชำระค่าบำรุงพรรคการเมือง ใน 1 ปี นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561

4.ให้สมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 10,000 คน ต้องชำระค่าบำรุงพรรคการเมือง ใน 4 ปี นับจากวันที่ 1 เมษายน 2561

5.การจัดประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคการเมือง จัดทำคำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง นโยบายพรรค หรือคณะกรรมการบริหารพรรค จะกระทำได้เฉพาะเมื่อมีการยกเลิก กฎเหล็กห้ามชุมนุมทางการเมือง (ประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557  และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558)

1327158.jpg

โดยเงื่อนไขใหม่ทั้งหมดนี้ หากพรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติขยายเวลาออกไปได้อีก 1 เท่าของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่อง

-ห้ามพรรคการเมืองเก่าจัดประชุมใหญ่

คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 ยังห้ามมิให้พรรคการเมืองเก่า จัดประชุมใหญ่ รวมทั้งจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด เว้นแต่จะได้รับไฟเขียวจาก คสช.ก่อน โดยมีการนำคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และประกาศ คสช.ที่ 57/2557 ซึ่งเกี่ยวกับการห้ามเคลื่อนไหวและชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 ขึ้นไป มาบังคับใช้ด้วย

-พรรคเกิดใหม่ขอไฟเขียวคสช.ตั้งพรรค

ส่วนพรรคการเมืองที่จะดำเนินการจัดตั้งพรรคขึ้นใหม่ สามารถดำเนินการได้นับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561

เท่ากับว่า พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่สามารถดำเนินการจัดตั้งพรรคและทำธุรการได้ก่อนพรรคการเมืองเก่าเป็นเวลา 1 เดือน แต่การยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องได้รับ "ไฟเขียว" จาก คสช.

ประยุทธ์.jpg

ขณะที่หัวใจสำคัญของ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 อยู่ในข้อ 8 ซึ่งระบุว่า

"เมื่อมีการประกาศ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. ... ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้ง คสช.เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมาย ประกาศ คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. อันเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของพรรคการเมือง และร่วมจัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยให้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และจะเชิญผู้แทนพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองต่างๆเข้าร่วมหารือด้วยก็ได้"

ถ้าแปลความตามข้อ 8 นั่นหมายความว่า เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ประกาศใช้ การยกเลิกกฎเหล็กของ คสช.ที่ห้ามเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อพรรคการเมือง ก็สามารถดำเนินการได้

โดยก่อนจะยกเลิกกฎเหล็กของ คสช. จะต้องมีการหารือกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง พรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองด้วย

ศาลอนุมัติหมายจับ 19 แกนนำกปปส.ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

สิ่งที่น่าจับตาที่สุดคือ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้จึงอยู่ที่ปัจจัยของตัวแทนกลุ่มต่างๆข้างต้นนี้ด้วยจะมีมติคล้อยตามไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ให้มีการเลือกตั้งใน 150 วันนับจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งฉบับสุดท้ายประกาศใช้

อำนาจมาตรา44 ที่ประกาศใช้ล่าสุดนี้ ยังมีสิ่งที่น่าจับตาและสร้างหวาดกลัวของ พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ คือการช้อนสมาชิกพรรคการเมืองของตัวเองไปอยู่พรรคการเมืองอื่นโดยไม่ต้องยืนยันความเป็นสมาชิกพรรค

นี่คือสิ่งที่ซ่อนกลอยู่ใน คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 นั่นเอง!

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง