รศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐพงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย เปิดเผยในการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM โดยแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า นโยบายให้ขับด้วยความเร็ว 120 กม.ต่อชั่วโมง ไม่ได้ใช้ทุกเส้น โดยใช้แค่เส้นทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย ระยะทางแค่ช่วง 50 กม. เท่านั้น จาก บางปะอิน - อ่างทอง เนื่องจากเป็นถนนที่มีช่องจราจรมากกว่าสองช่องในแต่ละทิศทางฝั่งละ 4 เลน มีมาตรฐานระดับหนึ่ง ไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับ ทั้งนี้เห็นว่า เส้นทางหลวงที่มีจุดกลับรถ มีจุดลักผ่าน ทางลักข้าม ทางเข้าออกชุมชน ไม่ควรขับด้วยความเร็ว เพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดการชนที่รุนแรง
รศ.ดร.กัณวีร์ กล่าวว่า วิธีคิดก่อนการขับเร็ว ให้รำลึกว่าเราใช้เวลาอย่างน้อยสองวินาที ตัดสินใจ ถ้าขับเร็วสูง ระยะตัดสินใจนานขึ้น ระยะหยุดเร็วก็ยาวขึ้นเช่นกัน รวมกันจึงยาวขึ้นไปอีก ยิ่งใช้ความเร็วสูงโอกาสบาดเจ็บเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งถ้าถนนลื่นระยะหยุดรถจะยิ่งยาว เสี่ยงสูงขึ้นไปอีก เวลาชนเมื่อชนที่ความเร็วสูง โอกาสบาดเจ็บสาหัส หรือรอดชีวิตจะน้อยมาก มอเตอร์ไซค์จากการเก็บข้อมูล วิ่งชนโอกาสตายสูงขึ้นมาก เกิน 80-90 กม./ชม. เพิ่มขึ้น 50% ถ้าวิ่ง 100 พุ่งเป็น 80% บางคนมองอาจมองว่าความเร็ว 100 กม./ชม. ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ความเร็วของรถยนต์ 100 กม./ชม.โอกาสรอดชีวิตแทบจะไม่มี
"ทัศนคติคนไทยคิดว่าขับเก่ง จึงขับเร็วได้ ฉันทำได้ แต่แม้จะขับเก่งถ้าขับเร็ว โอกาสเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น และเมื่อชนทักษะขับขี่ที่คิดว่าเก่ง แทบจะช่วยไม่ได้เลย ทัศนคติการขับเก่ง ต้องขับแล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ นอกจากไม่ชนเขาแล้ว ต้องประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงรอบด้านได้ ป้องกันไม่ให้เขามาชนเรา ไม่ใช่คิดว่าฉันขับถูกต้อง อย่างรถบางคันเล็ก ขับเร็วสูงจะคุมรถยาก" รศ.ดร.กัณวีร์ กล่าว
รศ.ดร.กัณวีร์ กล่าวว่า การใช้ความเร็วขึ้นอยู่กับถนนที่ขับด้วย ดูลักษณะทางกายภาพ ในเมืองขับด้วยความเร็ว 80-100 กม./ชม. ยังอันตราย ต้องต่ำกว่านั้น แต่ถนนที่มีการควบคุมทางเข้าออก ทางด่วน มอเตอร์เวย์ รั้วกั้น ไม่มีคนข้าม มอเตอร์ไซค์ ยูเทิร์น 120 กม./ชม. พอได้ เช่น มอเตอร์เวย์ไปพัทยา ส่วนถนนเพชรเกษม พระราม 2 พหลโยธิน มิตรภาพ อาจยังไม่เหมาะ 120 กม./ชม. ต้องต่ำกว่านั้น มีจุดยูเทิร์นเป็นระยะๆ มีสี่แยกไฟแดง มีรถบรรทุกออกมาจากซอย ถนนที่ใช้ความเร็วได้ สัมพันธ์กับจุดตัดกลับรถเพราะ เพราะฉะนั้นนโยบายที่ประกาศออกมา แค่ช่วง 50 กม. มีการควบคุม ต้องสื่อสารบอกประชาชนให้ดี ไม่ใช่ทุกเส้นทาง ไม่ใช่ทุกเลนถนน เฉพาะช่องทางขวาของเส้นทางที่กำหนดเท่านั้น
เมื่อถามว่า แบริเออร์ข้างทาง ถ้าขับรถเสียหลักไปชนจะมีความปลอดภัยหรือช่วยให้ความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุลดลงได้หรือไม่ รศ.ดร.กัณวีร์ กล่าวว่า แบริเออร์ ยังไม่สามารถรองรับความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. รองรับได้แค่ 100 กม./ชม. หาเกิดการชนจะเด้งออกมาเสีี่ยงต่อการโดนรถคันอื่นซ้ำได้อีก ดังนั้นเวลาขับต้องมีสติและสมาธิค่อนข้างมาก ส่วนอุปกรณ์ใหม่ๆ ติดตั้งรัชดา roller barrier จุดประสงค์ลดความแรงขณะชน ซึมซับแรงกระแทก เท่าที่ทราบผ่านทดสอบการชน ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. เท่านั้น เป็นอุปกรณ์ที่ราคาแพงมาก แต่มีข้อสังเกต การทดสอบดังกล่าวผ่านการทดสอบจาก ตปท. ซึ่งต่างประเทศไม่มีรถจักรยานยนต์ แต่ในไทยเกิดเหตุตรงทางขึ้นเขาพระตำหนัก หัวคนขี่ชนเข้าไปขัดระหว่างลูกล้อสีเหลือง พอล้อบิด คอขาด เสียชีวิตทันที เรียกว่าช่วยได้เฉพาะรถยนต์ ดังนั้นของใหม่ๆ ที่เอามาจากต่างประเทศ บางครั้งไม่สามารถเอามาใช้ได้ทันที เพราะบริบทต่างกัน
รศ.ดร.กัณวีร์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาอุบัติเหตุประเทศไทย ต้องมาจากพฤติกรรมประชาชนส่วนหนึ่งด้วย มีหลากหลายวิธี เช่น รณรงค์ขับช้าควรอยู่ซ้าย เพราะขวาไม่ควรวิ่งแช่ เอาไว้สำหรับแซงเท่านั้น ให้ความรู้เรื่องการใช้ความเร็วบนถนนเส้นต่างๆ ที่สำคัญการสอบใบขับขี่ของบ้านเราต้องปรับมาตรฐาน ทุกวันนี้เนื้อหาในการสอบใบ ขับขี่ เน้นไปที่ กม. ยิ่งปฏิบัติ 3 ท่า เข้าซอง ถอยหลังทางตรง เท่านั้น ยังไม่เคยมีการสอนถึงการคาดการณ์ว่าข้างหน้าจะมีอะไร จะเจออะไร คนขับรถมือใหม่ไม่มีประสบการณ์ เรียกว่ายังไม่มี accident prediction ความผิดพลาดคาดการณ์สถานการณ์เสี่ยง คนไทยยังขาด ถ้ามีรถตัดต้องทำยังไง ควรต้องได้รับการอบรม เป็นทักษะที่เรียนรู้เองไม่ได้ ต้องมีคนคอยสอน ไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการอบรมใบขับขี่ ไม่แปลกใจที่ผู้ขับขี่หน้าใหม จะพลาดเจอปัญหานี้ ระแวดระวังได้มากยิ่งขึ้น เช่น ขึ้นเนินสะพาน เวลาจะลง เราต้องคิดไว้เลยว่ามีอะไรแอบ หรือซ่อนอยู่หลังนี้หรือเปล่า แต่บางครั้งอาจมีรถเสีย รถบรรทุกจอดอยู่ พวกนี้ต้องระวัง เรื่องอื่นๆ ที่รบกวนการขับรถ เช่น การใช้โทรศัพท์ทำให้ขาดสมาธิ ทำวิจัยผลกระทบระยะตัดสินใจ ระยะหยุดรถ จะยาวขึ้นไปอีกเสียหลัก ออกนอกถนน คร่อมเลน ค่อนข้างสูง รถคันอื่นตกใจมาเฉี่ยว
"ขอฝากผู้ขับขี่ ตระหนักไว้เลยว่า เร็วเป็นความเสี่ยงการชนที่ความเร็วสูงโอกาสบาดเจ็บรอดชีวิตแทบไม่มี ขับช้าจะดีกว่า ถึงจุดหมายปลายทางเหมือนกัน แต่อุบัติเหตุจะน้อยกว่าช้าปลอดภัยกว่าแน่นอน ขอให้ถึงดีกว่าไม่ถึง ถึงช้าดีกว่าไม่ถึงเลย" ดร.กัณวีร์ กล่าว