วันนี้ (15 พย.) ภายหลังการการรับฟังความเห็นของประชาชนถึงแนวทางการทำประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กว่า 2 ชั่วโมง รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล เจ้าหน้าที่ศูนย์ไอลอว์ ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ไอลอว์มาน้นย้ำหลักการที่มีประชาชนลงรายชื่อเสนอร่าง รัฐธรรมนูญ 211,904 รายชื่อ ว่าประชาชนมีความเห็นในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยเน้นย้ำว่า คำถามประชามติที่ดีต้องเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยคำถามประชามติ ต้องระบุชัดเจนอย่างกว้างและครอบคลุมว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ต้องทำทั้งฉบับ อย่าใช้วิธีตั้งคำถามมาเกินไป หรือมีคำถามในการแด้ไขบางมาตรา เพราะอาจทำให้ประชาชนไม่เข้าใจคำถามและลงคะแนน ไม่เห็นชอบแทน ซึ่งจะเป็นการปิดประตูการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ด้านภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ แกนนำกลุ่มราษฎร แสดงความเห็นว่า เจตจำนงประชาชนของประชาชนที่ลงชื่อโครงการ call for all 522 คนที่ได้ยื่นให้กับคณะกรรมการวันนี้ เป็นประชาชนที่ต้องการรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับที่เขียนจาก สสร. ให้เป็นฉบับประชาธิปไตย ซึ่งคำถามประชามติ ต้องเปิดกว้าง เช่น ท่านเห็นด้วยหรือไม่ในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากมีคำถามพ่วงจะสร้างความสับสน และความขัดแย้งให้กับประชาชน ทำให้ประชาชต้องตอบ 2เรื่อง ซึ่งเป็นไปได้ยาก อยากให้ออกคำถามโอบรับกับจุดยืนกับทุกฝ่าย
ส่วนกรณีที่ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าในการรับฟังมีความเห็นไม่ให้มีการปรับแก้หมวด1-2 เพราะเกรงวาาอาจจะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญไม่สำเร็จและต้องกลับมาใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 รัชพงษ์ มองว่าทางประชาชนไมได้เสนอเงื่อนไขอะไรให้การทำประชามติ ดังนั้นก็ไม่ควรสร้างเงื่อนไขในการทำประชามติ จะทำให้การทำประชามติครั้งนี้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่จะเป็นการบังคับใช้กฎหมายรายมาตราหรือไม่ นี่ไม่ใช่หนทางที่ประชาชนเสนอ
นอกจากนี้กลุ่มไอลอว์เสนอให้ สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ซึ่งจะต้องมาจากประชาชนหลายกลุ่ม ขอให้ใช้กลไกตั้ง คณะยกร่าง หรืออนุกรรมาธิการเฉพาะด้านขึ้นมา
ขณะเดียวกันกับ กลุ่มสมัชชาคนจน นำโดย บารมี ชัยรัตน์ แสดงความเห็นว่า รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เป็นกฎหมายรวมศูนย์อำนาจให้รัฐ จำเป็นต้องแก้ไข โดยเสนอให้แก้ทั้งฉบับทั้งหมวด 1-2 เช่น หมวด1 ต้องแก้ไขให้มีการกระจายอำนาจ และ แก้ไขอำนาจขององค์กรอิสระ โดยบารมียืนยันว่า ตนเห็นด้วยที่จะต้องแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับรวมถึงหมวด 1-2 แก้ไขได้ ซึ่งที่ผ่านมาแก้ไขได้มาโดยตลอด ส่วนร่างรัฐธรรมนูญคนจนที่ได้ระดมความเห็นทำมาตั้งแต่ ปี 2559 มอบให้ประธานฯไปแล้ว
และเห็นด้วย สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งประชาชน เปิดกว้างให้คนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นสามารถสมัครได้ และมีความเห็นว่า บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550, ปี 2560 ไม่ควรมาเป็น สสร. เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่ร่างกฎหมายที่ประชาชนไม่ยอมรับ ส่วนกลุ่มนักวิชาการให้ทำหน้าที่ที่ปรึกษา ไม่ใช่ให้นั่ง