ไม่พบผลการค้นหา
9 ปีผ่านไป ไวเหมือนโกหก 99 ศพ จากคำสั่งสลายการชุมนุม นปช.ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุบสภา เมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ที่มี 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' เป็นนายกรัฐมนตรี และ 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยังคงไม่ได้รับความยุติธรรม

แม้ระหว่างปี 2555-2557 ศาลอาญาจะมีคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ชี้ชัดว่า ความตายของผู้ชุมนุม นปช.แล้ว 17 ศพ มาจากกระสุนฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารที่เข้าไปปฏิบัติการก็ตาม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า นับจากจากการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 เป็นต้นมา คดี 99 ศพ ยิ่งถอยห่างออกจากความยุติธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ 

แม้ก่อนหน้านั้นกระบวนการยุติธรรมในคดีจะเดินหน้าถึงขั้นยื่นฟ้องต่อศาลอาญาเอาผิด นายอภิสิทธิ์-นายสุเทพ ฐานสั่งให้ผู้อื่นกระทำหรือฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าโดยเจตนา 

ทว่าตลอด 5 ปี ใต้ร่มเงาของรัฐบาลคสช. คดี 99 ศพ กลับได้รับความอยุติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ช่องทางการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมตีบตันมากขึ้นทุกขณะ 

  • ปี 2557-ศาลชั้นต้นยกฟ้อง "อภิสทธิ์-สุเทพ" ฟ้องผิดศาล 

วันที่ 28 ส.ค.2557 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีหมายเลขดำ อ.4552/2556 และ อ.1375/2557ที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นโจทก์ฟ้องนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จำเลยที่ 1-2 ฐาน ฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83 และ 84 โดยระบุว่า 

"การกระทำดังกล่าวนั้นก็เกี่ยวพันกับการที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่ราชการในฐานะนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง ผอ.ศอฉ. ไม่ใช่การกระทำทางอาญาที่กระทำโดยส่วนตัวหรือนอกเหนือหน้าที่ราชการ จึงเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งราชการด้วย เป็นการกระทำกรรมเดียวที่ควรพิจารณาไปในวาระเดียว ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) มีอำนาจไต่สวน"  

"หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดก็ต้องยื่นฟ้องคดีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพ.ร.บ.ว่าการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 66และ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (1) และประกาศ คสช. ฉบับที่ 11/2557 และ 24/2557 ที่ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลนี้ จึงพิพากษายกฟ้อง"  

คำพิพากษาที่ออกมาสอดคล้องกับแนวทางการต่อสู้คดีของนายอภิสิทธิ์และสุเทพ ที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเช่นเดียวกับที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งเห็นว่าดีเอสไอไม่มีอำนาจสอบสวน และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้รับเรื่องที่มีการกล่าวหาไว้แล้ว 


พรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ สุเทพ
  • ปี 2558-ป.ป.ช.ยกฟ้อง "อภิสทธิ์-สุเทพ-อนุพงษ์" สลายแดงตามหลักสากล! 

วันที่ 29 ธ.ค. 2558 สำนักงานป.ป.ช. เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ถึงมติป.ป.ช.ตีตกคำร้องคำกล่าวหาและคำขอให้ถอดถอน นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในช่วงการสลายชุมเมื่อปี 2553 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือนเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช.จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ใจความว่า 

"อยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มิใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จึงมีเหตุจำเป็นที่ ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง โดยมีคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัว หากมีความจำเป็นสามารถนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งได้ไปตามสถานการณ์ หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือป้องกันตนเองได้ อันเป็นไปตามหลักสากล"  

"ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวน ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม กับพวก ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการ ในเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาเล็งเห็นผลแต่อย่างใด คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปเช่นกัน"

ข้ออ้างสุดคลาสสิคที่ถูกใช้ตีตกคำร้องคือ "ชายชุดดำ" ซึ่งปรากฏตัวในพื้นที่ชุมนุมจึงทำให้การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ติดอาวุธนั้น ไม่เกินแก่เหตุ ทว่าค้านสายตาของผู้คนในสังคมเป็นอย่างยิ่ง 99 ศพ ไม่มีใครคนใดอยู่ในชุดดำครอบครองอาวุธร้ายแรง ที่สำคัญจากผลการไต่วนพลิกศพทั้ง 17 ศพของศาลนั้น ก็ไม่พบเขม่าดินปืนบนตัวผู้ตายแต่อย่างใด

นอกจากนี้มติ ป.ป.ช.ดังกล่าวที่ออกมายังมีการตั้งข้อสังเกตอีกว่า มีเบื้องหลังหรือที่มาที่ไปอย่างไร เพราะเกิดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างการเข้ารับตำแหน่งประธานป.ป.ช.คนใหม่ ของพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.59 ซึ่งเป็น อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นรมว.กลาโหม ของรัฐบาลนายอภสิทธิ์ ในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ด้วย 


เสื้อแดง  Cover Template.jpgปปช..jpg


  • ปี 2559 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น 

2 ปีให้หลัง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีฟ้องนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ฟ้องผิดศาล ต้องไปริเริ่มคดีที่ป.ป.ช. เพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ทีมทนาย นปช.ก็มีดำเนินยื่นอุทธรณ์ทันที 

แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ก็ออกมาในแนวทางเดิมคือ ยืนยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีหลายเลขดำ อ.4552/2556 เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 59 ใจความว่า  

"ศาลอุทธรณ์ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ออกคำสั่งขณะดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี ฟังไม่ได้ว่าเป็นกระทำในฐานะส่วนตัว ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง ต้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นผู้ชี้มูลความผิดและยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ไม่มีอำนาจในการสอบสวน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ เห็นด้วย ยกฟ้อง" 


นปช-คดีสลายการชุมนุม.jpg


  • ปี 2560-ศาลฎีกายืนยกคำร้อง ดับฝันคดี99ศพตามกลไกปกติ 

ที่สุดกระบวนการยุติธรรมต่อคดี 99 ศพก็เดินทางมาถึงศาลฎีกา ท่ามกลางความคาดหวังต่อความยุติธรรมที่สังคมและญาติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จำนวนมากเฝ้ารอ ซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ออกมานั้น ก็ทำให้เห็นว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 99 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน ในการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในกระบวนการยุติธรรมตามปกติของศาลยุติธรรม

วันที่ 31 ส.ค. 2560 ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีหมายเลขดำ อ.4552/2556 และ อ.1375/2557 ยืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง ศาลยุติธรรมไม่มีขอบเขตอำนาจ ต้องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปผลทั้งความเห็นการดำเนินคดีอาญาไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

ก็อย่างที่ทราบกันดี ปลายปี 2558 ป.ป.ช.มีมติยกคำร้องทั้งหมดไปแล้วเช่นกัน แต่ทีมกฎหมายและญาติผู้เสียชีวิต ก็ยังมีความหวัง ช่องทางที่ริเริ่มจากป.ป.ช.ก่อนศาลอาญานักการเมือง คณะกรรมการป.ป.ช.ยังมีอำนาจหยิบยกขึ้นทบทวนให้อุทธรณ์ได้ 

  • ปี 2561-ป.ป.ช.ยืนกรานไม่อุทธรณ์สลายแดง-นายพลเดินแรงล้มคดี 

แทบฝันสลายคดีสลายการชุมนุมกลุ่มนปช. เมื่อปี 2553 กำลังจะกลายเป็นการตอกย้ำ "วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด" ของสังคมไทย เฉกเช่นประวัติศาสตร์การเมืองอำมหิตสังหารโหดคนไทยกลางเมือง เช่น 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519, และพฤษภา 2535 โดยไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชอบ ทั้งที่ปรากฎภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจำนวนมากที่ส่อให้เห็นถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐชนิดเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมจนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก เมื่อป.ป.ช.ระบุไม่มีหลักฐานใหม่ ขอยืนยันมติเดิมที่เคยวินิจฉัยไปเมื่อปี 2558 นั้นถูกต้องแล้ว 

ช่องทางการต่อสู้ทวงความยุติธรรม โดยพุ่งเป้าไปยังความรับผิดชอบของผู้สั่งการ จึงดูเหมือนไร้หาทางไปต่อ เมื่อศาลยุติธรรมตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติ บอกไร้ขอบเขตอำนาจ เมื่อมายังองค์กรอิสระ อย่างป.ป.ช.ที่มีอำนาจ ส่งให้ศาลฎีกาแผนกดคีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ยืนยันจบคำร้อง รับรองคำสั่งและการทำหน้าที่จากศอฉ.และทหารที่ปฏิบัติการเป็นไปตามหลักสากล กลุ่มผู้ชุมนุมนปช.ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบ 

ไม่เพียงเท่านี้ ปลายปี 2561 ก็เกิดกระแสข่าวามีบิ๊กมีสี ระดับ"นายพลเดินแรง"พยายามล็อบบี้ให้อัยการสูงสุดสั่งยุติสำนวน 99 ศพ ทั้งในส่วนที่มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ให้พิจารณาสั่งการเป็นสำนวนมุมดำ ที่หาผู้กระทำความผิดไม่ได้ จน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำนปช. ต้องมาร่วมทวงถามข้อเท็จจริง

ก่อนจะพบความจริงที่แสนเจ็บปวดเมื่อ แหล่งข่าวระดับสูงจากอัยการสูงสุดอสส. เปิดเผยว่า สำนวนไต่สวนพลิกศพรายอื่นๆ โดยเฉพาะ 20 ศพหน้ากระทรวงศึกษาธิการนั้น ดีเอสไอมีความเห็นไม่อาจระบุตัวผู้ทำความผิดได้ เห็นควรให้อัยการงดสอบสวน ซึ่งมีการสั่งให้ยุติโดยการทำให้เป็น "สำนวนมุมดำ" เรียบร้อยแล้ว.... 


รำลึกนปช


  • 99 ศพจบไม่ได้ อดีตรองประธานศาลฎีกา ชี้ช่องฟ้องมือสังหาร ซัดทอดคนสั่งการ 

"เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบดังกล่าวได้ หากภายหลังสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้อาวุธปืนโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติ และเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีจำเป็น จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ อันเป็นความรับผิดเฉพาะตัว" 

ส่วนหนึ่งในคำวินิจฉัยป.ป.ช.เมื่อปี 2558 นี้เอง ที่ทำให้ นางสมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตกรรมการ ป.ป.ช.และรองประธานศาลฎีกา เห็นว่า การต่อสู้เพื่อทวงความยุติธรรมให้คดี 99 ศพ ยังมีอยู่สามารถไปต่อได้ด้วยการให้ดีเอสไอแล้วให้ฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติว่า ทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการสามารถให้การซัดทอดผู้บังคับบัญชาที่สั่งการได้ โดยตามกฎหมายอาญาก็คุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการไว้ว่า 

"หากผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้ปฏิบัติการเข้าใจว่าคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมาย ผู้ปฏิบัติการมีความผิดจริงแต่ไม่ต้องถูกลงโทษ" 

"ส่วนตัวเห็นว่า ถึงแม้จะมีผู้ชุมนุมบางรายมีอาวุธ แต่การใช้อาวุธสงครามสลายการชุมนุมก็ยังหนักเกินความจำเป็นอยู่ดี ตามกฎหมายอาญาเจ้าหน้าที่จะใช้อาวุธได้ก็ต่อเมื่อต้องมีการต่อสู้ ไม่ใช่อีกฝ่ายมีอาวุธแล้วก็ประหารได้เลย คดี 99 ศพจึงยังจบไม่ได้ ผู้บริหารประเทศไม่มีสิทธิประหารใคร" 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :