ไม่พบผลการค้นหา
กฟน.เผยเบื้องหลังความสำเร็จระบบไฟฟ้างานกาชาด
การเคลื่อนไหวคนเสื้อแดงหลังปล่อย7แกนนำ
วัฒนธรรมการข่มขืน หรือ Rape Culture ตอนที่ 1
วัฒนธรรมการข่มขืน หรือ Rape Culture ตอนที่ 2
World Trend - ปืน-ความยากจน ทำยอดฆ่าตัวตายในสหรัฐฯ พุ่ง - Short Clip
Day Break - 'ไอคอนสยาม' พร้อมปลุกสีสันแม่น้ำเจ้าพระยา - Short Clip
World Trend - ​ผลสำรวจชี้ 'รีพับลิกัน' เกินครึ่งเชื่อเรื่องโลกร้อน - Short Clip
ธ.ก.ส.จ่ายเงิน 1,000 ช่วยชาวนา ไร้ปัญหา
Wake Up News - 'เรืองไกร' ร้อง สตง. หลังพบสต็อกข้าวถึง 3 ยอด - Short Clip
ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ยังให้บริการบินไปญี่ปุ่น
ปชป.ยื่นศาล รธน.สั่งเลือกตั้งเป็นโมฆะ
World Trend - มหาวิทยาลัยจีนแซงหน้าสิงคโปร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 เอเชีย - Short Clip
Talking Thailand - “บิ๊กตู่” เหมือนไร้ทักษะบริหารงาน รมต.ทำงาน อย่าให้ ปชช.คอยกระทุ้ง - Short Clip
เซนต์จอนห์น เปิดจอง เดอะเซนต์ เรสซิเดนซ์ 15 พ.ย.นี้
Wake Up News - อนาคตใหม่ ปลุก 378 เสียงในสภา ร่วมปิดสวิตซ์ ส.ว. - Short Clip
พารากอน ให้ผ่อนแบรนด์เนม 0% นาน 6 เดือน
AAV มั่นใจกำไรปีนี้ทำสถิติสูงสุด แตะ 1,000 ล้าน
Talking Thailand - รัฐบาลกู้เงินเป็นล้านล้าน...แต่กลับไม่ให้สภาตรวจสอบ แถมไม่มีแผนใช้จ่าย  - Short Clip
World Trend - 'การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน' ภัยร้ายที่กระทบงานและจิตใจ - Short Clip
'บางกอกแอร์เวย์ส' เคาะราคา IPO ที่ 25 บาท/หุ้น
ดันแคมเปญ 'ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน' ผ่านเวทีปฏิรูป ​
Nov 12, 2017 11:29

เครือข่ายปฎิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน เตรียมส่งเอกสารโครงการรณรงค์เปลี่ยนระบบเงินประกัน “ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน” อีกต่อไป ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้ก่อนเริ่มการประชุม

รองศาสตราจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้รณรงค์โครงการฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัว แต่ไม่มีหลักทรัพย์เพียงพอ ถึง 66,000 คน จากผู้ต้องขังทั้งหมดที่รอศาลพิพากษาคดี กว่า 1 แสนราย ทั้งที่หากศาลยังไม่มีคำพิพากษาก็ไม่ควรมีใครติดคุก ดังนั้นจึงได้ทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ทั้งนี้ ทางเครือข่ายปฎิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน จะเดินทางไปยื่นเอกสารโครงการฯให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้ ก่อนเริ่มการประชุม

ด้านนายมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเริ่มต้นโครงการใช้ระบบการประเมินความเสี่ยงแทนการใช้เงินประกันตัว มาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นำร่องใน 5 ศาล ได้แก่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดจันทบุรี และศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช

จนถึงขณะนี้มีผู้ได้รับการปล่อยตัวทั้งหมด 865 คน มีจำนวนผู้หลบหนีหรือไม่มาตามนัด 52 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 6 อีกทั้ง ได้มีการเตรียมจัดเช่ากำไลข้อเท้า หรือ Electronics Monitoring เพื่อใช้ร่วมกับการประเมินความเสี่ยง จำนวน 5,000 ชุด คาดจะเริ่มใช้ในเดือนมกราคมปีหน้า ใน 23 ศาล