ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - กูเกิลพัฒนารถไร้คนขับให้ลุยหิมะได้ - Short Clip
World Trend - ผู้ถูกรังแกในที่ทำงานเสี่ยงหัวใจวายกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - Searching ตอกย้ำความสำเร็จชาวเอเชียในฮอลลีวูด? - Short Clip
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - Fight Camp เปลี่ยนห้องให้เป็นยิมชกมวย - Short Clip
World Trend - ​'ผู้พิทักษ์ชื่อเสียง' บริการออนไลน์สุดฮอตของยุคนี้ ​- Short Clip
World Trend - ​'มลภาวะแสง' ทำลายพื้นที่ชีวภาพกว่าครึ่งโลก - Short Clip
World Trend - ​'หุ่นยนต์เล็ก' ตัวช่วยใหม่เกษตรกรอังกฤษ - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เล็งปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 - Short Clip
World Trend - ยอดขายหูฟังไร้สายจะแตะ 129 ล้าน ในปี 2020 - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - Nintendo Switch รุ่นใหม่ยังไม่มาในเร็วๆ นี้ - Short Clip
World Trend - 'ฟาร์มไก่มีจริยธรรม' เทรนด์บริโภคไข่ของวันนี้ - Short Clip
World trend - แอปเปิลประกาศใช้พลังงานสะอาด 100% - Short Clip
World Trend - เทสลาปิดโชว์รูมลดต้นทุน เดินหน้าขายออนไลน์ - Short Clip
World Trend - MIT คิดค้นเฮดเซตอ่านความคิด - Short Clip
World Trend - 'สลัดผักพร้อมกิน' มื้อด่วนฮิตในเกาหลีใต้ - Short Clip
World Trend - เกมใหม่ที่น่าสนใจจากงาน E3 ปีนี้ - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - หุ่นยนต์สำรวจจำลองการทำงานของฝูงมด - Short Clip
Jul 15, 2019 07:51

ปัจจุบันเทรนด์ของการพัฒนาหุ่นยนต์เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายพยายามพัฒนา ทั้งเพื่อช่วยมนุษย์ทำงาน ลดขั้นตอนการทำงานบางอย่าง ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้ก็มักจะมาในรูปแบบฮิวแมนนอยด์ หรือ หุ่นยนต์รูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่ว่าวันนี้ที่เราจะมาพูดถึงกัน เป็นหุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือมนุษย์เช่นกัน แต่ช่วยสำรวจภูมิประเทศ และเป็นหุ่นยนต์ตัวจิ๋วมาก จำลองการทำงานของฝูงมด เพื่อเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้ 

ปัจจุบันเราจะเห็นเทรนด์ของการพัฒนาหุ่นยนต์ หรือใช้งานหุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลืองานของมนุษย์มากขึ้น เช่น แนวคิดการพัฒนาหุ่นยนต์ Atlas หรือ Spot จากค่าย Boston Dynamic ที่จะมีลักษณะเป็นฮิวแมนนอยด์ คือ มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ และมีอวัยวะต่าง ๆ คล้ายกัน ซึ่งก็เป็นต้นแบบของการพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นอื่น ๆ ต่อมา แต่ในบางงานที่ต้องการการเข้าถึงที่มากขึ้น เช่น งานสำรวจ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อาจใช้งานไม่ได้ดี เนื่องจากอุปสรรคเรื่องขนาด ดังนั้นตอนนี้จึงมีการทดลองคิดหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็ก และทำงานเป็นทีม เพื่อให้เข้าถึงการสำรวจได้มากขึ้น ซึ่งหุ่นยนต์ที่ว่านี้มีชื่อว่า Tribots

หุ่นยนต์ Tribots เป็นหุ่นยนต์ที่เราอาจไม่ค่อยได้พบเห็นลักษณะนี้บ่อยมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเห็นเป็นหุ่นตัวเดียว แต่หุ่น Tirbots นี้ สร้างขึ้นจำลองการทำงานของ 'มด' นั่นคือ สามารถทำงานเป็นทีมและเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ด้วยการร่วมมือกัน 

หุ่นยนต์ Tribots นี้พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน หรือ EPFL ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ออกมาเป็นหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เรียบง่าย ลักษณะคล้ายมด แต่ความเป็นจริงจะเคลื่อนไหวคล้ายหนอน สามารถพลิกตัวเองไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้ มีรูปร่างและส่วนประกอบต่าง ๆ คล้ายมด สามารถสลับวิธีการเคลื่อนที่ทั้งการคลานและการกระโดดได้ และมีระบบควบคุมจากระยะไกล 

วิธีการทำงานของหุ่นยนต์มดเหล่านี้ จะทำงานพร้อมกันเป็นทีม และแบ่งหน้าที่กัน โดยจะมีตัวหนึ่งเป็นผู้นำ และตัวอื่นเป็นนักปฏิบัติงาน หน้าที่หลักคือการสำรวจภูมิประเทศที่ซับซ้อน โดยเดินไปข้างหน้าตรวจจับสิ่งกีดขวาง และถ่ายทอดสิ่งที่พบเห็นไปยังระบบและแชร์กับตัวอื่นในทีม จากนั้นผู้นำสามารถมอบหมายให้ตัวใดตัวหนึ่งของทีมผลักสิ่งกีดขวางให้พ้นทาง หากทำไม่ได้จะสั่งการให้อีกตัวลองกระโดดข้าม ซึ่งถ้าหากทำได้จะส่งข้อมูลนี้ไปยังตัวอื่น ๆ ในทีมให้ทำตาม และผ่านอุปสรรคไปพร้อมกัน 

จริง ๆ แล้ว ลักษณะแนวคิดดูค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน แต่นี่เป็นแนวทางที่สำคัญทำให้นักสำรวจเห็นพื้นที่โดยรอบได้มากขึ้น และได้พัฒนาประสบการณ์ของหุ่นยนต์แต่ละตัวไปพร้อมกัน รวมถึงพัฒนาแนวทางในการปรับตัวเพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลการแก้ปัญหาในอนาคตได้อีกด้วย

บอตขนาดเล็กแต่ละตัวเหล่านี้ มีน้ำหนักเพียงแค่ 10 กรัมเท่านั้น

ข้อดีอีกหนึ่งอย่างคือสามารถผลิตได้ง่ายเนื่องจากทำจาก PCB ที่เราพบเห็นในหม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบกับแขนกลเล็ก ๆ ทำให้ต้นทุนไม่แพงมาก และนักสำรวจสามารถเอาไปวางในพื้นที่ที่ต้องการได้หลายพื้นที่และใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงในการเก็บข้อมูลสำรวจ

นอกจากนั้น อีกจุดแข็งของหุ่นยนต์ที่รวมกันเป็นฝูงแบบนี้ คือ เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น หุ่นยนต์จะไม่เสียหายแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะจะมีตัวสำรองเข้ามาทำหน้าที่แทนได้ และเปลี่ยนได้ง่ายเมือนกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ไม่ได้เสียหายทั้งตัว

ด้าน เจมี แพ็ก ผู้เชี่ยวชาญจาก EPFL และเป็นผู้ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ตัวนี้ กล่าวว่า เนื่องจาก Tribots เหล่านี้สามารถผลิตได้ง่าย เราสามารถผลิตจำนวนมากได้ ดังนั้นการบาดเจ็บล้มตายของหุ่นยนต์จึงไม่กระทบต่อความสำเร็จของภารกิจ และด้วยการเรียนรู้ของระบบหุ่นยนต์นี้เป็นการเก็บข้อมูลรวมกันหลายตัวในคราวเดียว ดังนั้นจึงทำให้เรามีฐานข้อมูลมาก และเรียนรู้ที่จะพบวิธีการปรับตัวที่เร็วขึ้นแม้จะเป็นสภาพแวดลล้อมที่ไม่รู้จัก ดังนั้นถ้ามองในมุมนี้พวกเขาอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่าหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ 

ทั้งนี้ หุ่นยนต์ชนิดนี้ยังอยู่ในช่วงพัฒนาต้นแบบ แต่ก็ถือเป็นความสำเร็จและความก้าวหน้าอย่างมากในการคิดค้นหุ่นยนต์ประเภทรวมทีม และในอนาคตเราอาจเห็นหุ่นยนต์ประเภทนี้มากขึ้น เพราะความจริงแล้ว การพัฒนาหุ่นยนต์ให้ดี ไม่ใช่แค่ใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ แต่เป็นการเรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาที่มากขึ้น และสามารถพัฒนาขึ้นได้เรื่อย ๆ เพื่อตอบสนองงานที่เราต้องการหุ่นยนต์มาช่วยแบ่งเบาภาระในอนาคตได้มากขึ้น 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog