ไม่พบผลการค้นหา
กต.ปฏิเสธไทยติดอันดับประเทศอันตรายสุดในโลก
คนไทยให้ความสำคัญเรื่องเสื้อผ้าสูงสุดระหว่างท่องเที่ยว
Biz Feed - ปี 2017 ชาวฟิลิปปินส์ส่งเงินกลับประเทศมากที่สุด - Short Clip
ไทยตามหลังมาเลเซีย-เวียดนามในดัชนีนวัตกรรมโลก
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
ควีนอังกฤษได้ขึ้นเงินปี 8% 
ไทยติดกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเยือนญี่ปุ่น
แรงงานต่างชาติในไทยคุณสมบัติสูงเกินตำแหน่ง
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
ไทยติดโผประเทศเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมุสลิม
ไทยยืดเวลาวีซ่าเพื่อการรักษาพยาบาล
ไทยพร้อมหรือไม่ในยุคหุ่นยนต์ครองเมือง?
Biz Feed - มอเตอร์เอ็กซ์โป2017 ส่งท้ายปี คาดเงินสะพัด50,000ล้าน - Short Clip
จุฬาฯ-มหิดล คะแนนดีขึ้นในการจัดอันดับ ม.โลก
Biz Feed - ธุรกิจมืดหันใช้สกุลเงินดิจิทัลอื่นแทนบิทคอยน์ - FULL EP.
Biz Feed - ไทยยกระดับภาษาอังกฤษ จาก 'ต่ำมาก' เป็น 'ต่ำ' - SHORT CLIP
Biz Feed - โฆษณาเหยียดผิวสะท้อน H&M ปรับตัวเข้ายุคดิจิทัลไม่ได้ - Short Clip
Biz Feed - บิทคอยน์ร่วงเพราะรัฐบาลในเอเชีย? - Short Clip
เมียนมาฝันสลาย นักท่องเที่ยวไม่ถึงเป้า
นโยบายทรัมป์ทำธุรกิจการบิน-ท่องเที่ยวแย่ลง
 นิตยสารไทยยังทรุดหนัก ล่าสุด  Filmax  ประกาศปิดตัว
Sep 22, 2017 13:06

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิตัลที่รวดเร็วก็ส่งผลกระทบกับธุรกิจสื่อ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หรือภาพยนตร์ แต่ว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด ก็คือสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งนิตยสารหลายๆเล่มก็ไม่สามารถแบกรับต้นทุนอีกต่อไปได้จนต้องประกาศปิดตัวไปแล้วหลายสิบเล่ม ล่าสุดนิตยสาร Filmax ซึ่งเป็นนิตยสารภาพยนตร์ต่างประเทศที่อยู่คู่นักดูหนังชาวไทยมานาน 10 ปี ก็ประกาศอำลาแผงแล้ว


แม้ข้อมูลจากสมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย จะชี้ว่าเม็ดเงินของอุตสาหกรรมโฆษณาปี 2017 จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอย่างน้อย 10% จาก 1.2 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ 1.33 แสนล้านบาท แต่ท่ามกลางการเติบโต กลับพบว่ามูลค่าโฆษณาในสื่อนิตยสารและหนังสือพิมพ์จะลดลง โดยคำนวนว่าในปีนี้ เม็ดเงินโฆษณาในนิตยสารจะติดลบกว่าปีที่แล้ว 20% ส่วนหนังสือพิมพ์ติดลบ 22% ซึ่งสาเหตุก็มาจากสื่อโซเชียลที่เข้ามาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ สามารถนำเสนอเนื้อหาที่สดใหม่ถึงมือผู้อ่านได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนน้อยกว่ามาก ขณะที่นิตยสารและหนังสือพิมพ์ต้องรอเวลาตีพิมพ์ และยังมีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์และส่งไปตามแผงหนังสือทั่วประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ (ค่ากระดาษและน้ำมัน) ซึ่งก็ไม่ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ต้องการความรวดเร็วและต้องการประหยัด

นอกจากจะขายนิตยสารไม่ได้แล้ว เม็ดเงินโฆษณาที่เป็นรายได้หลักของนิตยสารแต่ละเล่มก็ก็ลดลงจนแทบไม่เหลือ เนื่องจากเมื่อนิตยสารมีคนอ่านน้อยลง เจ้าของสินค้าก็ไม่อยากเอาโฆษณามาลง และหันไปลงโฆษณากับสื่อออนไลน์แทน เพราะสามารถส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า ทำให้นิตยสารแต่ละเล่มประสบกับภาวะขาดทุน จนปีที่แล้วต้องปิดตัวลงไปกว่า 20 เล่ม ขณะที่เล่มอื่นๆก็ต้องลดต้นทุน ทั้งลดพนักงาน ปรับลดจำนวนหน้า และลดความถี่ในการตีพิมพ์อย่างเช่น เปลี่ยนจากรายปักษ์เป็นรายเดือน

ล่าสุดนิตยสาร Filmax ซึ่งเป็นนิตยสารภาพยนตร์ต่างประเทศที่อยู่คู่นักดูหนังชาวไทยมานาน10 ปี ก็ประกาศอำลาแผงหนังสือเป็นอย่างทางการไปอีกเล่มหนึ่ง โดยได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการผ่านเพจเฟซบุ๊กว่านิตยสาร Filmax ฉบับที่ 122 ที่วางแผนในเดือนสิงหาคมจะเป็นเล่มสุดท้ายที่วางแผงแล้ว ซึ่งสาเหตุก็เพราะการเปลี่ยนแปลงของตลาดสื่อสิ่งพิมพ์ที่เม็ดเงินโฆษณาย้ายไปอยู่กับสื่อออนไลน์ โดยเพิ่มข้อสังเกตว่าจุดเปลี่ยนที่สำคัญน่าจะมาจากการลงโฆษณาในเฟซบุ๊ก ที่สามารถแสดงยอดไลก์ ยอดคนดู และยอดผู้ติดตาม ซึ่งตัวเลขที่ดูแน่นอนเหล่านี้อาจดึงความสนใจของเอเจนซีในการตัดสินใจลงโฆษณาได้มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์

คุณอลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว บรรณาธิการบริหารของนิตยสาร Filmax ยังเปิดเผยว่าจำนวนแผงหนังสือที่ปิดตัวจนแทบไม่เหลือก็ทำให้นิตสาร Filmax ต้องลดยอดการพิมพ์ตามไปด้วย ทำให้ยอดขายลดน้อยตาม แม้ว่าผู้ติดตามอ่านนิตยสารยังมีจำนวนเท่าเดิม

การปิดตัวของนิตยสาร Filmax ทำให้ปัจจุบันเหลือนิตยสารภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยเพียงสามหัว ได้แก่ Starpics ซึ่งเป็นนิตยสารภาพยนตร์รายเดือนที่เก่าแก่ที่สุดในไทย และปีนี้จะมีอายุครบ 52 ปี, นิตยสารรายปักษ์ Entertain ที่วางแผงต่อเนื่องมานาน 35 ปี และนิตยสาร Bioscope ซึ่งวางแผงมาแล้ว 17 ปี

คุณอลงกรณ์กล่าวทิ้งท้ายว่าถึงแม้นิตยสารได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อยๆ แต่ก็เชื่อว่านิตยสารยังมีความจำเป็นอยู่ แม้เนื้อหาหลายๆอย่างสามารถอ่านออนไลน์ได้ หากต้องการความรวดเร็ว แต่ว่าเนื้อหาที่เป็นสกูปหรือบทวิเคราะห์ที่ต้องใช้สมาธิในการอ่าน ก็ควรอ่านในรูปแบบสิ่งพิมพ์มากกว่า อย่างไรก็ตาม การปรับตัวไปเป็นสื่อออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งน่าจะเป็นงานหนักสำหรับผู้บริหารและฝ่ายเซลล์
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog