ไม่พบผลการค้นหา
เด็กมือบวมทำเลขหมื่นหกพันข้อ
ไม่มีใครอยากให้ลูกโตไปแล้วจน
เหงาอันตรายกว่าอ้วน
คนทำดี ไยวิจารณ์?
ทำความรู้จักสรรพลี้หวน
โกงมากทำบุญมาก
หมดยุคล่าเมืองขึ้น ถึงยุคพัฒนาคุณภาพชีวิต
โอเพ่นดาต้าในแง่ศิลปวัฒนธรรม
The Daily Dose - สหรัฐฯ ยุคก่อนเลิกทาส นายทาสไม่ได้มีแค่คนขาว แต่คนดำบางส่วนก็มีทาสเช่นกัน - Short Clip
ทวนบันทึกแถลงสุดท้ายของยิ่งลักษณ์
Amazon เปิดซูเปอร์มาร์เก็ตไร้คนขาย
ปชป.พร้อมลุยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
จำอะไรได้บ้างกับรัฐประหาร 19 กันยายน
ตัวอย่าง ดิจิทัลนอแมด
จำนำข้าวคืออะไรในเชิงนโยบาย
การเมืองที่หายไปในแต่ละก้าวของตูน
โกงเพราะชั่วหรือโกงเพราะวัฒนธรรมอำนวย
นักเขียนออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับศิลปินเหยียดเพศ
เมื่อไทยเบฟฯ ซื้อ KFC
ขอทานที่น่าสงสาร คนไร้บ้านที่น่ากลัว
ชุดนิสิตกับเซ็กซี่บอย
Aug 29, 2017 13:42

เมื่อเพจ KU SEXY BOY ได้จัดตั้งกิจกรรม "PROUD TO BE KU" มีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ให้นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แสดงออกถึงความภาคภูมิใจในความเป็นนิสิตของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับความร่วมมือจากตัวแทนนิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกคณะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

แต่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียล กับคำพูดของนักศึกษาบางคนที่ร่วมกิจกรรมกับเพจครั้งนี้ โดยใช้ชุดนิสิตนักศึกษาเป็นสัญญาลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจที่ได้มาเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตัวอย่างเช่น

“ชุดนิสิต เป็นแรงบันดาลใจหนึ่ง ในการเข้ามาเรียนที่เกษตรศาสตร์"
“เป็นเกษตรอย่ากลัวเลอะ เป็นนิสิตก็อย่าอายที่จะใส่ชุดนิสิต"
“เครื่องแบบนิสิตให้ความหมาย และคุณค่าในตัวของมันเองอยู่แล้ว"
“การแต่งชุดนิสิต เป็นการให้ความเคารพสถานที่ที่เราเรียน"
“ชุดนิสิต ช่วยให้เราดูเท่ได้”
“ชุดนิสิตสำหรับผมนั้น มีคุณค่ามากกว่าเป็นแค่เครื่องแบบ”


แต่ ‘มิเชล ฟูโกต์’ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส นักคิดสายหลังโครงสร้างนิยม เคยบอกไว้ว่า “เครื่องแบบทำหน้าที่เหมือนคุก เครื่องแบบทำหน้าที่เหมือนโรงพยาบาลจิตเวช คุกและโรงพยาบาลจิตเวชต่างทำหน้าที่ควบคุม สร้างระเบียบวินัย บังคับให้คนทำตามกฎเกณฑ์ในอำนาจสังคมนั้นต้องการให้เป็น" 

ถ้าเอาหลักความคิดของ ‘มิเชล ฟูโกต์’ ไปใช้กับคำพูดของนักศึกษาในเพจ ‘KU Sexy Boy’ ก็จะแปลว่า พวกเขาต่างภูมิใจที่ได้เป็นนักโทษของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 ‘มิเชล ฟูโกต์’ ได้ทำการสาธิตให้เราเห็นว่า สถาบันทางสังคมสมัยใหม่ อย่างเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน และคุก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมแห่งระเบียบวินัย อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อการเข้าไปจัดการและสร้างกฎเกณฑ์ควบคุมกำกับปัจเจกบุคคล ที่เป็นความปรารถนาลึกๆ ของรัฐ หรือผู้ได้เปรียบทางสังคมที่แปรสภาพให้ ‘พลเมือง’ กลายมาเป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่ต้องเข้ามาจัดการ หรือดึงเอาประโยชน์ออกมาให้มากที่สุด

‘อำนาจ’ ในความหมายของฟูโกต์ จึงไม่ใช่แค่อำนาจในเชิงกดขี่ เหมือนเช่น อำนาจที่แสดงออกในสังคมแบบองค์อธิปัตย์ แต่ทว่าเป็นไปในลักษณะของการเข้าไปควบคุม ผ่านกระบวนการสร้างบรรทัดฐาน ค่านิยมทางสังคม โดยสังคมแห่งระเบียบวินัยมีเครื่องมือที่เรียกว่า ‘การฝึกฝน’ ที่ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันของเรา ดังจะเห็นได้ว่า หลังจากที่เราผ่านพ้นสถาบันทางสังคมต่างๆ ไปแล้ว สิ่งที่ติดตัวเราไปในทุกที่ก็คือ ‘อำนาจในระดับจุลฟิสิคส์’ ที่ทำหน้าที่ควบคุม-กำหนดแม้กระทั่งรายละเอียดของการแสดงออก"

Source: 
https://www.facebook.com/pg/kusexyboy/photos/?tab=album&album_id=1529799827101675   
https://en.wikipedia.org/wiki/Panopticon 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog