ไม่พบผลการค้นหา
ธุรกิจห้องพักชั่วคราวในสนามบินเริ่มตั้งหลักแม้รายได้น้อย
ญี่ปุ่นเปิดบริการรถไฟสุดหรู ตั๋วแพงสุดเกือบ 4 แสนบาท
CLIP Biz Feed : จ่าย 2 ล้านได้อยู่ไทยแบบอภิสิทธิ์ชน 20 ปี
ชอปปิงออนไลน์ติด 5 อันดับแรกการใช้เน็ตในไทย
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
แอพฯแชร์จักรยานจีนให้บริการใน มธ.แล้ว
หนูน้อยวัย 10 ขวบคว้าเเชมป์ นักพากย์เรือยาวรุ่นจิ๋ว ปีที่ 4
สวนสยาม ชะลอเปิดเครื่องเล่นใหม่
หัวเหว่ยตั้งเป้าขึ้นอันดับ2ในไทย หลังยอดขายเพิ่ม 8 เท่า
'Britney Spears' เปิดคอนเสิร์ตครั้งแรกในไทย คืนนี้! 
นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องทำประกันก่อนเข้าไทย
ศาลสูงตัดสินแรงงานพม่าชนะคดีฟาร์มไก่ไม่จ่ายค่าจ้าง
Biz Feed - ไทยรั้งอันดับ 15 'แหล่งฟอกเงิน-เลี่ยงภาษี' - Short Clip
World Trend - ​'เซนเซอร์เวก' นาฬิกาปลุกกลิ่นเวอร์ชันล่าสุด - Short Clip
Biz Feed - จีนให้วีซาฟรี 10 ปี กับชาวต่างชาติฝีมือสูง - Short Clip
มาสด้า ลดราคาขายทุกรุ่นไตรมาส 4 ปีนี้
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
สินค้าหรูทั่วโลกปรับตัวเอาใจลูกค้าจีน
ทำไมต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำ 700 บาท
World Trend - เกาหลีเตรียมเปิดเทศกาล 'เที่ยวนอนวัด' - Short Clip
ไทยเป็นสถานที่แต่งงานที่สะดวกของชาวมุสลิมต่างชาติ
Jul 26, 2017 13:02

ประเทศไทยกำลังเป็นสถานที่จัดงานแต่งงานยอดนิยมของชาวมุสลิมต่างชาติ โดยเฉพาะกับชาวมาเลเซียที่อยู่ใกล้กับไทย เนื่องจากว่าไทยมีกฎหมายควบคุมการแต่งงานสำหรับชาวมุสลิมที่เข้มงวดน้อยกว่าในประเทศของตัวเอง

คู่รักชาวมุสลิมจำนวนมากที่ต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการจัดพิธีแต่งงาน หันมาจัดพิธีแต่งงานในไทย ก่อนที่จะกลับไปจดทะเบียนในประเทศของตัวเอง เนื่องจากว่าการจัดพิธีแต่งงานในประเทศของตนเองมีเงื่อนไขและกฎข้อบังคับหลายอย่าง คู่รักที่ต้องการหลีกหนีปัญหายุ่งยากเหล่านี้ จึงเลือกที่จะมาจัดงานแต่งงานในไทยที่มีความเข้มงวดน้อยกว่า โดยเฉพาะชาวมาเลเซียที่อยู่ติดกับภาคใต้ของไทย ซึ่งข้อมูลจากสถานกงสุลมาเลเซียประจำจังหวัดสงขลาระบุว่า เมื่อปี 2014 มีชาวมาเลเซียจัดพิธีแต่งงานในภาคใต้ของไทย 3,831 คน โดยเฉลี่ยแล้ว มีชาวมาเลเซียจัดพิธีแต่งงานในไทยประมาณวันละ 15-20 คน


บริษัทที่รับจัดพิธีแต่งงานของชาวมุสลิมอธิบายว่าผู้ที่เดินทางมาจัดพิธีแต่งงานในไทยส่วนมากจะเป็นชายมุสลิมที่แต่งงานกับภรรยาคนที่ 2 หรือคนที่ 3 ซึ่งยังไม่ได้รับการยินยอมอย่างเป็นทางการจากภรรยาคนแรก หรือไม่ก็เป็นคู่รักหนุ่มสาว ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้แต่งงานจากพ่อแม่ โดยคู่รักกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นนักศึกษา ซึ่งตามกฎหมายของมาเลเซียแล้วหากยังไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยาคนแรก หรือจากพ่อแม่ของคู่บ่าวสาว ก็จะยังไม่สามารถประกอบพิธีแต่งงานได้ ประเทศไทยซึ่งไม่มีการบังคับใช้กฎของศาสนาอิสลามในการจัดพิธีแต่งงานจึงเป็นทางออกสำหรับคู่รักกลุ่มนี้ 

แม้ตามหลักชารีอะของศาสนาอิสลาม ระบุว่าผู้ชายสามารถมีภรรยาได้ 4 คน แต่ว่ากฎข้อบังคับก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ หรือแต่ละรัฐ บางแห่งผู้ชายจะแต่งงานกับภรรยาคนต่อไปได้ ต้องได้รับการยินยอมจากภรรยาคนแรก และคำอนุญาตจากศาล แต่บางแห่งก็ไม่จำเป็น

การจัดพิธีแต่งงานของศาสนาอิสลามจะสมบูรณ์ได้ ต้องมีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ เจ้าบ่าว, เจ้าสาว, ผู้ปกครอง, พยานสองคน และคำสาบาน ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็จะเป็นพ่อแม่ของเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว แต่ว่าหากจัดพิธีแต่งงานในประเทศไทยก็จะมีการจัดหาคนที่มารับหน้าที่เป็นผู้ปกครองในงานแต่งได้ 

หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปรายงานตัวกับสถานกงสุลมาเลเซียในไทยเพื่อรับจดหมายรับรองว่าทั้งคู่ได้ผ่านพิธีการแต่งงานที่ถูกต้องแล้ว ซึ่งจดหมายรับรองนี้มีความสำคัญมาก หากทั้ง 2 ฝ่ายต้องการจดทะเบียนสมรสในมาเลเซีย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของมาเลเซีย 

การจัดพิธีแต่งงานในภาคใต้ของไทยสำหรับชาวมุสลิม มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท ซึ่งรวมค่าจัดพิธี, ค่าเดินทาง, ค่าโรงแรม 1 คืน และค่าธรรมเนียม
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog