ไม่พบผลการค้นหา
“จ่ายครบ จบแน่” ธุรกิจผลิตปัญญาชน ?
ทุกข์ของคนเห็น'ปู'ช่วยชาวนา - เล่นหนังโป๊เพื่อรักหรือเพื่อรบ
“ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์” 1 ใน 11 มาตรการแก้น้ำท่วม
นโยบายการต่างประเทศในมือ “สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล”
2 ตัวช่วยบิ๊กแบ๊กทางการเมือง ลดโอกาส“อุทกรัฐประหาร – วารีภิวัฒน์”
ไทยมีตบบ้องหูในร.ร. เกาหลีเหนือมีห้ามประชดท่านผู้นำ
แฟชั่นกับผู้นำหญิง
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา ตอนที่ 2
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
'อภิสิทธิ์' เกี่ยว 'ยิ่งลักษณ์' ขาย อดีตนายกฯ กับการช่วยชาวนา
“พล.อ.สนธิ” ปธ.กมธ.ปรองดอง...ลับ ลวง พราง ?
ธุรกิจบริหารจัดหาคู่
ทำอย่างไรให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา
บริหารธุรกิจรับการเปลี่ยนแปลง
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
“จิบกาแฟ กลางแดดเช้า” กับนักเขียนซีไรท์และนักวิจารณ์
เจาะงานวิจัยชีวิตไม่สำเร็จรูป อยู่อย่างไร้บ้านแต่ใจไม่ไร้บ้าน
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา
'ความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในศก.สมัยใหม่'ทักษิณ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร “ไม่คิดแก้แค้น แต่จะแก้ไข”
นายกฯใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า “ปู” สะท้อนการเปลี่ยนแปลง ?
Aug 30, 2011 14:19

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 30 สิงหาคม2554

 

ชัยชนะในการเลือกตั้งของเพื่อไทย พร้อมการก้าวสู่เส้นทางการเมือง ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยที่ผู้คนทั่วไปรู้จักเธอในชื่อ“ปู”

 

ปัญหาการใช้ "สรรพนามบุรุษที่ 1" แทนตัวเองว่า "ปู"ของนายกรัฐมนตรี ถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม    เมื่อ คุณสุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล ผอ.สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา ให้ทัศนะว่า  "น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ คนแรกและคนเดียวที่เรียกตัวเองด้วยชื่อเล่น มันสะท้อนว่ายังไม่แยกแยะระหว่าง "การเป็นนายกฯ" กับ "การเป็นปู" มันต่างกันอย่างไร  ตนคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ เมื่อถึงวันหนึ่งเราอาจมีนวัตกรรมใหม่ คือมีนายกฯ เรียกชื่อเล่นตัวเองในการพูดกับแขกบ้านแขกเมืองซึ่งก็ดี แต่กังวลว่าการไม่แยกแยะแบบนี้จะเป็นการไม่แยกแยะในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยหรือเปล่า อันนี้ตั้งคำถามไว้เล่นๆ วันหนึ่งคุณปูต้องแยกแยะ "ความเป็นปู" กับ "ความเป็นนายกฯ" ให้ได้"

 

ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล   เขียนในจดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ถึงความสำคัญของคำสรรพนามในภาษาไทยว่า เป็นสิ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมไทยและลึกซึ้งละเอียดอ่อนมากกว่าคำสรรพนามในภาษาอื่น ๆ

 

ส่วนมุมมองของ คุณลักขณา  ปันวิชัย (คำ ผกา) คอลัมนิสต์ชื่อดัง มองว่าความไม่เท่าเทียมที่มาพร้อมกับภาษา แฝงการแบ่งชนชั้น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพราะฐานทางวัฒนธรรม ฐานความสัมพันธ์ที่สร้าง ผู้หญิงให้อยู่ภายใต้อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ 

 

ในเรื่องสรรพนามที่จะเรียกแทนตัวเอง ซึ่ง ผู้หญิงไทยจะมีคำสรรพนามให้เลือกใช้จำกัดกว่าผู้ชาย ที่ใช้คำว่า “ผม”คำเดียว ก็สามารถใช้ได้เกือบทุกสถานการณ์ ขณะที่ผู้หญิงถ้าจะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า “ฉัน”หรือ “ดิฉัน”  เฉพาะกรณีที่เป็นการพูดคุยอย่างเป็นทางการเท่านั้น และไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน    

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog