ไม่พบผลการค้นหา
ครม.เผยมติรับทราบ สปน.เสนอผลงานโครงการจิตอาสาพระราชทาน ตลอด ก.ค.-ก.ย. 65 มีสมัครจิตอาสาพระราชทานกว่า 6.9 ล้านคน มีกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา 19,152 ครั้ง ขณะที่เม็ดเงินงบประมาณใน พ.ร.บ.งบฯปี 66 ตั้งงบฯรายจ่ายและดำเนินงานจิตอาสา 3 หน่วยงาน รวมกว่า 14 ล้านบาท

จากกรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 รับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือน ก.ค.-ก.ย. 2565 เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2561 ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน (รายละเอียด รายงานผลดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ลงวันที่ 3 พ.ย. 2565 )

โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้

1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2565 โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 6,977,577 คน จำแนกได้ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร 457,466 คน และส่วนภูมิภาค 6,520,111 คน แบ่งออกเป็น เพศชาย 3,129,765 คน และเพศหญิง 3,847,812 คน

2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ 16 หน่วยงาน รวม 19,949 กิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1,144,667คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้

1) จิตอาสาพัฒนา ดำเนินกิจกรรม 19,152 ครั้ง ได้แก่ 

(1) ปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน สถานที่ราชการ และบริเวณโดยรอบ (2) อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน (3) บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม (4) บริจาคโลหิต และหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ (5) ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (การคัดกรองเชิงรุก การพ่นยาฆ่าเชื้อ และการฉีดวัคซีน) (6) มอบสิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ และผู้ป่วยติดเตียง (7) ปลูกต้นไม้ และพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลอง ฉีดจุลินทรีย์ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และกำจัดวัชพืช) และ (8) จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและวิชาชีพ 

มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

2) จิตอาสาภัยพิบัติ มีกิจกรรม 473 ครั้ง ได้แก่ (1) ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย (มอบถุงยังชีพ บริจาคสิ่งของ แจกจ่ายน้ำ และซ่อมแซมบ้านเรือน) และ (2) อบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยมีส่วนราชการดำเนินการคือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

3) จิตอาสาเฉพาะกิจ ดำเนินกิจกรรม 35 ครั้ง ได้แก่ (1) อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ (2) จัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญและ (3) บริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล มีส่วนราชการดำเนินการคือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแแห่งชาติ และกรมประชาสัมพันธ์

4) วิทยากรจิตอาสา 904 มีกิจกรรม 289 ครั้ง โดยเป็นการบรรยายความรู้ ได้แก่ (1) หลักสูตรจิตอาสา (2) สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย และ (3) โครงการจิตอาสาพระราชทานตามพระราชดำริ 

จิตอาสา กฟน.

ขณะเดียวกันสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียังได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) โดยการลงพื้นที่และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทานพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 11 ครั้ง 

รวมทั้ง ลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทาน จำนวน 2 โครงการ 

จัดกิจกรรมและสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสา จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่

(1) กิจกรรมการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) จำนวน 6 ครั้ง ผู้เข้าร่วม 493 คน

(2) กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน โดยทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ณ ชุมชนซอยสุขสวัสดิ์ 60 กรุงเทพมหานคร และใจฟ้าฟาร์ม (วัดพระบาทน้ำพุ) จังหวัดลพบุรี มีผู้เข้าร่วม 250 คน

และ (3) กิจกรรมจิตอาสาสร้างการรับรู้เพื่อพัฒนารักษาภูมิทัศน์คลองเปรมประชากร ณ โรงเรียนวัดรังสิต จังหวัดปทุมธานี มีผู้เข้าร่วม 40 คน

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียังเชิญชวนหน่วยงานดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 ส.ค. 2565 จำนวน 14 หน่วยงาน

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียังรายงานว่าจะประสานการดำเนินการในการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน สังคมและประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่องต่อไป  

ประยุทธ์ จิตอาสา สถานสงเคราะห์เด็กชาย

ทั้งนี้ โครงการจิตอาสาพระราชทาน เกิดขึ้นด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์ร่วมกันจัดโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุคณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุุขของประชาชน โดยหน่วยราชการในพระองค์เป็นผู้กำกับดููแลปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานท้ังภาครัฐและเอกชน และให้จัดตั้งศูนย์อำนวยกรใหญ่จิตอาสาพระราชทาน มีหน้าที่ควบคุมอำนวยการและประสานการปฏิบัติ เพื่อให้การจัดกิรรมโครงการจิตอาสาพระราชทานเป็นไปตามพระราโชบายและสมพระเกียรติ

กองกิจการในพระองค์ 904 จึงขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายผู้แทนของรัฐบาลเพื่อร่วมปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน

นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 156/2563 ลงวันที่ 9 มิ.ย. 2563 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชน โดยมีผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสารพระราชทานเป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการร่วมเป็นกรรม และปลัดสำนักนายกฯ เป็นกรรมการและเลขานุการ

ประยุทธ์ จิตอาสา 80726073553.jpgสถาบัน ในหลวง จิตอาสา ไฟไหม้ สำเพ็ง  -E017-48BD-96E4-FB5D88BEE9CD.jpeg

ต่อมานายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกฯ ที่ 122/2564 ลงวันที่ 24 พ.ค. 2564 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชน โดยมีผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานเป็นที่ปรึกษา ปลัดสำนักนายกฯ เป็นประธานกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการเป็นกรรมการ รองปลัดสำนักนายกฯกรรมการและเลขานุการ และรองปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็ฯกรรมการและเลขานุการร่วม 

เว็บไซต์โครงสร้างจิตอาสา ได้รายงานงานโครงการจิตอาสาพระราชทาน มีโครงสร้างและการบริหารจัดการ มีภารกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนรวมทั้งการป้องกัน บรรเทา และช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติ เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ประชาชนมีสุข ตามแนวทางโครงการจิตอาสาพระราชทาน ตลอดจนกิจการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ผอ.ศอญ.จอส.904) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ                                           

โดยมีหน้าที่สำคัญ คือ ติดตามและส่งเสริมตลอดจนให้การสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนในการพัฒนาประเทศ ตามโครงการจิตอาสาพระราชทาน  

วางแผน ดำเนินการ และประสานงาน ในการป้องกัน บรรเทา และช่วยเหลือประชาชน จากภัยพิบัติ รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่จากสภาพภัยพิบัติ ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาขีดความสามารถของจิตอาสาและผู้ที่เข้าร่วมโครงการจิตอาสาพระราชทาน และจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม

จิตอาสา กฟน.จิตอาสากวาดขยะ_2106กก21_0.jpg
  • ส่องงบฯ 3 หน่วยงานตั้งงบฯ จิตอาสากว่า 14 ล้านบาท

เม็ดเงินงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับโครงการจิตอาสาพระราชทานนั้น ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้เผยแพร่รายละเอียดในส่วนงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับโครงการจิตอาสา

สำนักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่าย 792,039,400 บาท มีพันธกิจ ในการเทิดทูนสถาบันหลักและส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ การขับเคลือ่นนโยบายรัฐและติดตามตรจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริการประชาชน

โดยมีแผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ วงเงิน 102,849,100 บาท ตามโครงการเสริมสร้างความมั่นคงในการเทิดทูนสถาบันหลักและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ วงเงิน 102,849,100 บาท แบ่งเป็นงบดำเนินงาน 7,184,200 บาท ซึ่งเปป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ 6,709,200 บาท ค่าสาธารณูปโภค 475,000 บาท

ขณะที่งบรายจ่ายอื่น ตั้งงบฯ วงเงิน 95,664,900 บาท แบ่งเป็น 

1.ค่าใช้จ่ายในการเสริมสรางเอกลักษณ์ของชาติและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ปลูกไทยในแบบพ่อ 2,068,400 บาท 

2.ค่าใช้จ่ายในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติและเทิดทูนสถาบัน 90,000,000 บาท

3.ค่าใช้จ่ายในการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคค และสำนึกความเป็นไทย 1,500,000 บาท 

4.ค่าใช้จ่ายสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสาภาครัฐ 2,095,500 บาท

งบ66 จิตอาสาสำนักนายก cats.jpg

กระทรวงกลาโหม มีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ตั้งวงเงินไว้ 194,498,728,200 บาท มีพันธกิจคือ พิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การปฏิบัติการทางทหารเพื่อรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ สนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อบและความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

มีโครงการพิทักษ์รักษา การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และการปฏิบัติพระราชประสงค์ เป็นวงเงิน 17,753,200 บาท

กองทัพเรือ มีงบประมาณรายจ่าย ปี 2566 วงเงิน 40,066,963,000 บาท โดยมีโครงการพิทักษ์รักษา การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และการปฏิบัติตามพระราชประสงค์ วงเงิน 45,497,300 บาท เป็นงบรายจ่ายอื่น แบ่งเป็น

1.ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ตามพระราชประสงค์ 25,012,200 บาท

2.ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ 3,500,000 บาท

3.ค่าใช้จ่ายการถวายความปลอดภัย 4,866,300 บาท

4.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ 12,118,800 บาท

งบ66 กองทัพเรือ จิตอาสาcats.jpg

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 วงเงิน 116,292,339,500 บาท มีโครงการพระราชดำริและเฉลิมพระเกียรติ วงเงิน 661,443,200 บาท เป็นงบดำเนินงาน 17,893,200 บาท โดยมีงบดำเนินงานสนับสนุนการดำเนินงานโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ 161,400 บาท