'ฮิวแมนไรซ์วอท' (HRW) องค์กรส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กล่าวว่า ทุกวันนี้หลายประเทศทั่วโลกประชาชนต่างออกมาลุกขึ้นสู้เรียกร้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและการเมือง โดยใน 'ไทย' มีการเรียกร้องให้ทางการไทยควรปล่อยตัวนักเรียนที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง
ขณะที่ในโคลัมเบียมีความพยายามในการขยายระยะเวลาในการส่งตัวอดีตผู้นำทางทหารของโคลัมเบียกลับมารับโทษในโคลัมเบีย โดย 'ซัลว่าตอเร่ แมนคุโซ' อดีตผู้นำทางทหารของโคลัมเบียถูกศาลโคลัมเบียตัดสินว่ามีความผิดด้วยข้อการบังคับประชาชนสูญหายกว่า 1,500 รายในช่วงสมัยดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ แมนคุโซ ได้หลบหนีออกจากโคลัมเบียไปยังสหรัฐฯ ก่อนจะถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมในข้อหาค้าโคเคน และถูกตัดสินจำคุก 15 ปี
ด้านประเทศในแอฟริกาอย่างเอธิโอเปีย มีการจับกุมฝ่ายค้านของเอธิโปเปียโดยไม่มีข้อกล่าวหา หรือแม้แต่เฟซบุ๊กที่อัลกอลิทึ่มของเฟซบุ๊ก กลับไม่ปฏิเสธเนื้อหาที่มีการส่งเสริมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ทั้งนี้ HRW ชี้ว่า ในเบลารุส ฮ่องกง เลบานอนและไทย ประชาชนกำลังลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยด้วยการประท้วงที่ทรงพลัง ซึ่งเมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมาในไทย ประชาชนนับหมื่นคนต่างมารวมตัวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและยื่นข้อเสนอ 3 ข้อที่ระบุว่าถึงการยุบสภา การแก้รัฐธรรมนูญและการหยุดคุกคามประชาชนให้กับทางรัฐบาลไทย โดยสื่อต่างชาติชี้ว่า การประท้วงในวันดังกล่าวเป็นการชุมนุมที่มีประชาชนมารวมตัวกันมากที่สุดนับตั้งแต่มีการรัฐประหารในปี 2557
ขณะที่ในเบลารุส ประชาชนหลายหมื่นคนออกมารวมตัวประท้วงรัฐบาลเผด็จการของอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโกในเมืองมินสก์ หลังจากที่ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยลูคาเชนโกชี้ว่าเขาชนะการเลือกตั้งถึง 80% ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนในประเทศที่อยู่ใต้ผู้นำเผด็จการมานานกว่า 26 ปี ขณะที่สื่อต่างๆ ชี้ว่า การประท้วงของเบลารุสในครั้งนี้นับเป็นการรวมตัวประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเบลารุส
ขณะที่ในฮ่องกง ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการจับกุมแกนนำที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยหลายราย โดยอ้างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ที่จีนประกาศใช้กับฮ่องกง ขณะที่นักกิจกรรมอย่าง 'นาธาน เหลา' ผู้ซึ่งลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศก็ออกมาสนับสนุนการชุมนุมประท้วงทั้งในเบลารุส ฮ่องกงและไทยเช่นกัน
HRW ระบุว่าการประท้วงที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีเยาวชนคนรุ่นใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการประท้วง และยังชี้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้พวกเขาไม่ได้กระทำการที่เป็นอาชญากรรม หรือสมควรถูกฟ้องเนื่องด้วยเข้าร่วมการประท้วงที่สันติและวิพากวิจารณ์เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง
อย่างไรก็ตามยังมีเหตุการณ์ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำลายประชาธิปไตยเกิดขึ้นทั่วโลก โดยในอียิปต์ที่มีการปราบปรามการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะด้วยการอ้างศีลธรรม ซึ่งนับตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. เจ้าหน้าที่อียิปต์จับกุมอินฟลูเอนเซอร์หญิงที่ใช้โซเชียลมีเดียเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องเสรีภาพการแสดง การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและยุติการเลือกปฏิบัติ ซึ่งสิ่งดังกล่าวป็นความพยายามควบคุมการใช้พื้นที่โซเชียลของผู้หญิงในอียิปต์ โดยอ้างชุดศีลธรรม
ในสหรัฐฯ ก็มีความกลัวในการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งที่กำลังจะถึงนี้ โดยหน่วยงานไปรษณีย์ในสหรัฐฯ จะจำกัดจำนวนประชาชนในการลงคะแนนเสียงทางอิเมล ทั้งนี้แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ได้ยื่นญัตติขอให้มีการทบทวนประเด็นดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นภัยคุกคามสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ
ที่มา The guardian / HWR / Asian Nikkie / CNN
ข่าวที่เกี่ยวข้อง