ไม่พบผลการค้นหา
We Watch เสนอ กกต.5 ข้อ จี้เปิดผลรายหน่วย แนะหลายอย่างขัดหลักสากลแม้ไม่ผิดกฎหมายไทย โดยให้สังคมเป็นผู้ตัดสินการทำงาน ย้ำ จุดยืน We Watch อยู่ข้างข้อเท็จจริงและหลักการสากล

นายโอมาร์ หนุนอนันต์ ผู้ประสานงาน We Watch ระบุถึงเจตนารมณ์และจุดยืน We Watch ที่อยู่ข้างข้อเท็จจริงและหลักการสากล ซึ่งจะเก็บข้อมูลไปจนถึงการจัดตั้งรัฐบาลแบะดำเนินนโยบายของพรรคการเมืองด้วย สำหรับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.และเจ้าหน้าที่ พบทั้งด้านดีและข้อผิดพลาด ที่กระทบต่อความน่าเชื่อถือ โดยให้สังคมเป็นผู้ตัดสินเอง We Watch จะไม่ฟันธงหรือสรุปว่าการเลือกตั้งหรือ กกต.ล้มเหลวหรือไม่

นายพีรวิชญ์ ขันติศุข ทีมวิเคราะห์ของ We Watch แถลงถึงข้อมูลจากอาสาสมัครหลายพันคน ทั้งก่อน-ระหว่างและหลังการเลือกตั้งและมีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้มีสิทธิ์และ กกต.แต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนในการประมวลผล สรุปที่สำคัญคือ

1)​ ระบบเลือกตั้งไทยที่เสื้อผ้าขนาดเล็กและขนาดกลางที่จะนำสู่การมีรัฐบาลร่วม

2)​ การบริหารและจัดการเลือกตั้งของ กกต.ทั้ง 7 คน มีที่มาจาก คสช.จึงเกิดคำถามเรื่องความอิสระในการทำหน้าที่ ขณะที่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วย แม้ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน กลับปฏิบัติไม่เหมือนกัน หรือไม่มีมาตรฐาน ปล่อยตามดุลพินิจเจ้าหน้าที่

3) ​การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง ไม่สามารถสรุปได้ชัดว่า เอื้อประโยชน์บางพรรค เพราะอดีต ส.ส.มีฐานเสียง เมื่อย้ายพรรค มีทั้งคนที่ตามและไม่ตามไปเลือกในหลายพื้นที่

4) ​การรณรงค์เลือกตั้งผ่านช่องทางออนไลน์เยอะ

5) ​เงินและระยะเวลาในการหาเสียง เป็นเชิงบวก การจำกัดเงินหาเสียงทำให้พรรคเล็กลงแข่งขันได้อย่างเท่าเทียม

6) การให้ความรู้แก่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและกลุ่มสังเกตการณ์ มีภาคประชาชนดำเนินการเองพอสมควรและกกต.เชิญเพียง 3 องค์กรสังเกตการณ์เท่านั้น

7)​ สื่อมวลชนวิพากษ์ได้อย่างไม่เสรี การจัดดีเบตเป็นเรื่องดี แต่พรรคขนาดเล็กไม่ค่อยได้โอกาส

8)​ หน่วยงานด้านความมั่นคงและความปลอดภัย มีการติดตามบางพรรคในการลงพื้นที่

ส่วนผลสังเกตการณ์เลือกตั้งล่วงหน้า จาก 60 หน่วย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า บางหน่วยคนใช้สิทธิ์มาก มีความหนาแน่น บางรายใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมง 19 นาที, ไม่มีการแนะนำหรือแจ้งถึงพรรคและผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ์ , มีการส่งบัตรผิดหน่วยแต่เจ้าหน้าที่บอกให้กาๆไปเถอะ

สำหรับวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม ข้อมูลจาก 1,500 หน่วย พบมีร้อยละ 99 ที่คนรอใช้สิทธิ์ก่อนเปิดหน่วย, พบร้อยละ 16 มีโปสเตอร์หาเสียงบางพรรคอยู่หน้าหน่วย ในจำนวนนี้มีร้อยละ 1.1 ห่างไม่เกิน 20 เมตร เมื่อสอบถามผู้เกี่ยวข้องได้คำตอบว่าเป็นดุลพินิจแต่ละหน่วย ซึ่งสะท้อนมาตรฐานที่ไม่เท่ากันของแต่ละหน่วย, พบร้อยละ 33.33 ไม่แจ้งผู้สมัครที่ถูกยุบพรรคหรือตัดสิทธิ์ รวมถึงพบกระดาษเปล่าปิดทับผู้สมัครบางพรรคทั้งที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ และเมื่อทักท้วง กรรมการประจำหน่วยยืนยันว่า บุคคลดังกล่าวถูกตัดสิทธิ์ลงสมัคร

นอกจากนี้ ร้อยละ 1.2 พบว่าไม่มีการตรวจบัตรประจำตัวประชาชนหรือที่ราชการออกให้ของผู้ไปใช้สิทธิ์, พบร้อยละ 4 ไม่มีความเป็นส่วนตัวในการลงคะแนน เพราะด้านหลังคุหาเปิดกว้าง ได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีคนเดินผ่านด้านหลัง สามารถมองเห็นการกาหมายเลขได้, พบร้อยละ 24 ไม่จัดที่และอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ บางส่วนเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้มีร้อยละ 1.6 ไม่ให้สังเกตการณ์หรืออาสาสมัครถูกเชิญออกนอกพื้นที่โดยช่วงหย่อนบัตรเลือกตั้งพบ 3 ประเด็น ที่แม้ไม่ผิดกฎหมายไทยแต่ขัดกับหลักสากล คือ เจ้าหน้าที่เข้าไปในคูหา, มีการปฏิบัติงานแทน กกต.และ พกอาวุธเข้าไปในบริเวณหน่วยเลือกตั้ง ส่วนการปิดหน่วย พบร้อยละ 19.1 ไม่เจาะบัตรที่ไม่ได้ใช้และที่ตรวจนับแล้ว ถือว่าล้มหรือผิดระเบียบที่ กกต.กำหนด และแม้พบร้อยละ 99.8 ที่นับคะแนนด้วยความเป็นอิสระ

แต่พบ 7 หน่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้บัตรเลือกตั้งไม่ตรงหน่วยและแสดงบัตรที่นับคะแนนไม่ชัดเจน และการขัดข้องทางเทคนิคเกี่ยวกับการประกาศผล we watch มองว่า กกต.ยิ่งตอบยิ่งอันตราย เพราะฟังไม่ขึ้นและมาตรฐานหลายอย่างขัดกับหลักสากล โดยเฉพาะประเด็นจำนวนผู้มีสิทธิ์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การมีบัตรเสียเยอะถึงร้อยละ 5.7 เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 2-3 เท่านั้นและมองว่า ปากฏการณ์ Chang.Org ล่ารายชื่อถอดถอน กกต. สะท้อนการไม่ยอมรับการดำเนินการของจัดเลือกตั้ง กกต.

นายสาเล็ม มะดูวา ผู้ประสานงานภาคกลาง We Watch แถลงข้อเรียกร้องและข้อเสนอ ต่อ กกต. 5 ข้อ ประกอบด้วย 1) กกต.ต้องเปิดผลนับคะแนนแบบนับมือแต่ละหน่วย เพื่อให้สังคมเปรียบเทียบ กับเเอปพิเคชั่นรายงานผลของ กกต. 2)จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญการรักษาความปลอดภัยและตรวจสอบ แอพพิเคชั่นของ กกต.ทั้งระบบ 3)ให้ความรู้ผู้มาใช้สิทธิ์และประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ 4) กกต.จัดทำแบบแผนการปฏิบัติ ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และสื่อสารเจ้าหน้าทีให้ทั่วถึงด้วย 5) ทบทวนข้อกฎหมายและระเบียบต่างๆเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่สังคมเห็นว่าไม่สะท้อนความต้องการของประชาชน อย่างกรณีบัตรจากต่างประเทศไม่ถูกนับตลอดจนการให้มีสังเกตณ์การเลือกตั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :