ไม่ต่างจากบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป แกรี่ บล็อก (Gary Bloch) แพทย์ชาวแคนาดาประกอบอาชีพนี้เพราะต้องการช่วยเหลือผู้คน แต่ไม่ว่าจะตรวจเลือดไปกี่ครั้ง หรือเขียนใบสั่งยาออกมานับไม่ถ้วน คนไข้จำนวนมากของบล็อก ก็ยังมีปัญหาสุขภาพเช่นเดิม จนเขาตระหนักได้ว่าตนเองไม่ได้รักษาปัญหาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้ป่วย นั้นคือ ‘รายได้’
เป็นเวลากว่า 10 ปี มาแล้วที่บล็อก เสนอเงื่อนไขที่เป็นรูปธรรมในการเพิ่มรายรับแก่ผู้ป่วยในความดูแลของเขา เช่นเงินสวัสดิการของรัฐ หรืองบสนับสนุนของผู้พิการ โดยมากแล้วเป็นการแนะนำให้คนไข้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่พวกเขาจะได้รัฐสวัสดิการมาช่วยเหลือ
ความคิดของแพทย์จากแคนาดาคือ ในฐานะหมอพวกเขาควรจะทำอะไรก็ตามที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วย ก่อนหน้านี้พวกเขาดูแลร่างกายของคนไข้อย่างเต็มที่ แต่ไม่ได้สนใจปัญหาทางสังคมที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ในการดูแลสุขภาพสำหรับพวกเขา
หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นถึงผลร้ายที่เกิดขึ้นเพราะความยากจน บล็อกยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้มีรายได้น้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์ , มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นเกินกว่า 100 เปอร์เซ็นต์
เพราะความยากจน ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาสุขภาพ
ในศตวรรษที่ 18 รูดอล์ฟ เวอร์โชว์ (Rudolf Virchow) นักพยาธิวิทยาชาวเยอรมัน ผู้เป็นบิดาแห่งพยาธิวิทยาสมัยใหม่ ได้เดินทางไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างความยากจนและสุขภาพที่ย่ำแย่ ซึ่งเวอร์โชว์ ถือเป็นบุคคลแรกๆ ที่ตีแผ่เรื่องนี้จนได้รับความสนใจในวงกว้าง
บล็อกยังกล่าวว่าในช่วงปี 1960 ว่า มีงานวิจัยออกมาจำนวนมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถานะทางสังคม ที่ผูกพันกับสุขภาพ พวกเขาทำการศึกษาในหลากหลายพื้นที่ รวมถึงโรคภัย อุบัติเหตุ และความยากจนที่เพิ่มขึ้น ก่อนจะค้นพบว่าพันธุกรรมของมนุษย์ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น บล็อก ยกตัวอย่างคนไข้รายหนึ่งของเขาที่ได้รับเงินสวัสดิการจากรัฐเป็นจำนวน 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน เมื่อหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่างๆ ออกไปแล้ว ผู้ป่วยของเขาเหลือเงินสำหรับค่าอาหารน้อยกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ/วัน ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอสำหรับกาแฟ 1 แก้ว ด้วยซ้ำ
แบบสอบถามปัญหาด้านการเงิน
หลังจากเล็งเห็นปัญหาสิ่งแรกที่แพทย์ชาวแคนาดาลงมือทำคือแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาด้านการเงินที่ผู้ป่วยจะต้องกรอกลงไปก่อนเข้าพบแพทย์เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งแบบสอบถามฉบับนี้จะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความจนและปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกันได้เป็นอย่างดี
แบบสอบถามดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกับองค์กรทางการแพทย์หลายแห่งในแคนาดา นับตั้งแต่นำออกมาใช้งานเป็นครั้งแรกในปี 2552 ไม่เพียงแต่ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกระแหงของแคนดาดา แต่ยังไปไกลถึงญี่ปุ่นอีกด้วย
ในเบื้องต้น บล็อก ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ส่งผลโดยตรงกับคนไข้ออกเป็น 4 ข้อ ด้วยกัน
วิธีของบล็อก กำลังไปได้สวย
ในโรงพยาบาลเซนต์ไมเคิล ที่ ดร.แกรี่ บล็อก ประจำการก็มีการจ้างพนักงานเพิ่มหลากหลายตำแหน่ง เพื่อช่วยเหลือคนไข้ในด้านสถานะทางการเงิน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพของพวกเขา
“ตำแหน่งแรกที่เราได้มาคือผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของรายได้ ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลให้รายได้ของคนไข้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นพวกเขายังช่วยให้ความรู้ด้านการเงิน และการยื่นภาษีอย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งทนายความ และที่ปรึกษาด้านกฎหมายเพิ่มเข้ามาในโรงพยาบาล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทางกฎหมายของคนไข้อีกด้วย”
หลังจากได้รับคำแนะนำในการจัดการเรื่องรายได้ที่เหมาะสม บล็อกบอกว่าผู้ป่วยมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในหลายๆ ด้าน พวกเขามีอพาร์ทเม้นท์สำหรับอยู่อาศัย ได้ยาที่เหมาะสมในการรักษา และได้กินอาหารที่คุณภาพดีขึ้นอีกด้วย
“เรามีโครงการวิจัยที่ทำการศึกษาว่าโปรแกรมของเราทำงานได้ดีเพียงใด ที่ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งคาดว่าผลการศึกษาจะออกมาในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้”
ที่มา :