ไม่พบผลการค้นหา
ประชาชนไม่เหลือทางเลือกอื่น 'นอกจากประท้วง' - ไม่เพียง รัฐบาลมองข้ามความทุกข์ชาวนา - ยังมองข้ามคุณค่าเพศหญิงด้วย

นับตั้งแต่ชาวนาอินเดียออกมาประท้วงต่อต้านกฎหมายปฏิรูปอุตสาหกรรมการผลิตข้าว 3 ฉบับ ที่ 'นเรนทรา โมดี' นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันชี้ว่าเป็นการผลักดันกลไกเสรีิตั้งแต่ปลายปี 2563 

ล่าสุด กลุ่มผู้ประท้วงเคลื่อนขบวนปิดทางหลวงรอบกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศ ในวันเสาร์ที่ 6 มี.ค.ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของการเรียกร้องที่ครบรอบ 100 วัน และกดดันให้รัฐบาลของนายโมดีออกมาจัดการกับร่างกฎหมายดังกล่าว 

ประท้วง - อินเดีย - เอเอฟพี

'อมาร์จีท ซิงห์' ชาวนาวัย 68 ปี จากรัฐปัญจาบ เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า รัฐบาลของนายโมดีเปลี่ยนให้การเรียกร้องความยุติธรรมของชาวนาในครั้งนี้ เป็นประเด็น 'อีโก้' ของตนเอง จนมองไม่เห็นความทุกข์ร้อนของประชาชน 

"เราไม่เหลือทางเลือกอื่นนอกจากประท้วง" ชาวนาวัย 68 ปี กล่าว


คนดัง call out 

การประท้วงในอินเดียมาได้รับความสนใจในวงกว้างช่วงต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เมื่อ 'โรบิน รีแอนนา เฟนตี้' หรือ 'ริฮานนา' นักร้องและนักธุรกิจชื่อดัง ออกมาทวีตข้อความเกี่ยวกับกาประท้วงที่เกิดขึ้นพร้อมแคปชันว่า "ทำไมไม่มีใครพูดถึงสิ่งนี้ #ประท้วงชาวนา" พร้อมแนบลิงก์ข่าวจากซีเอ็นเอ็นที่ระบุว่า "รัฐบาลอินเดียตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตรอบกรุงนิวเดลีหลังเกิดการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่ตำรวจ"

อินเดีย - ประท้วง - ชาวนา - เอเอฟพี

เท่านั้นยังไม่พอ 'เกรตา ธันเบิร์ก' เยาวชนนักเคลื่อนไหวจากสวีเดนยังออกมาเรียกร้องในประเด็นดังกล่าวเช่นเดียวกัน จนมีการตอบโต้กลับจาก 'ซูบรามานยัม ไจชานคาร์' (Subrahmanyam Jaishankar) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอินเดีย ว่าการ 'เรียกร้อง' ให้ผู้คนหันไปสนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอินเดียของคนดังเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

"ความพยายามสร้างกระแสบนสังคมโซเชียลมีเดียผ่านแฮชแท็กและคอมเมนต์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาข้อความที่ได้รับการสนับสนุนจากเหล่าคนดัง ทั้งไม่ถูกต้องและไม่มีความรับผิดชอบ" ซูบรามานยัม กล่าว 


ผู้หญิง-คนแก่จะไม่กลับบ้าน 

เมื่อกรุงนิวเดลีก้าวเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา 'ตุลาการสูงสุด' ของอินเดียมีความพยายามหว่านล้อนให้สตรีและผู้สูงยุติการร่วมชุมนุมและเดินทางกลับพื้นถิ่นของตนเอง ก่อนได้รับคำตอบสั้นๆ ได้ใจความว่า "ไม่" กลับไป 

'จาสบิห์ เคอร์' ชาวนาหญิงวัย 74 ปี จากรัฐรามปุร ชี้ว่า เมื่อรัฐบาลออกประกาศให้ผู้หญิงต้องกลับบ้าน มันนำไปสู่การถามต่อว่า "ทำไมเราต้องกลับ ในเมื่อนี่มันไม่ใช่การประท้วงของเพศชาย เราทุ่มเทอย่างหนักเคียงข้างผู้ชาย เราเป็นใคร ไม่ใช่ชาวนาหรือไง"

การประท้วงที่เกิดขึ้นในอินเดียอาจเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน หรืออาจใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติด้วยซ้ำ เมื่อผู้คนจากหลากอายุ เพศ ศาสนา หรือความเชื่อ รวมตัวกันนับแสนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกร่างกฎหมายที่ชาวนาเห็นว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้นายทุน มากกว่ามอบเสรีในการค้าขายให้ผู้คน 

อ้างอิง; Reuters, TIME, WSJ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;