ไม่พบผลการค้นหา
อดีตที่ปรึกษา 'น้าชาติ' เสวนา - 'สุรเกียรติ์' มอง 4 โจทย์ท้าท้ายการต่างประเทศยุครัฐบาล 'ประยุทธ์' ก่อนตกขบวน ชี้ 'กต.' แนะเบิกร่องไม่พอ การทูต 'track one and a half' แบบ 'บ้านพิษณุโลก'

ในงานเสวนาวิชาการหัวข้อ 'ย้อนพินิจบ้านพิษณุโลกการทูตไทย ณ ทางแพร่งแห่งความเปลี่ยนแปลง' เนื่องในวาระ 70 ปีแห่งการสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์และวาระ 20 ปีแห่งการก่อตั้งโครงการปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภาคภาษาอังกฤษ ที่หอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยช่วงท้ายผู้เข้าร่วมงานเสวนาตั้งคำถามถึง 'อดีตที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก' ว่าจากบทเรียนในอดีตมีอะไร อยากฝากถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? 

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตที่ปรึกษานายกฯ ด้านกฎหมายสมัย พล.อ.ชาติชายชุณหะวัน กล่าวว่า คงไม่มีอะไรจะแนะนำรัฐบาลปัจจุบันแต่มีสิ่งท้าทาย 4 ข้อคือ

1.จะทำอย่างไรให้จับมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้อบอุ่น ผู้นำกับ รมต.พบกันตลอดเวลาอย่างไม่เป็นทางการมีอะไรเปิดอกคุยกันได้ ยกตัวอย่างเช่น สะพานข้ามแม่น้ำเหืองท่าลี่-แก่นเท้าโผฝ่ายไทยห้ามหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นคุยเพราะ สปป.ลาวไม่เอาพอ ตนไปเยือนแขวงบ่อแก้วได้คุยกับเจ้าแขวงก็บอกว่าเมื่อไรจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองเสียที ตนแทบตกเก้าอี้ก็พูดตรงๆ ว่าฝ่ายไทยบอกไม่ให้หยิบยกเรื่องนี้เมื่ออยู่กันสองต่อสองไม่มีคนจดโน๊ตท่านเจ้าแขวงก็บอก บอกตรงๆ

จะเห็นได้ว่าพอมีความใกล้ชิดคุ้นเคยคุยกันได้เกาถูกที่คันก็แก้ไขกันได้ทางเพื่อนบ้านมากรุงเทพฯ จะต่อเครื่องไปที่ไหนเราก็นั่งทานข้าวกัน ส่วนตัวผมไปลาวกัมพูชาลาวเวียดนามก็ไปกินข้าวกับเขาอย่างไม่เป็นทางกา��ก็ได้คุยเปิดอกได้ทุกเรื่อง บางเรื่องเขาไม่เห็นด้วยก็บอกไม่เห็นด้วย บางเรื่องผมไม่เห็นด้วยก็บอกไม่เห็นด้วยคนไทยไม่มีทางเอาก็บอกไปตรงๆ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจนี่คือสิ่งท้าทายต้องทำให้ได้ทั้งนายกฯ รมว.การต่างประเทศ รมต.เศรษฐกิจต้องโทรคุยกันได้ต้องพบกันได้อย่างไม่เป็นทางการต้องเปิดอกคุยกันได้ 

ยิ่งท่ามกลางสถานการณ์ trade war และ technology war นั้น technology ที่กำลังเป็นตัวนำแล้วเรากำลังตกขบวนก็ต้องคุยกันได้หมด 

2.สิ่งท้าทายของอาเซียนคือเราเป็นประธานอาเซียนปีนี้คือทำอย่างไรที่ประเทศไทยจะนำให้สังคมอาเซียนเป็น Furture Ready ASEAN หรืออาเซียนพร้อมสำหรับอนาคตต่อ disruptive technology อย่างสิงคโปร์ประธานเขาตั้งหัวข้อเป็น Resilient and Innovative ASEAN หรืออาเซียนที่มีนวัตกรรมและปรับตัวได้ของเราจึงควรนำธง Future Ready ASEAN ทั้งtechnology และtrade war เพราะยุทธศาสตร์ภูมิสถาปัตยกรรมทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของโลกนั้นเปลี่ยนเร็วมาก

3.คือทำอย่างไรให้ประเทศไทยซึ่งมีสถานะเป็น Regional Bridge หรือสะพานเชื่อมภูมิภาคมาตลอดร้อยกว่าปีใครทะเลาะกันคู่ไหนเราสนิทกับเขาหมด อินเดียกับปากีสถาน ทะเลาะเรื่องแคชเมียร์เราสนิททั้งคู่ เกาหลีเหนือเกาหลีใต้ เราก็สนิทเกาหลีเหนือ ญี่ปุ่นกับจีนเรื่องศาลเจ้าเราก็สนิททั้งคู่ต่างคน ต่างส่งคนมาอธิบาย ไทยคือที่ที่เขาขอมาคุยกัน อย่างรัฐบาลศรีลังกากับพยัฆค์ทมิฬอิแรม มีปัญหากันนอร์เวย์เป็นคนเจรจาสันติภาพก็ขอใช้สถานที่ที่เมืองไทย 

ความเป็น Regional Bridge ที่สนิทกับทั้งรัสเซีย จีน อียู อเมริกา อาเซียนใหม่-เก่า ก็สนิทหมดเราจะmaintain ความเป็นสะพานเชื่อมประเทศต่างๆให้เป็นประโยชน์โพชผลกับไทยอย่างไรนี่คือความท้าทาย 

4.เวลาพูดถึงบ้านพิษณุโลกการเป็น Pathfinder ตัวไปลองคุยถ้าเขา ถ้าไม่เอารัฐบาลก็ไม่เสีย ถ้าเอารัฐบาลก็ได้ประโยชน์ ในยุคปัจจุบันมีสิ่งที่เรียกว่าผู้แทนพิเศษไม่ว่า track one ความสัมพันธ์รัฐต่อรัฐระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ track two สถาบันองค์กรต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลคอยเชื่อมกันแต่ปัจจุบันมี track one and a half คือ กึ่งรัฐบาลกึ่งไม่ใช่รัฐบาล ซึ่งก็คล้ายกับบ้านพิษณุโลก เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว สิงคโปร์ จีน เกาหลี อังกฤษ มีสถาบันแบบนี้เต็มไปหมดที่รัฐบาลจะแอบใช้ไปทดสอบคนนั้นคนนี้ดูว่าเอามั้ย ถ้าใช้ได้รัฐบาลก็น้อมเอามาเป็นของตนแล้วเจรจาระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล 

ยุคปัจจุบันที่มีหมากรุกหลายกระดาน จะให้กระทรวงการต่างประเทศเดินเป็น Pathfinder คนเดียวหรือเราจะช่วยกันหา track one and a haf เป็น Pathfinder ให้ประเทศไทย