ไม่พบผลการค้นหา
รอยเตอร์เปิดโปงหนังสือวิกฤตการณ์โรฮิงญาที่กองทัพเมียนมาตีพิมพ์พบว่า ทางกองทัพเมียนมา นำรูปภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับชาวโรฮิงญามาเผยแพร่ พร้อมระบุเนื้อความว่าเป็นข้อเท็จจริงการกระทำของชาวโรฮิงญา

หนังสือการเมืองเมียนมาและกองทัพ เล่มที่ 1 จำนวน 117 หน้านี้ ตีพิมพ์เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาโดยหน่วยงานประชาสัมพันธ์และจิตวิทยาของกองทัพเมียนมา ซึ่งรอยเตอร์ค้นพบว่ามีอย่างน้อย 3 ภาพที่สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาในเมียนมา ตัวอย่างเช่น ทางกองทัพเมียนมานำเอา ภาพเหตุการณ์สงครามระหว่างบังคลาเทศและปากีสถานเมื่อปี 1971 มาเผยแพร่แล้วระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ชาวโรฮิงญาสังหารชาวพุทธ และอีก 2ภาพ เป็นภาพการอพยพในประแทนซาเนีย และ ภาพชาวบังคลาเทศเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งทางกองทัพเมียนมาอธิภาพภาพทั้ง 2 ว่าเป็นชาวโรฮิงญาที่กำลังอพยพเข้ามายังเมียนมา

247928610-attention-editors-visual-coverage-of-scenes-of-injury-or-death-a-combination-of-sc.jpg

ขณะที่โฆษกกองทัพและรัฐบาลเมียนมา ซอว์ เต ยังไม่มีคำตอบใดๆต่อภาพดังกล่าว และเมียวมินหม่อง เลขาธิการกระทรวงสารสนเทศ ปฏิเสธที่จะตอบข้อมูลดังกล่าว โดยอ้างว่ายังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มดังกล่าว

ทั้งนี้หนังสือเล่มดังกล่าวเขียนโดยการใช้ข้อมูลและหลักฐานจากหน่วยงานสารสนเทศของกองทัพเมียนมา พร้อมกับการปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องการใช้กำลังรุนแรงกับ 'กลุ่มกบฏเบงกาลี' ซึ่งมีวัตถุประสงค์โจมตีชาวเมียนมาเพื่อแบ่งแยกดินแดนและจัดตั้งรัฐโรฮิงญาชื่อว่า 'อากีสถาน'  


247996920-a-combination-of-screenshots-shows-top-an-image-taken-from-the-pulitzer-prize-website.jpg

การโจมตีของกลุ่มติดอาวุธโรฮิงญาที่เรียกตนเองว่า กองทัพปลดปล่อยอารากันโรฮิงญา ในรัฐยะไข่ได้นำไปสู่การปราบปรามของกองทัพเมียนมาในเดือนสิงหาคมปี 2017 ขณะที่องค์การสหประชาติคาดการณืว่าเหตุการณื่ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตกว่า 10,000 พร้อมประณามเหตุการณ์นี้ว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวโรฮิงญา

นอกจากนี้หนังสือเล่มดังกล่าวยังเขียนถึงชาวโรงฮิงญา เป็นกลุ่มคนที่อ้างว่าเป็นชนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในทางตะวันตกของประเทศ แต่ความจริงแล้วเป็นผู้อพยพลักลอบเข้าเมืองมาจากบังคลาเทศ อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มดังกล่าวได้ถูกว่าขายในร้านหนังทั่วย่างกุ้ง แต่กลับไม่ได้รับความนิยมมากนักจากผู้อ่าน

ภาพ reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง