ไม่พบผลการค้นหา
ย้อนสถิติการประชุมรัฐสภาในการ 'โหวตปิดสวิตช์ ส.ว.' ในห้วง 4 ปี เกิดขึ้นทั้งหมด 7 ครั้ง พร้อมเปิด 63 รายชื่อ ส.ว. ที่เคยสนับสนุนการปิดสวิตช์ตนเอง เพื่อคาดการณ์ว่า หลังการเลือกตั้ง พวกเขาจะโหวตนายกฯ อย่างไร เพื่อให้ประชาธิปไตยได้ไปต่อ?

หลัง กกต. แถลงผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ชัดเจนว่า พรรคก้าวไกลกวาดเก้าอี้ ส.ส. มาเป็นอัน 1  คือ 152 ที่นั่ง และมีสิทธิ์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 

นี่คือชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตย โดยพรรคก้าวไกลเดินหน้าจัดรัฐบาลผสม 313 เสียง คิดเป็น 62.6% ของสมาชิกทั้งสภา 500 คน โดยการจับมือ 8 พรรคการเมือง ได้แก่ 

  1. พรรคก้าวไกล 152 เสียง 
  2. พรรคเพื่อไทย 141 เสียง
  3. พรรคประชาชาติ 9 เสียง
  4. พรรคไทยสร้างไทย 6 เสียง
  5. พรรคเพื่อไทรวมพลัง 2 เสียง
  6. พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง
  7. พรรคเป็นธรรม  1 เสียง
  8. พรรคพลังสังคมใหม่ 1 เสียง

แม้ก้าวไกลจะรวมเสียงข้างมากในสภาล่างได้แล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่า แคนดิเดตนายกฯ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ จะได้เป็นนายกฯ และจัดตั้งรัฐบาลได้ เหตุเพราะภายใต้กลไกของรัฐธรรมนูญบทเฉพาะกาล กำหนดให้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือ 376 จาก 750 เสียง (ส.ส.+ส.ว.) นั่นเท่ากับว่าพรรคก้าวไกลขณะนี้ มีเสียง ส.ส. อยู่ในมือ 313 เสียง และยังขาดเสียงสนับสนุนอยู่ 63 เสียง 

แปลว่า จุดชี้ขาดว่าพิธาจะได้เป็นนายกและจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ มีเหล่า ส.ว.250 ที่แต่งตั้งโดย คสช. เป็นตัวแปรสำคัญ 

หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น แกนนำพรรคก้าวไกล นักการเมืองขั้วฝ่ายค้าน นักวิชาการ และประชาชนส่วนหนึ่ง ต่างออกมากดดัน ส.ส.(พรรคที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาล)  และ ส.ว.  อย่างพร้อมเพียง เพื่อให้พวกเขาลงมติเลือกนายกฯ จากพรรคอันดับหนึ่ง ตามเจตจำนงของประชาชน

ขณะเดียวกัน ส.ว. ทั้งหลายก็ออกมาแสดงท่าทีอย่างหลากหลาย  ทั้งการประกาศปิดสวิตช์ตัวเอง ซึ่งน่าจะหมายถึงการ ‘งดออกเสียง’ บ้างยืนยันเลือกนายกฯ จากเสียงข้างมาก บ้างพูดจาคลุมเครือ ‘ขอดูนโยบาย’ 

คำถามใหญ่ที่สุดตอนนี้จึงเป็นว่า ส.ว.ที่จะโหวตนายกฯ ตามมติของประชาชน มีจำนวนมากแค่ไหน ไม่น่าเชื่อว่า เมื่อรวบรวมรายชื่อ ส.ว.ที่เคยโหวตสวนเพื่อนๆ ในการ ‘ปิดสวิตช์ตัวเอง’ ในการเสนอกฎหมายหลายต่อหลาย รวมแล้วได้ 63 เสียง เท่ากับเสียงที่ยังขาดอยู่ตอนนี้ !

หากเพียงทั้ง 63 คน โหวตรับรองพิธา ไม่ใช่งดออกเสียง ประเทศชาติก็จะเดินทางไปได้  

‘ปิดสวิทซ์ ส.ว.’  7 ครั้ง ส.ว.โหวตเห็นด้วย รวม 63 คน  

ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ มีการแก้รัฐธรรมนูญที่มีการเสนอให้ปิดสวิตช์ ส.ว. ทั้งหมด 6 ฉบับ โดยมีความแตกต่างไปในข้อเสนอ ตั้งแต่การยกเลิก ส.ว. ไปเลย ไปจนถึงข้อเสนอเดียวประเด็นเดียว ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ทว่ากลับไม่มีครั้งใดเลยที่ข้อเสนอนี้ผ่านมติของสภา 

ครั้งที่หนึ่ง - 17 พฤศจิกายน 2563 การลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับในวาระ 1 การลงมติของ ส.ว. ในร่างฉบับที่ 4 เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน ให้แก้ไขมาตรา 272 และ มาตรา 159 ที่ ‘ยกเลิกให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี และปิดสวิตช์นายกฯ คนนอก’ 

ส.ว.โหวตเห็นชอบมี 56 เสียง ได้แก่

กล้านรงค์ จันทิก / กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ / กิตติ วะสีนนท์ / ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ / คำนูณ สิทธิสมาน / เจน นำชัยศิริ พลอากาศตรี / เฉลิมชัย เครืองาม / เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ / เฉลิมชัย เฟื่องคอน / ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ / ชาญวิทย์ ผลชีวิน / เชิดศักดิ์ จำปาเทศ / ซากีย์ พิทักษ์คุมพล / ฐนิธ กิตติอำพน / ณรงค์ พิพัฒนาศัย / ณรงค์ รัตนานุกูล / ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ / ณรงค์ อ่อนสอาด / ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม / นิพนธ์ นาคสมภพ / นิวัตร มีนะโยธิน / นิสดารก์ เวชยานนท์ / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / ประจิน จั่นตอง / ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม / ประภาศรี สุฉันทบุตร / ประมนต์ สุธีวงศ์ / ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ / ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ / พรทิพย์ โรจนสุนันท์ / พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ / พิศาล มาณวพัฒน์ / พีระศักดิ์ พอจิต / ภัทรา วรามิตร / มณเฑียร บุญตัน / เลิศรัตน์ รัตนวานิช / วันชัย สอนศิริ / วัลลภ ตังคณานุรักษ์ / วิบูลย์ บางท่าไม้ / วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ / วีระศักดิ์ ฟูตระกูล / วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ / วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ / ศักดิ์ชัย ธนบุญชัย / ศิรินา ปวโรฬารวิทยา / สมเจตน์ บุญถนอม / สมชาย เสียงหลาย / สมชาย หาญหิรัญ / สัญชัย จุลมนต์ / สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย / สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ / อนุศาสน์ สุวรรณมงคล / ออน กาจกระโทก / อับดุลฮาลิม มินซาร์ / อำพล จินดาวัฒนะ / โอสถ ภาวิไล

ครั้งที่สอง - 17 พฤศจิกายน 2563  ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยเครือข่ายภาคประชาชน ฉบับ ‘รื้อ สร้าง ร่างรัฐธรรมนูญ’ ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น ยกเลิกช่องทางเสนอนายกคนนอก, แก้ไขที่มา ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้ง ตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกฯ ผลปรากฏว่ารัฐสภามีมติ ไม่รับหลักการในวาระที่หนึ่ง 

มี ส.ว.โหวตเห็นชอบ 3 คน ได้แก่

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / พิศาล มาณวพัฒน์ / พีระศักดิ์ พอจิต

ครั้งที่สาม - 24 มิถุนายน 2564 มีความพยายามแก้รัฐธรรมนูญโดยมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ฉบับ และมีเพียงร่างของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอไม่ให้ ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกฯ

มี ส.ว. โหวตเห็นชอบ 15 คน ได้แก่ 

ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ / คำนูณ สิทธิสมาน / เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ / เฉลิมชัย เฟื่องคอน / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / ประภาศรี สุฉันทบุตร / ประมนต์ สุธีวงศ์ / พรทิพย์ โรจนสุนันท์ / พิศาล มาณวพัฒน์ / มณเฑียร บุญตัน / วันชัย สอนศิริ / วัลลภ ตังคณานุรักษ์ / สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย / อนุศาสน์ สุวรรณมงคล / อำพล จินดาวัฒนะ

ครั้งที่สี่ - 24 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดย พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย โดยรัฐสภาให้ความเห็นชอบ 461 เสียง (เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา) 

มี ส.ว. โหวตเห็นชอบปิดสวิสซ์ตัวเอง 21 คน ได้แก่ 

คำนูณ สิทธิสมาน / เฉลิมชัย เฟื่องคอน / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / ประภาศรี สุฉันทบุตร / ประมนต์ สุธีวงศ์ / พรทิพย์ โรจนสุนันท์ / พิศาล มาณวพัฒน์ / มณเฑียร บุญตัน  / วันชัย สอนศิริ / วัลลภ ตังคณานุรักษ์ / สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย / อนุศาสน์ สุวรรณมงคล / อำพล จินดาวัฒนะ / ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ / เฉลิมชัย เครืองาม / ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ / บรรชา พงศ์อายุกูล / วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ / สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ / สมชาย เสียงหลาย / สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ

ครั้งที่ห้า - 16 พฤศจิกายน 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่ม “Resolution 

มี ส.ว.โหวตเห็นชอบ 3 คน ได้แก่ 

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / พิศาล มาณวพัฒน์ / มณเฑียร บุญตัน 

มณเฑียร กล่าวถึงเหตุผลในการรับหลักการร่างดังกล่าวในครั้งนี้ว่า “เพื่อเป็นการให้เกียรติประชาชนที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เข้ามา”

ครั้งที่หก - 8 กันยายน 2565 ที่ประชุมลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยภาคประชาชน 

มี ส.ว. โหวตเห็นชอบ 23 คน ได้แก่

กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ / ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ / คำนูณ สิทธิสมาน / จรุงวิทย์ ภุมมา / เฉลิมชัย เฟื่องคอน / เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ / ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ / บรรชา พงศ์อายุกูล / ประภาศรี สุฉันทบุตร / ประมนต์ สุธีวงศ์ / ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ / พรทิพย์ โรจนสุนันท์ / พิศาล มาณวพัฒน์ / มณเฑียร บุญตัน / เลิศรัตน์ รัตนวานิช / วันชัย สอนศิริ / วัลลภ ตังคณานุรักษ์ / สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ / สุวัฒน์ จิราพันธ์ / อดุลย์ แสงสิงแก้ว / อนุศาสน์ สุวรรณมงคล / อำพล จินดาวัฒนะ

ครั้งที่เจ็ด - ประชุมสภาล่ม ระหว่างพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วยสมาชิกพรรคเพื่อไทยจำนวน 101 คน  ก่อนปิดสมัยประชุมและมีการยุบสภาในท้ายที่สุด

โดยรวมแล้ว เมื่อนับดู ส.ว.ที่โหวตสวนรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งต่างๆ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เราจะพบว่ามีอยู่ทั้งสิ้น 63 คน

63 คนนี้เป็นความหวังของประชาชนได้หรือไม่ ?  ส.ว.ทั้งหมดจะมีมีสำนึกในระบอบประชาธิปไตยในช่วงเวลาสุดท้ายของตัวเองหรือไม่ ? พวกเขาจะคว้าโอกาสในการ ‘ล้างมลทิน’ ของตนเองแค่ไหน ? ยังคงเป็นคำถามตัวใหญ่ 

ปลุกสำนึก 63 ส.ว. ผู้เคยโหวตปิดสวิสซ์ตัวเอง 

16 พฤษภาคม 2566 พริษฐ์ วัชรสินธุ ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้  250 ส.ว. สนับสนุน ‘นายกฯและรัฐบาล ที่รวบรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร’ โดยเฉพาะ ส.ว. 63 คน ที่เคยสนับสนุนการยกเลิก มาตรา 272 ที่ให้อำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ (อย่างน้อย 1 ครั้ง จาก 3 ครั้งที่ถูกเสนอในรัฐสภาในช่วง 2563-65) ได้แก่ 

1. กล้านรงค์ จันทิก

2. กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์

3. กิตติ วะสีนนท์

4. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์

5. คำนูณ สิทธิสมาน

6. จรุงวิทย์ ภุมมา

7. เจน นำชัยศิริ

8. เฉลิมชัย เครืองาม

9. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

10. เฉลิมชัย เฟื่องคอน

11. ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์

12. ชาญวิทย์ ผลชีวิน

13. เชิดศักดิ์ จำปาเทศ

14. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล

15. ฐนิธ กิตติอำพน

16. ณรงค์ พิพัฒนาศัย

17. ณรงค์ รัตนานุกูล

18. ณรงค์ สหเมธาพัฒน์

19. ณรงค์ อ่อนสอาด

20. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม

21. นิพนธ์ นาคสมภพ

22. นิวัตร มีนะโยธิน

23. นิสดารก์ เวชยานนท์

24. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

25. บรรชา พงศ์อายุกูล

26. ประจิน จั่นตอง

27. ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม

28. ประภาศรี สุฉันทบุตร

29. ประมนต์ สุธีวงศ์

30. ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ

31. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ

32. ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ

33. พรทิพย์ โรจนสุนันท์

34. พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์

35. พิศาล มาณวพัฒน์

36. พีระศักดิ์ พอจิต

37. ภัทรา วรามิตร

38. มณเฑียร บุญตัน

39. เลิศรัตน์ รัตนวานิช

40. วันชัย สอนศิริ

41. วัลลภ ตังคณานุรักษ์

42. วิบูลย์ บางท่าไม้

43. วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์

44. วีระศักดิ์ ฟูตระกูล

45. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

46. วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์

47. ศักดิ์ชัย ธนบุญชัย

48. ศิรินา ปวโรฬารวิทยา

49. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์

50. สม จาตุศรีพิทักษ์

51. สมเจตน์ บุญถนอม

52. สมชาย เสียงหลาย

53. สมชาย หาญหิรัญ

54. สัญชัย จุลมนต์

55. สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

56. สุวพันธ์ุ ตันยุวรรธนะ

57. สุวัฒน์ จิราพันธ์

58. อดุลย์ แสงสิงแก้ว

59. อนุศาสน์ สุวรรณมงคล

60. ออน กาจกระโทก

61. อับดุลฮาลิม มินซาร์

62. อำพล จินดาวัฒนะ

63. โอสถ ภาวิไล