นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปราย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบ วงเงิน 1 ล้านบาท โดยตั้งข้อสังเกตถึงการใช้งบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบวงเงิน 400,000 ล้านบาท ที่เพิ่งมีหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยไปถึงท้องถิ่นทั่วประเทศ ให้รีบเสนอโครงการที่จะใช้จ่ายเข้ามา โดยหนังสือเพิ่งออกวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา และให้ส่งแผนงานหรือโครงการภายในวันที่ 5 มิ.ย.ซึ่งเร่งรีบ ขาดความละเอียดรอบคอบและระมัดระวังการใช้จ่ายเงิน และตั้งคำถามถึงงบประมาณว่าจะเพียงพอต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายหนักทั้งประเทศได้หรือไม่
นายยุทธพงษ์ ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาการต่ายเงินเยียวยาว่า ระบบฐานข้อมูลของกระทรวงการคลังไม่แม่นยำ บางคนที่เป็นแม่บ้านก็ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท , กระทรวงแรงงาน ก็ทำงานช้า หลายคนที่โดนพักงาน จนเกิน 60 วันแล้วก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บางคนมีอาชีพรับจ้างอยู่ในเมือง แต่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลืออีก อยากให้รัฐบาลดูแลจะจ่ายเงินให้ทั่วถึง
นายยุทธพงศ์ อภิปรายถึง พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบ วงเงินรวมไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ซึ่งกำหนดเงื่อนไข SME วงเงินสินเชื่อต้องไม่เกิน 500 ล้านบาท แต่โรงแรมที่ลงทุนในปัจจุบันมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท ทำให้ไม่เข้าเงื่อนไขได้รับการช่วยเหลือ และเงินที่จะช่วยเหลือ SME ก็เป็นการให้กู้เพิ่ม และต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้เดิม แทนที่จะให้เงินไปเพื่อลดต้นและดอกเบี้ย แต่กลับเอาหนี้ไปให้กู้เพิ่ม จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องทบทวน
ส่วนการเก็บดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี โดยไม่เรียกเก็บจากผู้เป็นระยะเวลา 6 เดือน นายยุทธพงษ์ กล่าวว่า จะทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากเอาเงินไปปล่อยต่อ เพราะดอกเบี้ยต่ำ ไม่คุ้ม ซึ่งกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จะต้องใช้เงินคืนให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับเงินกู้ จะกลายเป็นภาระของธนาคารพาณิชย์ จะเอาเงินที่ไหนมาคืน หากผู้กู้ยังไม่ฟื้นตัวในระยะเวลา 2 ปี และกฎหมายยังมีลักษณะ 2 มาตรฐาน โดยกำหนดให้ไม่คิดอัตราค่าธรรมเนียมการกู้เงิน แต่ธนาคารออมสินสามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้ จึงอยากให้ดูเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ ให้ครอบคลุมมากขึ้น
ส่วน พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ วงเงิน 400,000 ล้านบาท เพื่อเอามาช่วยหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ นายยุทธพงศ์ อภิปรายว่า กองทุนที่จะลงทุนอายุไม่เกิน 270 วัน เป็นระยะเวลาที่เร็วมาก และผลตอบแทนหุ้นกู้ ดอกเบี้ยผลตอบแทนขั้นสูงที่ลงทุนหุ้นกู้ ซึ่งจัดหามาจากแหล่งอื่น บวกด้วยค่าธรรมเนียมการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนร้อยละ 1 ต่อปี สำหรับเงินส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 30 ของยอดตราสารหนี้ที่ครบกำหนด และร้อยละ 2 ต่อปี สำหรับเงินส่วนที่เกินร้อยละ 30 ของยอดตราสารหนี้ที่ครบกำหนด ถือว่าดอกเบี้ยแพง ซึ่งขณะนี้มีหลายบริษัทมีปัญหาขอยืดเวลาครบกำหนดหุ้นกู้ออกไป ซึ่งไม่เข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน 400,000 ล้านบาท ทำให้บริษัทเหล่านี้ต้องไปกู้ธนาคารพาณิชย์มาจ่ายเงินให้กับผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกกว่า เช่นบริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ บริษัทชาญอิสระ เป็นต้น
นายยุทธพงษ์ สรุปว่า เงินที่จะช่วยผู้ประกอบการ SME ก็มีปัญหา เงินที่จะช่วยหุ้นกู้ก็ไม่สามารถช่วยได้จริง เพราะมีค่าใช้แพง ซึ่งขณะนี้เป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกของโลก จึงฝากไปถึงรัฐบาล ให้แก้ไขปัญหาสำเร็จลุล่วงละเมิด ระวังในการใช้จ่ายงบประมาณ เพราะเงินกู้รอบนี้เป็นเงินกู้รอบสุดท้ายแล้ว ไม่สามารถกู้มากกว่านี้ได้ จึงต้องทำให้เกิดประโยชน์ ข้อท้วงติงที่ได้อภิปรายไปก็ขอให้รัฐบาลนำไปเป็นข้อสังเกต เพราะสิ่งที่พูดไปเป็นความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง