ไม่พบผลการค้นหา
หลัง ศบค.มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสถานการณ์ล่าสุดภาครัฐต้องออกมาเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพราะยอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่พุ่งทะยานเพิ่มขึ้นเพียง 1 สัปดาห์เดียว ล่าสุดยอดผูู้ป่วยใหม่ติดเชื้อเกือบ 5,000 คน

ด้วยคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2565 เห็นชอบยกเลิกยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มี.ค. 2563 และการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 19) ลงวันที่ 27 ก.ค. 2565 รวมทั้งบรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่ง ที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจแห่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมด โดยให้มีผลในวันที่ 30 ก.ย. 2565 เป็นต้นไป เนื่องจากเหตุของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวได้คลี่คลายลงอย่างมาก 

โดยหน่วยงานของรัฐทั้งฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงสามารถนำมาตรการตามกฎหมายเข้าแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว

ภายหลังยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว นับจากวันที่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป โรคโควิด-19 ได้ถูกปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งในเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีการรายงานโรคเป็นรายสัปดาห์ โดยเริ่มการรายงานเป็นสัปดาห์ครั้งแรกวันที่ 3 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป

จากข้อมููล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2565 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล 823 คน มียอดสะสมติดเชื้อจำนวน 2,458,697 คน มีจำนวนผู้เสียชีวิตใหม่ เพิ่ม 7 คน มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 11,073 คน

ส่วนผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาลด้วย ATK+ สัปดาห์ที่ 38 ระหว่างวันที่ 18-24 ก.ย. 2565 มีจำนวน 81,258 คน สะสม 8,117,241 คน

ส่วนยอดการได้รับวัคซีน มีจำนวน 142,635,014 คน แบ่งเป็น เข็ม 1 จำนวน 57,005,497 คน เข็มที่ 2 จำนวน 53,486,086 คน เข็มที่ 3 จำนวน 32,143,431 คน

1ตุลา.jpg


สัปดาห์ที่ 40 ระหว่างวันที่ 2-8 ต.ค. 2565 มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,915 คน หรือเฉลี่ยรายวันละ 416 คน ต่อวัน จำนวนผู้เสียชีวิตรายใหม่ 58 คน หรือเฉลี่ยวันละ 8 คน ยอดเสียชีวิตสะสม จำนวน 11,131 คน

สัปดาห์ที่ 41 วันที่ 9-15 ต.ค. 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อ 2,234 คน หรือเฉลี่ยติดรายวันละ 319คน เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 53 คน หรือเฉลี่ยวันละ 7 คน

สัปดาห์ที่ 42 วันที่ 16-22 ต.ค. 2565 ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 2,616 คน เฉลี่ยวันละ 374 คน เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 40 คนหรือเฉลี่ยวันละ 5 คน

สัปดาห์ที่ 43 วันที่ 23-29 ต.ค. 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่ 2,551 คน หรือเฉลี่ยวันละ 364 คน เสียชีวีตเพิ่มขึ้น 33 คนหรือวันละ 4 คน

สัปดาห์ที่ 44 วันที่ 30 ต.ค.-5 พ.ย. 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่ 2,759 คน หรือเฉลี่ยวันละ 394 คน เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 40คน หรือเฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 5 คน

สัปดาห์ที่ 45 ระหว่างววันที่ 6-12 พ.ย. 2565 มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,166 คน หรือเฉลี่ยรายวันละ 452 คน เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 42 คน มีผู้เสียชีวิตสะสม 11,339 คน

สัปดาห์ที่ 46 วันที่ 13-19 พ.ย. 2565 มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,957 คนหรือเฉลี่ยรายวัน 565 คนต่อวัน

โดยอัตราผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ ล่าสุดสัปดาห์ที่ 47 ระหว่างวันที่ 20 -26 พ.ย. 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่รักษาในโรงพยาบาล 4,914 คน (เฉลี่ยรายวัน 707 คนต่อวัน) ทำให้มียอดสะสมแล้ว 2,483,809 คน (ยอดป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565) ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตรายใหม่ 74 คน หรือเฉลียวันละ 10 คน ทำให้มียอดสะสมเสียชีวิตแล้ว 11,482 คน (ยอดเสียชีวิตสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565)

รวมตลอด 2 เดือน (ต.ค.- พ.ย. 2565) นับแต่่ยกเลิก ศบค.และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนับแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อสะสมแล้ว 25,112 คน จากการรายงานของกรมควบคุมโรค

27 now.jpg27noowo.jpg


สถานการณ์ดังกล่าวในช่วงก่อนสิ้นปี ภาครัฐจึงออกมาเร่งเชิญชวนประชาชนให้เข้าฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

โดย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า ช่วงสัปดาห์ที่ 45 วันที่ 6-12 พ.ย. 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคโควิด 19 รวม 3,166 ราย เฉลี่ย 452 รายต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 12.8% มีผู้เสียชีวิต 42 ราย แนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว ขณะที่ผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง อาจเป็นผลจากอากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง ประชาชนมีกิจกรรมรวมกลุ่มจำนวนมาก ทั้งนักเรียนเปิดเทอม การเดินทางท่องเที่ยว สังสรรค์ รวมถึงบางส่วนเริ่มผ่อนคลายการสวมหน้ากาก ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ว่าการติดเชื้ออาจจะสูงขึ้นอีกในช่วงปลายปีที่มีกิจกรรมและงานรื่นเริงช่วงใกล้เทศกาล

ทำให้กระทรวงสาธารณสุข จึงเร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด 19 มีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 2 ล้านโดส ภายในเดือนธ.ค. 2565 เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กเล็กและเข็มกระตุ้นในกลุ่ม 608 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต 

นพ.สุเทพ เพชรมาก หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภาพรวมการฉีดวัคซีนยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ จึงเร่งสื่อสารให้ทุกจังหวัดทำแผนและเป้าหมายการฉีดวัคซีนสู่ระดับอำเภอ ทำระบบรายงานผลประจำวันรายหน่วยบริการ เน้นเชิญชวน ค้นหา ติดตามคนที่ยังไม่ได้ฉีดจนถึงระดับหมู่บ้าน โดย อสม.ร่วมกับกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านลงพื้นที่ด้วยกัน และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ามารับวัคซีนให้มากที่สุด 

อาทิ จัดตั้งหน่วยบริการฉีดวัคซีนนอกสถานพยาบาล บริการฉีดวัคซีนถึงบ้านให้กับกลุ่ม 608 และผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น ยืนยันว่ามีวัคซีนเพียงพอ เข้าถึงได้ง่าย ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่ม 608 ที่ฉีดเข็มล่าสุดมากกว่า 4 เดือนขึ้นไปมารับเข็มกระตุ้นที่หน่วยบริการวัคซีนใกล้บ้าน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมยาต้านไวรัส เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้ง LAAB ไว้เพียงพอเพื่อรองรับการระบาดของโรค ขณะที่สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อนุทิน วัคซีน โควิด แพทย์ F8562239-ECC6-4F63-A24C-71D0ABEE967B.jpegชัชชาติ ฉีดวัคซีน_220627_4.jpg

เช่นเดียวกับ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัคซีนโควิด-19 เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดการเสียชีวิตได้ ซึ่งหลังจากฉีดวัคซีนไประยะหนึ่งแล้ว ภูมิคุ้มกันที่มีจะลดลง จึงต้องมีการฉีดเข็มกระตุ้น ดังนั้น หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย ขอให้รีบมาฉีด และหากฉีดกระตุ้นเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือนแล้ว ขอให้มาฉีดเพิ่ม ซึ่งจากข้อมูลพบว่าการรับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 4 ช่วยลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ เพื่อเร่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ทันช่วงปลายปีที่จะมีกิจกรรมเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประสานให้เพิ่มสถานที่ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ กทม. ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวและกำชับโรงพยาบาลในสังกัดทุกจังหวัดให้เปิดจุดบริการฉีดวัคซีน รวมถึงจัดบริการเชิงรุกในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่เป็นกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่ม 608 ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับนานเกิน 6 เดือนควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หรือร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมากโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย 

อนุทิน กระทรวงสาธารณสุข โอภาส k8sk8c4.jpg

ขณะที่ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ครั้งสุดท้ายของปี 2565 ว่า ที่ประชุมได้ยืนยันถึงเรื่องคนไทยทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ครบ 4 เข็ม ตามมติจากที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (EOC) กรณีโรคโควิด-19 เนื่องจากมีข้อมูลว่าจะช่วยให้มีความปลอดภัย หากติดเชื้ออาการจะไม่รุนแรงหรือเสียชีวิต ซึ่งเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปี จะมีการท่องเที่ยว มีกิจกรรมการเดินทางจำนวนมาก ผู้ประกอบการต้องรับลูกค้าเพิ่มขึ้น มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา จึงอาจมีความเสี่ยงเกิดการแพร่เชื้อได้ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สถานพยาบาลทุกระดับเตรียมความพร้อมให้บริการวัคซีนโควิดแก่ประชาชน รวมถึงจัดหน่วยเคลื่อนที่ไปให้บริการในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้วย

สำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนเลย ขอให้มาฉีดวัคซีนเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลทั่วโลกพบว่า โรคโควิด 19 จะคุกคามผู้ไม่ได้รับวัคซีนได้มากที่สุด ยิ่งเป็นกลุ่ม 608 ยิ่งมีอันตราย เสี่ยงที่จะป่วยหนักและเสียชีวิตได้ แต่หากรับวัคซีนแล้ว โดยเฉพาะเข็ม 4 จะช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ได้อย่างมาก ซึ่งวัคซีนขณะนี้มีเพียงพอ สถานพยาบาลมีความพร้อมดูแล ส่วนผู้ประสงค์รับมากกว่า 4 เข็ม เนื่องจากมีความเสี่ยง เช่น ต้องเดินทางไปประเทศที่สุ่มเสี่ยง ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากตลอดเวลา ให้บริการสาธารณะ ขนส่ง ต้องดูแลลูกค้า เป็นต้น ก็สามารถแจ้งความต้องการได้