ไม่พบผลการค้นหา
‘ซูเปอร์โพล’ เผยผลสำรวจเลือกตั้ง ส.ส.ชี้ ภท.-ปชป.ม้าตีนปลายคะแนนส่อพุ่ง เผย ปชช.15 ล้านคนไม่ไปเลือกตั้ง ‘เพื่อไทย’ ครองเสียงอีสาน-เหนือ ‘ภูมิใจไทย’ มาที่สอง กวาด 112 ที่นั่ง ขณะที่ ‘ก้าวไกล’ 63 ที่นั่ง เชื่อสัปดาห์สุดท้ายพรรค ‘ขั้วอนุรักษนิยม’ ปรับกลยุทธ์สู้ศึกชิงเสียงโค้งสุดท้าย ถ้ายังไม่ปรับมีโอกาสแพ้สูง

เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2566 สํานักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลการศึกษาต่อเนื่อง เรื่อง “โพล เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 7 : ข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ (ภูมิภาค) “ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 400 เขตเลือกตั้งและผลการประมาณการจํานวน 100 ที่นั่งผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 53,094,778 คนทั่วประเทศรวบรวมข้อมูลจาก ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง ดําเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 – 5 พ.ค. พ.ศ.2566 โดยยืนยันผลการศึกษาของซูเปอร์โพลมีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องแบบวิธีการผสมผสาน ผลการศึกษาของซูเปอร์โพลจึงแตกต่างจากที่อื่น ทั้งนี้ผลการศึกษาเมื่อพิจารณาความตั้งใจจะไปเลือกตั้งของประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.3 หรือประมาณการ จํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 37,431,819 คน จะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 24.7 หรือ ประมาณการจํานวน ผู้มีสิทธิเลือกต้ังรวมทั้งสิ้น 15,662,959 คน จะไม่ไปเลือกตั้ง ที่น่าสนใจคือ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของจํานวนที่นั่ง ส.ส. เขตเลือกต้ังจํานวน 400 ที่นั่ง จําแนกตาม ข้อมูลพื้นฐานการปกครองท้องที่ที่เป็นกลุ่มจังหวัดในแต่ละภูมิภาค พบอย่างชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย ยังคงครอง ภาคอีสานและภาคเหนือ โดยภาคอีสาน ได้จํานวน ส.ส.เขต ทั้งสิ้น 57 ที่นั่ง และภาคเหนือ 24 ที่นั่ง รวมจํานวนทั้งสิ้น 111 ที่นั่ง 

ในขณะที่ภูมิใจไทย กระจายไปตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคอีสาน ได้ 36 ที่นั่ง ภาคกลาง 26 ที่นั่ง ภาคตะวันตก และภาคใต้ ได้ภาคละ 10 ที่นั่ง ภาคตะวันออก ได้ 6 ที่นั่ง ภาคเหนือ ได้ 5 ที่นั่ง และ กทม. ได้ 3 ที่นั่ง รวมทั้งสิ้น 96 ที่นั่ง

และพรรคก้าวไกลกระจายไปตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคอีสาน ได้ 23 ที่นั่ง กทม. ได้ 10 ที่นั่ง ภาคกลาง ได้ 5 ที่น่ัง และภาคตะวันออก ได้ 2 ที่นั่ง รวมท้ังสิ้น 40 ที่นั่ง

เมื่อนําผลการประมาณการจํานวนที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ร่วมกับ จํานวนที่นั่งของ ส.ส.เขตเลือกตั้ง พบว่า พรรคเพื่อไทย ได้จํานวน 139 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 114 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 164 ที่นั่ง

รองลงมา คือ ภูมิใจไทย ได้จํานวน 112 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 87 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 137 ที่นั่ง

อันดับ 3 ก้าวไกล ได้จํานวน 63 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 38 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 88 ที่นั่ง

อันดับ 4 พลังประชารัฐ ได้จํานวน 61 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 36 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 86 ที่นั่ง

อันดับ 5 ประชาธิปัตย์ ได้จํานวน 49 ที่นั่ง จํานวนต่ำสุด 24 ที่นั่ง และจํานวน สูงสุด 74 ที่น่ัง

อันดับ 6 รวมไทยสร้างชาติ ได้จํานวน 46 ที่นั่ง จํานวนต่ําสุด 21 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 71 ที่นั่ง

อันดับ 7 พรรคอื่นๆ ได้จํานวน 30 ท่ีนั่ง จํานวนต่ําสุด 5 ที่นั่ง และจํานวนสูงสุด 55 ท่ีนั่ง

ทั้งนี้เป็นที่สังเกตว่า เสียงกลุ่มขั้วอนุรักษนิยมไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก โดยภูมิใจไทยมาที่สองรองจากเพื่อไทย เพราะภาพลักษณ์ อนุทิน ชาญวีรกูล ที่สู้เพื่อคนตัวเล็ก อีกทั้งนโยบายกัญชาทางการแพทย์มากขึ้น นโยบายผู้สูงอายุ โดนใจกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ รวมถึงส่วนประชาธิปัตย์นั้นคะแนนยังนำในภาคใต้และในช่วงสุดท้ายมีแรงเหวี่ยงจากนโยบาย ความเป็นสถาบันรวมทั้งภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเพิ่มพุ่งไปถึง 74 ที่นั่ง

ศาสตราจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า วันนี้กระแสพรรคก้าวไกล ที่มาแรงขึ้นมาใน 2 สัปดาห์สุดท้าย เป็นการบอกชัดเจนว่ากระแสมีความสำคัญ ดังนั้นถ้าฝ่ายอนุรักษนิยมไม่มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเมืองเพื่อดึงคะแนนช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเลือกตั้ง14 พค.มีโอกาสที่ขั้วอนุรักษนิยมแพ้สูง คือ ขั้วรัฐบาลปัจจุบัน ส่วนโอกาสที่เพื่อไทยแลนด์สไลด์เป็นไปไม่ได้ สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งถ้ากระแสยังเป็นแบบนี้ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย นำโดยเพื่อไทยเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล โดยมีก้าวไกล ประชาชาติเข้าร่วม แต่เชื่อว่าสูตรนี้จะมีโอกาสทำให้ก้าวไกลขี่คอเพื่อไทยเลือกกระทรวงสำคัญแน่นอน

ดังนั้นให้จับตาสัปดาห์สุดท้ายพรรคการเมืองต่างๆจะปล่อยกระสุนและคีย์แมทเซ็ตออกมาถูกต้อง ทำให้มีผลต่อกระแสการเมืองเปลี่ยนแปลงแค่ไหน

นพดล IMG_2279.jpegนพดล ซูเปอร์โพล IMG_2280.jpeg