ไม่พบผลการค้นหา
'จีน' เปิดเวทีสัมมนา 'เส้นทางสายไหม' ขณะเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายมองเป็นการสร้างอำนาจเหนือประเทศอื่น

บรรดาผู้นำจากทั่วโลกเดินทางถึงกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเข้าร่วมเวทีสัมนาโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างในหลายประเทศและเม็ดเงินมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวหลายหมื่นล้านบาท

รัฐบาลจีนได้รับเสียงตอบรับเข้าร่วมเวทีสัมนาครั้งที่ 2 นี้อย่างล้นหลาม ด้วยผู้นำกว่า 37 คน เทียบกับตัวเลข 29 คน ในการจัดงานครั้งแรก อีกทั้งองค์กรระดับโลกอย่าง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ก็สนใจเข้าร่วมเวทีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯ เลือกที่จะไม่เข้าร่วมงานนี้ 

ระบบการทูตลูกหนี้

เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 เป็นนโยบายโครงสร้างพื้นฐานชิ้นสำคัญ ของ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่หวังเชื่อม 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป เข้าด้วยกัน โดยนับตั้งแต่ปี 2556 ที่มีการเปิดตัวโครงการเป็นครั้งแรก รัฐบาลจีนอ้างว่า มากกว่า 150 ประเทศมีการลงนามเห็นด้วยกับโครงการหรืออย่างน้อยที่สุดก็ในหลักการ 

ในครึ่งแรกของปี 2562 เม็ดเงินกู้ต่างประเทศเพื่อลงทุนในโครงการครั้งนี้พุ่งไปสูงกว่า 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือระมาณ 2.8 ล้านล้านบาท นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาลจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐฯ ว่ามีความพยายามในการสร้างหนี้ที่ใช้คืนไม่ได้ให้กับประเทศยากจนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าและการทูต 

"เงื่อนไขเงินกู้เหล่านั้นไม่ชัดเจน และผลประโยชน์ตกเป็นของรัฐบาลจีนอย่างท่วมท้น" ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ

รายงานประจำปี 2561 ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลจีนมีความพยายามในการสร้างหนี้จำนวนมหาศาลให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเพื่อ "สร้างอำนาจทางการเมืองและการครอบครองทรัพย์สินเหนือประเทศลูกหนี้" ซึ่งรัฐบาลจีนออกมาปฏิเสธข้อสังเกตนี้อย่างต่อเนื่อง

"เพื่อความสวยงาม ผมคิดว่าทุกคนในคณะรัฐบาลจีนรู้ว่าจะต้องปรับสัดส่วน(หนี้)ลง เพื่อให้เหมาะกับเสียงวิจารณ์จากต่างประเทศและในประเทศ " ริชาร์ด แมคเกรเกอร์ นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันโลวี กล่าว

ผู้เข้าร่วมและผู้ไม่ยุ่งเกี่ยว

เวทีสัมนาใช้เวลาทั้งหมด 3 วัน ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดกว่า 5,000 คน จากมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ตามข้อมูลผู้ร่วมงานของ นายหวัง หยี รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน หลายประเทศในยุโรปและเอเชียจะส่งผู้นำมาร่วมงานเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน

เซบาสเตียน เคอรซ์ นายกรัฐมนตรีออสเตรีย มาร์แซลู รือเบลู ดือ โซว์ซา ประธานาธิบดีโปรตุเกส พร้อมด้วย จูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลี คือผู้นำหลักจากฝั่งยุโรปที่มาร่วมงานนี้ 

ประยุทธ์

หลายประเทศในเอเชียเช่น สิงคโปร์ ปาปัวนิวกินี ไทย และบรูไน มาร่วมงานนี้เป็นครั้งแรก ขณะที่ญี่ปุ่นส่งตัวแทนพิเศษเพื่อลงนามในความสัมพันธ์ร่วม ส่วนผู้จากปากีสถานและมาเลเซียยังมาเช่นเดิม แม้ทั้งสองจะมีความกังวลเรื่องหนี้สินของทั้งสองประเทศที่มีต่อจีนอยู่

ด้านประเทศผู้นำที่ตัดสินใจมองผ่านเวทีสัมนาของจีนครั้งนี้ประกอบไปด้วย สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา แต่ประเทศที่ผู้นำไม่มาร่วมงานและสร้างความกังวลที่แท้จริงคือคู่ค้าใกล้ชิดอย่าง ศรีลังกา และ อินโดนีเซีย

อ้างอิง; CNN