ไม่พบผลการค้นหา
นายกฯเศรษฐา นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการอุตสาหกรรมฮาลาลฯ เดินหน้าดันศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลไทย ยกระดับไทยสู่ศูนย์กลางฮาลาลอาเซียนภายในปี 2570

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งชาติ (กอฮช.) ครั้งที่ 1/2567 ณ ตึกสันไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (11 กรกฎาคม 2567) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย เข้าร่วมด้วย

IMG_20240711145931000000.jpg

ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์อุตสาหกรรมฮาลาล จากข้อมูลของ Adroit Market Research ระบุว่า ในปี 2020 ตลาดฮาลาลโลก มีมูลค่า 7.2 ล้านล้านเหรียญฯ และคาดว่าจะสูงถึง 11.2 ล้านล้านเหรียญฯ ภายในปี 2028 เนื่องจากประชากรมุสลิมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดฮาลาลเกิดการขยายตัว ครอบคลุมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น modest fashion (แฟชั่นที่ปกปิดมิดชิดตามหลักศาสนาอิสลาม) การท่องเที่ยวเครื่องสำอาง การสื่อสารและสันทนาการ เป็นต้น โดยมูลค่าของตลาดการค้าอาหารฮาลาลโลกในปี 2567 อยู่ที่ 2.60 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 5.28 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 หรือเพิ่มขึ้น 12.5% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมุสลิมโลกและการขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศมุสลิม นับเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วม

ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของไทยตามนโยบายรัฐบาลจะช่วยสร้างการรับรู้และการยอมรับผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทย เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและบริการ ตลอดจนธุรกิจ MICE รวมทั้งยังเป็นการขับเคลื่อน Soft Power ของไทย ลดข้อจำกัด แก้ไขระเบียบ และบูรณาการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฮาลาล โดยได้มีการมอบหมายให้ ดร.นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย รับผิดชอบภารกิจการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศไทยไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหา การเจรจาเพื่อลดอุปสรรคจากกฎระเบียบและมาตรการทางการค้ากับประเทศคู่ค้า เพื่อให้เข้าถึงตลาดที่มีศักยภาพทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ๆ

IMG_20240711145908000000.jpgIMG_20240711145916000000.jpg

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงขั้นตอนต่อไปจะนำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เสนอต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยแผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลเป้าหมาย (ระยะแรก) ไว้ 5 กลุ่ม ได้แก่

1. อาหารฮาลาล เช่น เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป อาหารทะเล อาหารพร้อมรับประทาน อาหารฮาลาลโดยธรรมชาติ และอาหารมุสลิมรุ่นใหม่

2. แฟชั่นฮาลาล ประกอบด้วย สิ่งทอ อัญมณี เครื่องหนัง

3. ยา สมุนไพร เครื่องสำอางฮาลาล

4. โกโก้และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง

5. บริการและการท่องเที่ยวฮาลาล

ทั้งนี้ ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ปี 2567-2570 ได้วางกรอบใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,230 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ

1.การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานการผลิตฮาลาลไทย

2. การพัฒนาการผลิตได้มาตรฐานอุตสาหกรรมฮาลาลไทย

3. การยกระดับปัจจัยแวดล้อมอุตสาหกรรมฮาลาลไทย โดยมีโครงการที่เป็น Quick Win (พ.ศ. 2567 - 2568) ใช้งบประมาณ 95 ล้านบาท ในการดำเนินงาน ได้แก่ สร้างการรับรู้ศักยภาพสินค้าและบริการอาหารฮาลาลไทย การขยายตลาดสินค้าและบริการอาหารฮาลาลไทยในประเทศและต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลไทย และการจัดทำระบบ Halal IU ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลรายงานเชิงลึกและวิเคราะห์ตลาด เป็นต้น

IMG_20240711145919000000.jpg

นายกฯเศรษฐา ระบุผ่านโซเชียลมีเดียว่า ‘การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล คือ การดึงเอาศักยภาพด้านอาหารของไทยที่แข็งแกร่ง มาเจอกับโอกาสเพราะนี่คือตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และทางรัฐบาลก็ได้พยายามที่จะเปิดตลาดใหม่ ๆ เพิ่มมาโดยตลอดครับ

ที่ประชุมได้หารือกันถึงแนวทางที่จะพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมให้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยผมได้ฝากให้ทางฝ่ายเลขาฯ เพิ่มเรื่องการสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ประกอบการด้วย เพราะเรื่องทุนคือเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับธุรกิจ รวมทั้งขอให้เชื่อมโยงกับกระทรวงเกษตรในเรื่องการพัฒนาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืชโปรตีนหลักที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ครับ

และอีกไม่นานเราจะมีศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลไทยเพื่อมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ และคณะกรรมการเห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของการสานต่อ Thailand Halal Valley ซึ่งจะช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องภาคใต้ได้เยอะเลยครับ’

08.gif