ไม่พบผลการค้นหา
ศปถ. รายงานยอดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำวันที่ 1 ม.ค. 2564 พบตัวเลขอุบัติเหตุรวม 713 เสียชีวิต 80 ราย รวมสะสมเสียชีวิต 267 ราย

ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2564 วิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ ในฐานะประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2564 เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2564 (ศปถ.)

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 1 ม.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 713 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 80 ราย ผู้บาดเจ็บ 709 คน 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 43.06 ขับรถเร็ว ร้อยละ 35.20 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.74 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง 66.06 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 40.39 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 34.22 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 00.01 – 04.00 น. ร้อยละ 30.01 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด อยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.67


ดำเนินคดีผู้ขับขี่ผิดกฎหมาย 98,530 ราย

ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,908 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 61,428 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 460,054 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 98,530 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย26,682 ราย ไม่มีใบขับขี่ 25,111 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ สงขลา (28 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงราย (จังหวัดละ 5 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ สงขลา (30 คน) 

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 4 วันของการรณรงค์ (29 ธ.ค.63 – 1 ม.ค. 64) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,365 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 267 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 2,362 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 11 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ สงขลา (จังหวัดละ 87 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา (16 ราย) จังหวัด ที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (92 คน)

ส่วนการคุมประพฤติผู้ที่ฝ่าฝืนเมาแล้วขับนั้น วิตถวัลย์ ระบุว่า ผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกนำตัวไปเข้าอบรมเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งปีที่ผ่านมา มีจำนวน 65 ราย แต่ปัจจุบันแนวโน้มพฤติกรรมผู้ขับขี่ดีขึ้น และปีนี้จะเน้นการติดตามผ่านเครื่องมือ EM เพื่อจำกัดการออกนอกพื้นที่ และจำกัดความเร็วมากกว่า


อ่านเพิ่มเติม