ไม่พบผลการค้นหา
สนทช. สรุปสถานการณ์น้ำคาดปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกภาค โดยมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 45,603 ล้าน เฝ้าระวังน้ำหลาก-ดินโคนถล่ม อพยพ 4 จ. เตรียมพร้อม 5 จ. เฝ้าระวัง 8 จ.

ภาคเหนือ ภาคกลาง ยังคงมีฝนต่อเนื่องและมีฝนหนักบางแห่ง

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาค ตอน.ตอนบน ส่งผลให้บริเวณ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตอน.ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฝนตกหนักถึงหนักมาก และดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ ที่กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ วันที่    2-3 ก.ย. 62 ประเทศไทยมีการกระจายของฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตอน.ตอนบน ปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (มม.) มีฝนตกหนักมากบริเวณ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ (152) อ.เมือง  จ.ลำพูน (116) อ.ร้องกวาง จ.แพร่ (112)   อ.เมือง จ.น่าน (101) อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ (103) อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก (112) อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ (187)

ฝนที่ตกต่อเนื่องส่งผลให้ระดับน้ำในแม่สายหลักเพิ่มขึ้น เกิดน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่แม่น้ำสายหลัก ส่วนใหญ่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น อยู่ในสภาวะน้ำปานกลางถึงน้ำมาก ยกเว้นภาคใต้ ระดับน้ำอยู่ในสภาวะน้ำน้อยถึงปานกลาง จากปริมาณฝนที่ตกในระยะนี้คาดระดับน้ำในแม่น้ำน่าน แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำเพชรบุรี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้เกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในหลายพื้นที่ ได้แก่ ลำน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ แม่น้ำยม จ.แพร่แม่น้ำน่าน จ.พิษณุโลก น้ำล้นตลิ่งต่ำ บริเวณห้วยหลวง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี แม่น้ำสงคราม อ.อากาศอำนวย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ลำน้ำยัง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์อ.โพนทอง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด อ.เมือง จ.ยโสธร และ ลำเซบาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี แม่น้ำโขง ทุกจังหวัดริมน้ำโขง ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบริเวณโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกภาค โดยมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 45,603 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 56% น้ำบาดาล 1,228 ล้าน ลบ.ม. /เดือน แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง แหล่งน้ำที่มีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก ได้แก่ หนองหาร (98%) ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีปริมาณน้ำไหลลงเพิ่มขึ้น และศรีนครินทร์ (80%) เฝ้าระวังน้ำน้อย 14 แห่ง โดยมีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 34 แห่ง ซึ่งถึงปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลลงแหล่งน้ำรวม 13,365 ล้าน ลบ.ม. ระบายออกรวม 11,760 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำขนาดกลาง ปริมาตรน้ำ น้อยกว่า 30% จำนวน 112 แห่ง มีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 70 แห่ง แหล่งน้ำที่เสี่ยงน้ำมากกว่าความจุ รวม 52 แห่ง ได้แก่ จ.แพร่ 1 แห่ง เลย 1 แห่ง หนองคาย 3 แห่ง สกลนคร 4 แห่ง อุดรธานี 1 แห่ง กาฬสินธุ์ 9 แห่ง ขอนแก่น 1 แห่ง นครพนม      7 แห่ง ร้อยเอ็ด 4 ยโสธร 2 แห่ง มุกดาหาร 6 แห่ง อำนาจเจริญ 3 แห่ง อุบลราชธานี 7 แห่ง ปราจีนบุรี 1 แห่ง ตราด 1 แห่ง และ จ.นครนายก 1 แห่ง

คุณภาพน้ำ ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่าค่ามาตรฐาน บริเวณ แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำนครชัยศรี

การจัดการน้ำเขื่อนหลักยังเป็นไปตามแผน พร้อมเร่งปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในอ่างฯลุ่มเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก : บริหารจัดการน้ำตามแผน การระบายน้ำจาก 4 เขื่อน รวม 7.28 ล้าน ลบ.ม. คงเหลือน้ำใช้การรวม 3,114 ล้าน ลบ.ม. (17%) และมีน้ำสำรองเพิ่มจากมาตรการลดการระบายแบบขั้นบันได 2,687 ล้าน ลบ.ม.

ลุ่มน้ำชี- มูล 8 เขื่อนหลัก : บริหารจัดการน้ำตามแผน การระบายน้ำจาก 8 เขื่อน รวม 8.44 ล้าน ลบ.ม. คงเหลือน้ำใช้การรวม 912 ล้าน ลบ.ม. (15%) และมีน้ำสำรองเพิ่มจากมาตรการฯ 452 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้บริหารจัดการฤดูแล้ง 62/63

ปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในแหล่งน้ำ ในพื้นที่ภาค ตอน. 1 แห่ง

เฝ้าระวังน้ำหลาก-ดินโคนถล่ม อพยพ 4 จ. เตรียมพร้อม 5 จ. เฝ้าระวัง 8 จ. (เวลา 07.00 น.)

พื้นที่ประกาศภัยฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง 13 จ. 79 อ. 534 ต. 6,023 ม.

สทนช. ติดตามพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย โดยประเมินสถานการณ์น้ำ จากพายุ “โพดุล”และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำ และแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงอุทกภัย น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีความจุมากกว่า 80% ตรวจสอบสิ่งกีดขวาง การระบายน้ำ รวมทั้งเร่งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัย