ไม่พบผลการค้นหา
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ หดตัวลงตลอดสองไตรมาสที่ผ่านมาติดกัน กลายเป็นสัญญาณเตือนครั้งสำคัญว่าหลายประเทศทั่วโลกอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขัดกันกับความพยายามในการอธิบายภาวะเศรษฐกิจจากทางสหรัฐฯ ด้วยข้อมูลของตน

ในทางตรงกันข้าม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในรอบปีหดตัวลงในอัตรา 0.9% ตลอดเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือน ก.ค.ในปัจจุบัน ส่งผลให้โลกหันมาจับตาถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ทั้งนี้ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค น้ำมันเบนซิน ตลอดจนของใช้พื้นฐานอื่นๆ ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ปี 2524

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง เพื่อเพิ่มต้นทุนในการกู้ยืมอย่างรวดเร็ว โดยหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ร้อนแรงปรับตัวเย็นลง และบรรเทาแรงกดดันในด้านราคา อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล้าวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลให้โลกหวั่นกลัวว่า พวกตนจะเข้าสู่ภาวะเศรฐกิจถดถอย แม้จะยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการก็ตาม

ความปั่นป่วนเศรษฐกิจนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคะแนนนิยมของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้ที่พยายามคงสถานะเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในเกณฑ์ปกติดี ด้วยการอ้างอิงข้อมูลอัตราการว่างงานต่ำกว่า 3.6% พร้อมย้ำว่าอัตราการจ้างงานในสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง

“ถ้าหากคุณดูที่ตลาดการจ้างงาน การใช้จ่ายของผู้บริโภค การลงทุนทางภาคธุรกิจ เราเห็นสัญญาณการดำเนินการทางเศรษฐกิจ” ไบเดนกล่าวเมื่อวานนี้ (28 ก.ค.) พร้อมกับการชี้ถึงการได้ดุลกำไรของสหรัฐฯ เป็นประวัติการณ์ ในช่วงหลังการระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว “ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เราคาดว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกะช้าลงกว่าปีที่แล้ว… นั่นสอดคล้องกับการเปลี่ยนไปสู่การเติบโตที่มั่นคง ราบรื่น และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง”

ก่อนการเปิดเผยข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ไบเดนกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เศรษฐกิจ “จะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย” ส่งผลให้ฝ่ายค้านอย่างรีพับลิกันกล่าวหาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในกำหนดค่าทางเศรษฐกิจใหม่ว่า “ทำเนียบขาวพยายาม ‘รีแบรนด์’ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จะไม่ช่วยลดความทรมานของคนสหรัฐฯ ได้”

ตลอดสามเดือนแรกของปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวในรอบปีกว่า 1.6% ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่า การลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ เกิดขึ้นจากข้อมูลการค้าบางชุดที่ไม่ชอบมาพากล ตอกย้ำกับรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เมื่อวานนี้ ที่ย้ำถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงอย่างชัดเจน

การเติบโตที่ลดตัวลงของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาตลาดอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนภาคธุรกิจ และการใช้จ่ายของรัฐบาล ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคเติบโตในอัตราช้าลงที่ 1% ในรอบปี เนื่องจากประชาชนต้องใช้เงินมากขึ้นในการดูแลสุขภาพตนเอง ไปตลอดจนค่าใช้จ่ายเรื่องที่พัก ค่าอาหารนอกบ้าน แต่ประชาชนกลับเลือกที่จะลดการซื้อสินค้าและซื้อของชำ

เจฟฟรีย์ ฟรานเคล ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เคยทำงานในคณะกรรมการสำนักวิจัยด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรับผิดชอบตรงในการประกาศว่าสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่ เคยออกมากล่าวว่าตนไม่คิดว่าสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะเศษฐกิจถดถอยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการจ้างงานที่มีอย่างแข็งขัน อย่างไรก็ดี ฟรานเคลเริ่มไม่มั่นใจถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ “สิ่งต่างๆ เริ่มชะลอตัวลงแล้ว ฉะนั้น ผมไม่ได้บอกว่าทุกอย่างมันจะดี” ฟรานเคลระบุ

เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ปรับตัวไปแตะสูงสุดถึง 9.1% นับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงมากขึ้นที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (27 ก.ค.) ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับเพิ่มดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่สอง นับตั้งแต่การขึ้นดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อหวังว่าตนจะสามารถตอบรับกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กำลังเกิดปัญหาขึ้นได้

ด้วยต้นทุนของการกู้ที่จะสูงขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ย ธนาคารกลางสหรัฐฯ หวังว่าตนจะสามารถลดการซื้ออสังหาริมทรัพย์ตลอดจนรถยนต์ได้ โดยในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันบางประการที่อาจทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น แต่การลดอุปทานในตลาดลง จะส่งผลถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะปรับตัวลดลงตามไปด้วย

รายงานฉบับล่าสุดเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลง รวมถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังชะลอตัว ตลอดจนการหดตัวครั้งแรกของกิจกรรมทางภาคธุรกิจ นับตั้งแต่ปี 2563 ในขณะที่ตลาดหุ้นของสหรัฐฯ หดตัวลงนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ส่งผลให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ หลายแห่งตัดสินใจชะลอการจ้างงานลง


ที่มา:

https://www.bbc.com/news/business-62310355