ไม่พบผลการค้นหา
SPACE-F (สเปซ-เอฟ) โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของสตาร์ตอัพนวัตกรรมอาหารแห่งแรกของโลกที่เกิดขึ้นในไทย จัด “เดโมเดย์” โชว์ความพร้อมของสตาร์ตอัพฟู้ดเทคจากไทยและนานาชาติให้กับกลุ่มนักลงทุน

หลังการพัฒนาและเร่งสปีดกว่า 4 เดือนเต็ม สตาร์ตอัพที่ผ่านการคัดเลือกจากหลักร้อยเหลือเพียงแค่ 7 ทีมสุดท้ายจากไทย สหรัฐฯ เยอรมนี และสิงคโปร์ ขึ้น 'พิชชิ่ง' นำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และแนวคิดทางธุรกิจต่อหน้านักลงทุนมากกว่า 70 ชีวิตซึ่งมากจากทั้งกลุ่มสถาบันทางการเงินและบริษัทเอกชน ภายใต้โครงการ 'SPACE-F Batch 1 Demo Day' โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของสตาร์ตอัพนวัตกรรมอาหารแห่งแรกของโลกที่เกิดขึ้นในไทย โดยความร่วมมือของ 3 ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA

SPACE-F Demo Day

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันความท้าทายด้านอาหารได้เกิดขึ้นทั่วโลก จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน โครงการ SPACE-F จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ขณะที่ นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สเปซ-เอฟ เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบนิเวศให้กับแวดวงเทคโนโลยีอาหาร เป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาจับมือกันส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้าต่อไป

ด้าน ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยฯ ยินดีที่ได้เห็นความสำเร็จของโครงการ และยินดีสนับสนุนโครงการสเปซ-เอฟ ให้มีการขยายความร่วมมือจากที่คณะวิทยาศาสตร์ได้เริ่มไว้ไปยังหน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงของสตาร์ทอัพในระบบนิเวศน์นวัตกรรม (Ecosystem) ยิ่งขึ้น”

สเปซ-เอฟ ให้ความสำคัญทั้งนวัตกรรม ด้านอาหารเพื่อสุขภาพ (Health and Wellness), โปรตีนทางเลือก (Alternative Proteins), กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ (Smart Manufacturing), บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต (Packaging Solution), ส่วนผสมและอาหารใหม่ (Novel Food and Ingredients), วัสดุชีวภาพและสารเคมี (Biomaterial and Chemical), เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร (Restaurant Tech), การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร (Food Safety and Quality) และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร (Smart Food Services) และเป็นโครงการที่เปิดกว้างให้กับสตาร์ทอัพ โดยผู้ก่อตั้งโครงการจะไม่ถือหุ้นใดๆ ทำให้สตาร์ทอัพครอบครองแนวคิดและผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์


3 ใน 7 ทีมสุดท้ายคือสตาร์ตอัพด้าน 'โปรตีนทางเลือก'
SPACE-F Demo Day
  • 'Orgafeed' สตาร์ตอัพไทยผู้ผลิตอาหารและขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วยโปรตีนทางเลือกจากแมลงและวัตถุดิบออร์แกนิก ภายใต้แบรนด์ 'Laika' มีเป้าหมายเพื่อผลิตอาหารที่ดีต่อทั้งสุขภาพสัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม
SPACE-F Demo Day
  • 'Thai Ento' สตาร์ตอัพไทยผู้ผลิตโปรตีนทางเลือกจากแมลงสำหรับการใช้ในการผลิตอาหารมนุษย์และการทำอาหารเพื่อเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่มีกระบวนการที่ยั่งยืน
SPACE-F Demo Day
  • 'Manna Food' สตาร์ตอัพจากอลาสกาของสหรัฐฯ มุ่นเน้นการสร้างโปรตีนทางเลือกที่กล้าประกาศว่าเป็นโปรตีนทางเลือกที่ 'มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลก' โดยมีความยั่งยืนมากกว่าโปรตีนจากจิ้งหรีดและพืช

อีก 4 ทีมนำเสนอเทคโนลีอาหารที่น่าจับตาในปี 2020
SPACE-F Demo Day
  • 'Alchemy' สตาร์ตอัพจากสิงคโปร์ ผู้คิดค้นและวิจัยผลิตภัณฑ์ 'ไฟเบอร์' ที่มีความสามารถในการช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากอาหาร ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อผู้รักสุขภาพและผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีการจดสิทธิบัตรแล้วในหลายประเทศ
SPACE-F Demo Day
  • 'HydroNeo' สตาร์ตอัพจากเยอรมนี สร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรในการควบคุมสมาร์ตฟาร์มมิ่งด้วยเทคโนโลยี นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรในการดูแลพื้นที่ทางการเกษตร
SPACE-F Demo Day
  • 'Eden' สตาร์ตอัพไทยที่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบผักและผลไม้สดโดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อคงความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ยาวนานมากขึ้น เมื่อสินค้าสดสามารถอยู่ได้นานขึ้นก็จะสร้างผลประโยชน์ให้กับเจ้าของธุรกิจโดยตรง และลดการขาดทุนจากการเน่าเสียของสินค้าที่ขายไม่ทัน
SPACE-F Demo Day
  • 'SWIRL.GO' สตาร์ตอัพจากสิงคโปร์ผู้สร้างนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการทำกิจการของทั้งงานบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม เคเทอร์ริง และอีเวนท์ ด้วยเครื่องเสิร์ฟอาหารว่างอัจฉริยะ

ทั้งนี้ สเปซ-เอฟ ให้ความสำคัญทั้งนวัตกรรม ด้านอาหารเพื่อสุขภาพ (Health and Wellness), โปรตีนทางเลือก (Alternative Proteins), กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ (Smart Manufacturing), บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต (Packaging Solution), ส่วนผสมและอาหารใหม่ (Novel Food and Ingredients), วัสดุชีวภาพและสารเคมี (Biomaterial and Chemical), เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร (Restaurant Tech), การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร (Food Safety and Quality) และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร (Smart Food Services) และเป็นโครงการที่เปิดกว้างให้กับสตาร์ทอัพ โดยผู้ก่อตั้งโครงการจะไม่ถือหุ้นใดๆ ทำให้สตาร์ทอัพครอบครองแนวคิดและผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์